กระแสความขัดแย้ง กรณีCasting นักแสดงไม่ตรงต้นฉบับ

42 18

คุณอาจจะเคยพบเห็นกระแสใหม่ของแฟนๆผลงานบันเทิงที่ปรารถนาจะให้ผู้สร้างยอมรับและสนับสนุนความหลากหลายเหล่านี้มาก่อน

แฟนๆ Frozen เรียกร้อง Disney ให้ Elsa เปิดตัวเป็นหญิงรักหญิง


ถกเถียงยาวนาน ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะมี James Bond ผิวดำ?   producer ลั่น   Bond จะมี raceใดก็ได้ แต่ต้องเป็นชายและเล่นเป็นสายลับอังกฤษเท่านั้น


ผู้ชม Bridgerton  โจมตี ซีรีส์ขาดการนำเสนอromanceของชาวเพศทางเลือก  ขอให้เพิ่มฉากร้อนแบบ queer



นี่เป็นเพียงตัวอย่างเพียงเล็กน้อย    ยังมีความเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านนักแสดงที่มีรสนิยมรักเพศแบบ straight ที่รับบทเพศทางเลือก  นักแสดงดังอย่าง  Eddie Redmayne Scatlett Johanson Halle Berry ก็เคยเผชิญกับคำวิพากษ์วิจารณ์ในการรับทไม่ตรงเพศมาแล้ว   แรงกดดันนี้หนักหนาจนนักแสดงบางคนประกาศไม่รับบทที่ไม่ตรงเพศของตัวเองต่อไป   ในทางกลับกัน  สำหรับตัวละครที่มีชื่อเสียงและยอมรับกันมาช้านานว่าเป็นคนผิวขาวและมีรสนิยมรักเพศแบบ straight  ก็มีจุดเปลี่ยนครั้งใหญ่  เมื่อนักสร้างหนังหันมา  cast นักแสดงที่มีเชื้อชาติและเพศแตกต่างจากต้นฉบับที่ผู้คนคุ้นเคย     เราได้พบกับ Doctor Who เวอร์ชั่นผู้หญิงและล่าสุด เป็นหนุ่มผิวดำ  (หลังจากที่  cast พระเอกผิวขาวมารับบทนี้ตลอด)     สายลับหญิงผู้สร้าง surprise ใน No Time to Die     Loki ในซีรีส์ที่เปิดตัวเป็น  bisexual ซึ่งก่อนหน้าเราไม่เคยเห็นมาก่อนจากในหนัง   และยังมีหนัง remake อีกหลายเรื่องที่ฉีกกรอบภาพเดิมจากต้นฉบับหรือเวอร์ชั่นเก่า


ความเปลี่ยนแปลงของวงการโทรทัศน์และภาพยนตร์: Inclusive Casting



ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่าน Hollywood และวงการบันเทิงในหลายประเทศตะวันตกำลังก้าวสู่ทิศทางแห่งการยอมรับความหลากหลาย ผู้ที่ถูกมองว่าเป็นชนกลุ่มน้อยและมี stereotype เดิมๆ ได้ก้าวเข้าสู่ความสำเร็จระดับ mass

หลังจากวางโครงการมาหลายปี เราก็ได้ต้อนรับ superhero ผิวดำ และตามมาด้วยsuperheroเอเชียน รวมถึงที่เป็นชาวเพศทางเลือก

หนัง rom-com ที่นักแสดงนำเป็นชาวเอเชียนสร้างความควาด้วยสร้างรายได้เกินสองร้อยล้าน ลบอคติที่ว่า romance แบบเอเชียนไม่สร้างกำไรในตลาดตะวันตก

Bridgerton ติดtop3 ซีรีส์ที่มีคนดูมากที่สุดบน  Netflix  ซีซัน 2 ก็ไม่มีแผ่ว  สร้างความฮือฮาว่า นี่อาจจะเป็นการสร้างมาตรฐานใหม่ด้วย Color-blind casting ที่จะกลายมาเป็นเรื่องปกติของวงการแสดง

ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เราจะได้ยินคำว่า representation กันบ่อยครั้ง มันคือการถ่ายทอดตัวตนและเรื่องราวของผู้คนจากทุกกลุ่มที่มีความแตกต่างหลากหลาย เชื้อชาติ สีผิว รูปลักษณ์ภายนอก วัฒนธรรม เพศ อาการทางจิตใจและร่างกาย ซึ่งที่ผ่านมานั้น มีการนำเสนอแง่มุมของคนกลุ่มนี้ผ่านผลงานบันเทิงไม่มากนัก หรือมักใช้การนำเสนอแบบเหมารวมจนคนยึดติดกับความเข้าใจผิดๆ จนทำให้เกิดเสียงเรียกร้องให้ยึดหลัก casting ที่หลากหลายมากขึ้น




 


ปัญหา White Washing ในอดีต


คุณอาจจะเคยได้ยินประเด็นขัดแย้งเมื่อชาวเน็ทจำนวนหนึ่งพยายาม cancel นางเอก A list Scarlett Johansson ที่รับบทนางเอก Ghost In The Shell ที่ต้นฉบับเป็นนักสู้สาวไซบอร์กสัญชาติญี่ปุ่น (รวมถึงตอนที่เธอคว้าบทผู้ชายข้ามเพศ เกิดเป็นกระแสต่อต้านร้อนแรงจนต้องถอนตัวจากหนัง)

เหตุใดผู้คนจำนวนมากจึงรู้สึกไม่พอใจเมื่อนักแสดงผิวขาวสามารถเข้าถึงบทที่ไม่ตรงกับเชื้อชาติของตัวเอง? จากเดิม การ cast ตัวละครแบบ white-washing ที่ตลอดระยะเวลาหลายทศวรรษที่ผ่านมาถูกมองว่าเป็นเรื่องปกติ ไม่ได้สร้างความเดือดร้อนให้ใคร เรื่อง blackface เป็นสิ่งที่แฟนหนัง Hollywood ยุคทองคุ้นเคย หรือแม้แต่บทคนเอเชียน ก็ใช้เทปแปะหนังตาให้ดูเป็นตาเฉียงชั้นเดียว เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนแปลง blackface และ yellowface กลายมาเป็นสิ่งต้องห้าม แต่เราก็ยังได้พบกับหนังที่ปรับเปลี่ยนตัวละครจากต้นฉบับอยู่เรื่อยๆ

โกคูที่เป็นหนุ่มผิวขาวตาสีอ่อน
Jake Gyllenhaal ในบทเจ้าชายแห่งPersia
Light แห่ง Death Note เวอร์ชั่น Netflixที่เป็นวัยรุ่นผิวขาว




ผลงานที่สร้างจาก casting ที่ถูกจัดในกลุ่ม white washing หลายเรื่องต้องเผชิญกับข้อกล่าวหากีดกันทางเชื้อชาติเพราะไม่เปิดโอกาสให้กับคนกลุ่มน้อยในสังคม หลายคนเชื่อว่า มันยังส่งกระทบหนักกับรายได้ของหนัง รวมถึงดึงให้ภาพลักษณ์ของนักแสดงดูแย่ลงอีกด้วย


God Of Egypt ถูกถล่มยับจาก casting นักแสดงผิวขาวมาแทบจะยกทีม   กระแสต่อต้านแรงจนผู้กำกับต้องประกาศขอโทษตั้งแต่ช่วงถ่ายทำ รายได้ของหนังอยู่ในขั้นพินาศ ทั้งๆที่ทุนสร้างถือว่าสูงพอๆกับหนังฟอร์มใหญ่หลายเรื่อง แต่ทำรายได้ในประเทศได้31 ล้านดอลลาร์เท่านั้น มีรายได้จากทั่วโลกมาเติมแต่ถ้าคำนวณแล้วไม่คุ้มค่ากับเงินโพรโมทแน่นอน

 Ghost in the Shell ทำให้ชาวเน็ทและสื่อต่างๆรุมโจมตีว่าเป็นตัวอย่างของแนวคิดอภิสิทธิ์ผิวขาวที่บั่นทอนโอกาสของนักแสดงชาวเอเชียน รายได้ของหนังอยู่ในขั้นย่ำแย่จนถูกเรียกว่า box office bomb เช่นเดียวกัน แม้จะมีเสียงแย้งว่า สาเหตุที่แฟนๆไม่โดนใจหนังอาจจะไม่เกี่ยวข้องกับเชื้อชาติของนางเอก แต่อาจจะมีปัจจัยอื่นๆ แต่แม้กระทั่งผู้บริหารstudio ก็ยอมรับว่าผลลัพธ์ที่ได้ไม่ตรงตามที่คาดไว้ เพราะเสียงวิจารณ์เรื่อง casting มีอิทธิพลต่อความคิดของแฟนๆ โดยเฉพาะแฟนอนิเมะที่คาดหวังสูงกับ live action  หนังเรื่องนี้ถูกมองว่าเป็น white washing ลำดับต้นๆในวงการหนังยุคโมเดิร์น และถือเป็นจุดมัวหมองในโพรไฟล์การงานของScarlett เลยทีเดียว

Aloha หนังที่ถูกเรียกว่าเป็นความอับอายของ Emma Stone ถึงขั้นที่เคยถูกฉีกหน้ากลางงานประกาศรางวัลจนเธอต้องร้องขอโทษออกมาดังลั่น นั่นมาจากการตัดสินใจตัดสินใจรับบท Allison Ng  เห็นนามสกุลที่เอเชียนจ๋าก็อาจจะงงๆ พ่อเป็นลูกครึ่งจีน-ฮาวายเอี้ยน และแม่เป็นสวีดิช  แต่ไม่มีสิ่งใดในตัวเธอที่บ่งบอกเชื้อชาติเลือดผสมตามบทเลย แม้ในความเป็นจริงจะมีลูกครึ่งที่มีผมบลอนด์ตาสีอ่อน หรือมีรูปลักษณ์ที่ดูเป็นคนขาวเต็มร้อยอยู่บ้าง (เรียกว่า passing for white หรือสั้นๆว่า passing) แต่เป็นเหตุการณ์ที่ทำให้เธอเบิกเนตรถึงปัญหา white washing  และทำใจยอมรับว่า ตัวเองกลายมาเป็นตัวตลกให้คนอื่นล้อเลียน






แม้กระแสต่อต้านการเลือกนักแสดงผิวขาวมาแสดงเชื้อชาติอื่นจะส่งผลกระทบต่อตัวนักแสดงและนักสร้างหนังมากขึ้นเรื่อยๆ แต่เมื่อสิบปีที่แล้วมานี่เองที่หนัง Cloud Atlas ได้สร้างเสียงวิจารณ์อื้ออึงในออนไลน์ หลังจากโชว์ความพยายามเพื่อเนรมิตใบหน้าของ Jim Sturgess ให้ดูเนียนเข้ากับบท ชาง แฮจู หนุ่มเกาหลีจากกรุง Neo Seoul ในศตวรรษข้างหน้า เพราะนอกจาก makeup จะดูแย่มากๆ ชาวเน็ทก็ถึงกับสับสนงงงวยว่า ผู้กำกับหลงยุคหรืออย่างไร? yellowface อาจจะปรากฏในหนังยุค1930s -1960s แต่สมัยนี้ นักกีฬาที่ดึงและหยีตาให้เฉียงล้อเลียนคนเอเชียนก็เคยถูกปรับและลงโทษมาแล้ว สำหรับวงการหนังยุคโมเดิร์น หลายคนถือว่านี่เป็นการก้าวถอยหลังลงคลองและกระทบกระเทือนใจจนต้อง call out










Disney ยุค modern กับข้อกล่าวหา  woke เกินไป ไม่เห็นหัวแฟนๆที่ยึดมั่นในต้นฉบับที่ตราตรึงใจ



กระแสต่อต้านต่อ white washing ที่เราได้ยกมาทำให้ผู้คนหันมาเรียกร้องให้ Hollywood ปฏิรูปเส้นทางแห่งการสนับสนุนความหลากหลาย แม้จะแตกต่างก็สามารถสร้างความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันโดยไม่เลือกปฏิบัติ

แต่ในบางครั้ง ความเปลี่ยนแปลงเพื่อสนับสนุน representation, diversity  และ inclusivity ก็ถูกมองอย่างกังขาว่า ไม่ได้เกิดขึ้นจากความจริงใจ  แค่ตามน้ำไปกับแนวคิดหัวก้าวหน้าของคนรุ่นใหม่  จากเดิมที่ผู้สร้างหนังต้องเจอกับข้อกล่าวหา whitewashing  แต่ปัจจุบันกลับถูกโจมตีว่า woke เกินไปจนค้านสายตา     เคยดราม่าเพราะ cast คนขาวมารับบทเชื้อชาติอื่น  ก็กลายมาเป็นดราม่า cast นักแสดง poc (people of color) มารับบทที่ต้นฉบับระบุชัดเจนว่าเป็นคนผิวขาว


ในระยะหลังมานี้ ยักษ์ใหญ่อย่าง Disney ก็ต้องเผชิญกับข้อกล่าวนี้เช่นกัน โดยเฉพาะหนัง live action ที่แฟนๆจำนวนมากตั้งความหวังไว้สูงลิบลิ่ว



ดราม่า  casting ใหม่เอี่ยมแห่ง Percy Jackson



หนัง Percy Jackson ที่มี20th Century Fox เป็นผู้กุมยังเหียนอาจจะไม่ได้สร้างรายได้อลังการใกล้เคียงกับ Harry Potter franchise แต่ก็ทำกำไรไปได้จนสร้างภาค 2 ต่อ มันอาจไม่เพียงพอให้ studio ผลักดันให้สร้างต่อให้จบตามบทประพันธ์ เพราะมีสัญญาณจากคะแนนวิจารณ์ที่ไม่สวยงามนัก รวมถึงรายได้ในอเมริกาเหนือที่ค่อนข้างแผ่วลงไป บวกกับทีมนักแสดงนำที่อายุมากกว่าต้นฉบับหนังสือไปหลายปี ยากที่จะแสดงบททายาทเทพกรีกวัยทีนจนจบตามต้นฉบับ แต่เมื่อมีการประกาศชัดเจนว่า Disney+ จะสร้าง adaptation ขึ้นมาในรูปแบบซีรีส์ โดยที่นักประพันธ์ดัง Rick Riordan จะเข้ามาเป็นส่วนร่วมในการควบคุมดูแลเพื่อสร้างป็น Percy Jackson ที่ดีที่สุด บรรดาแฟนนิยายย่อมตื่นเต้นยินดีที่จะได้เห็นตัวละครในดวงใจในรูปแบบที่มีชีวิตอีกครั้ง และแน่นอนว่า แทบทุกคนย่อมคาดหวังให้มันออกมาดีเยี่ยมยิ่งกว่าหนังจากหลายปีก่อน
แต่ผลลัพธ์จากการเฟ้นหาตัว Annabeth ธิดาแห่งเทพี Athena ก็ทำให้เสียงถกเถียงตามมาโดยไม่ต้องประหลาดใจ   เพราะนักแสดงเด็กฝ่าฟัน casting ที่หนักหน่วงเข้มทุกรายละเอียดมาได้คือ  Leah Jeffries  นางเอกวัย 12 ผู้ที่แสดงความสามารถโดดเด่นจจนทำให้นักประพันธ์ยืนยัน  เธอคือ  Annabeth ที่เป๊ะที่สุด

แต่การตัดสินใจครั้งนี้ทำให้แฟนๆที่รักหนังสือ Percy Jacksonแสดงความผิดหวังเป็นทิวแถว ด้วยความยึดมั่นภาพ Annabeth จากบทบรรยายในหนังสือว่าเธอเป็นสาวผิวสีแทน ผมบลอนด์เป็นลอนราวกับ Cinderella ดูแล้วเหมือนสาว California ทั่วๆไป แต่มีจุดเด่นที่ดวงตาสีเทา

รูปลักษณ์ที่ว่าก็คงทำให้ผู้อ่านจินตนาการถึงสาวอเมริกันผิวขาวผมบลอนด์ที่อยู่กลางแสงแดดจนผิวเข้ม แตกต่างจาก Leah สาวน้อยตากลมโตเชื้อสาย Africanผิวดำ ผู้ได้รับเลือกเป็นนางเอก ความไม่พอใจที่ก่อตัวขึ้นมาทำให้หลายคนประกาศboycott ซีรีส์ และยืนยันไม่สามารถทำใจยอมรับ Annabeth ที่ดูห่างไกลกับบทประพันธ์จนเกินไป พร้อมทั้งกล่าวหาฝ่าย casting ว่า ทำลายความฝันของแฟนหนังสืออย่างยับเยิน
  
ดราม่าความขัดแย้งที่คล้ายคลึงกันเคยเกิดขึ้นมาแล้วกับผลงานละครเวที The Cursed Child  ที่นำเสนอเรื่องราวต่อจาก Harry Potter  เมื่อเหล่าผู้วิเศษวัยรุ่นได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่    Hermione เวอร์ชั่นโรงละคร ที่ J.K. Rowling ภูมิใจเสนอได้สร้างความโกรธเกรี้ยวให้กับแฟนๆกลุ่มหนึ่งเพราะเธอเป็นสาวผิวดำฉีกจากภาพของ Emma Watson ในหนัง     J.K ผู้ประพันธ์ยืนยันว่า เธอไม่เคยเจาะจงเรื่องสีผิวของ Hermione   นางเอกที่มีผมฟูสีเข้ม ตาสีน้ำตาลย่อมรับบทนี้ได้  และตัว Noma Dumezweni  ก็เป็นผู้ที่เหมาะสมที่สุด     เธอยังตอบโต้กระแสต่อต้านว่า พวกเหยียดผิวต่างส่งข้อความมาจี้เธอว่า เคยมีฉากที่Hermione  ตกใจจนหน้าซีดขาวตัวละครนี้จึงต้องเป็นคนผิวขาว   จากประสบการณ์ที่รับมือกับsocial media ทำให้เธอบอกอย่างไม่ยี่หระว่า  พวกงี่เง่ายังไงก็เป็นพวกงี่เง่าอยู่ดี

ความไม่พอใจของแฟนๆที่ไม่ต้องการเห็น Hermione ผิวดำดูจะไม่กระทบต่อ The Cursed Child  แต่อย่างใด  มันกลายมาเป็น play ที่ประสบความสำเร็จทั้งในอังกฤษและBroadway ในอเมริกาและแคนาดา  ส่วนเวอร์ชั่นออสซี่ที่ cast นางเอกผิวดำมาแสดงเป็น Hermione เช่นเดียวกันได้สร้างประวัติศาสตร์  stage play เรื่องแรกของ Australia ที่ขายตั๋วได้เกินล้านใบ 



นักประพันธ์ Percy Jackson ซัด  "การตัดสินสินนักแสดงจากรูปลักษณ์ภายนอกคือพฤติกรรมเหยียดเชื้อชาติ"


นี่คือเนื้อหาแถลงการณ์ชี้แจงและตอบโต้กระแสต่อต้านcasting Annabeth ผิวดำจาก Rick Riordan

เขายืนยันหนักแน่นว่า

  • การตัดสินใจคัดเลือก Annabeth คนใหม่ขึ้นอยู่กับเขาเพียงผู้เดียวไม่ได้ถูกDisney หรือทีมงานกดดัน  ถึงจะไม่พอใจอย่างไร ก็ควรจะตระหนักได้ว่า ไม่ควรไปตามคุกคามเด็กด้วยคำพูดแย่ๆในโลกออนไลน์
  • เปิดเผยด้วยความโปร่งใสมาตั้งแต่ประกาศสมัครนักแสดงให้มา cast  แล้วว่าจะปฏิบัติตามนโยบายของ  Disney ที่ให้ความสำคัญในการคัดเลือกนักแสดงจากหลักความหลากหลาย  
  • นี่คือผลจากความทุ่มเทเพื่อเฟ้นหานักแสดงนำสามคนที่ดีที่สุดมาทั้งปี
  • การอ้างว่า ไม่ได้เหยียดผิว แต่ต้องการนักแสดงที่ตรงกับคำบรรยายในบทประพันธ์นั้นฟังไม่ขึ้น   เพียงเพราะเธอดูไม่เหมือนกับภาพที่จินตนาการไว้ แต่กลับด่วนตัดสินเธอด้วยอคติโดยไม่คำนึงถึงความสามารถและความทุ่มเทของเธอ  แล้วยังกล่าวหาว่าเธอได้รับเลือกเพราะเป็นตัวมาเติมโควต้าเพื่อชูความหลากหลายให้กับหนังเท่านั้น
  • คนที่ไม่พอใจนั้นไม่ยอมเชื่อถือว่าตัวเขาซึ่งเป็นผู้สร้างนิยายขึ้นมาเองได้เลือกนักแสดงจากบุลิกลักษณะโดดเด่นเฉพาะตัว และคิดกันไปเองว่า ไม่มีทางที่นักประพันธ์ชายผิวขาวจะเลือกนางเอกผิวดำมารับบทบาทจากในหนังสือที่ยอมรับกันว่าเป็นคนเด็กสาวผิวขาวด้วยความต้องการจากใจจริง
  • การตัดสินว่านักแสดงเหมาะสมกับบทหรือไม่ เจาะจงจากรูปลักษณ์ภายนอกเพียงอย่างเดียว จนเกิดความไม่พอใจที่เด็กสาวผิวดำแสดงบทที่ต้นแบบในหนังสือเป็นสาวผิวขาวคือพฤติกรรมเหยียดผิว






Alexandra  Daddario  ไม่ได้มีผมบลอนด์และผิวแทนในภาค The Lightning Thief


สิ่งที่มาพร้อมกับดราม่าAnnabeth คนใหม่คือการจับเธอไปเปรียบเทียบกับนักแสดงเวอร์ชั่นหนังเมื่อหลายปีก่อนนั่นเอง   คุณอาจจะได้ยินเสียงชื่นชมว่า Alexandra  Daddario  คือ Annabeth ในดวงใจ   แต่เวลาที่ผ่านไปนานเกินสิบปีก็อาจจะทำให้ผู้คนลืมกันไปแล้วว่า การเปิดตัว  Annabeth ในภาค The Lightning Thief นั้นเรียกเสียงคัดค้านได้ไม่น้อยเลย  เพราะเธอไม่ได้มีผมหยักศกสีบลอนด์และมีผิวแทน   แต่มาในแบบตรงกันข้าม เพราะผมทั้งตรงและมีสีเข้ม  ผิวก็ขาวจัด   ส่วนตาสีฟ้าของเธอดูสว่างเจิดจ้าไม่ใช่สีเทา      แรงกดดันจากแฟนๆทำให้  Alexandra ตัดสินใจย้อมผมเป็นสีบลอนด์

มีผู้ชี้ว่า ความสำคัญของสีผมของ Annabeth ยังถ่ายทอดถึงตัวตนของเธอที่พยายามเอาชนะ stereotype สาวบลอนด์ที่สวยแต่ไม่ฉลาด เธอผู้เป็นทายาทแห่งเทพีผู้เปี่ยมไปด้วยสติปัญญากลับถูกประเมินค่าไว้ต่ำจนเคยรู้สึกอิจฉาผู้หญิงผมสีเข้ม และผลักดันให้ตัวเองทุ่มเทกับการฝึกฝนศาสตร์ต่างๆเพื่อให้คนรอบข้างยอมรับถึงความปราดเปรื่องของเธอ มันจึงไม่ใช่ความสุดขั้วหากแฟนหนังสือต้องการจะให้ Annabeth ในหนังมีผมบลอนด์เข้ากับตัวตนของเธอ



อย่างไรก็ตาม แม้จะเกิดกระแสต่อต้าน casting นางเอก Percy Jackson คนใหม่ แต่ก็ยังไม่เคยมีการเปิดเผยลุคของเธอจากซีรีส์เรื่องนี้แต่อย่างใด ตัวนักประพันธ์เองก็ยังบอกเล่าว่า หลังจากประกาศทีมนักแสดงนำก็ได้รับเสียงสนับสนุนอย่างล้นหลาม บางคนจึงแนะนำว่า เราควรจะรอพิสูจน์จากการแสดงกันก่อนที่จะพิพากษาว่า เธอเหมาะสมกับบทนี้หรือไม่ Annabeth คนนี้อาจจะมาในลุคสาวผมทองเป็นลอนและมีดวงตาสีเทาตามคำบรรยายในหนังสือก็เป็นได้






แฟนๆเงือกน้อยจำนวนมากยังไม่สามารถเปิดใจยอมรับ  Ariel คนใหม่


ภาพของเจ้าหญิงเงือกน้อยผมแดงเคยได้รับการยกย่องว่า เป็น representation ของคนผิวขาวผมแดงที่มักถูกเหยียบย่ำด้วยคำดูถูกและstereotype จากอคติ ถึงขนาดว่าผู้บริการ Disney ในตอนนั้นก็ยังไม่เห็นด้วยที่จะสร้าง character เจ้าหญิงผมแดง แม้แต่บริษัทของเล่นก็หวาดหวั่นว่า ตุ๊กตาเงือกน้อยจะขายไม่ออกจนผลิตตุ๊กตาที่สีผมเข้มกว่าในอนิเมชั่นออกมาวางขายก่อน แต่ Arielได้สร้างมาตรฐานใหม่ขึ้นมา ว่าเจ้าหญิงผมแดงก็มีเสน่ห์ชวนหลงรักไม่แพ้ใคร แฟนๆ request ตุ๊กตาเงือกน้อยผมสีแดงเจิดจ้าเหมือนอนิเมชั่น ตัวละครนี้กลายมาเป็นความฝันจากวัยเยาว์ หากสร้างหนังที่มีคนจริงๆเล่น ใครกันนะที่จะเหมาะสมกับบท Ariel มากที่สุด?


แต่เมื่อมีการยืนยันแน่นอนว่า บท Ariel ตกเป็นของ Halle Bailey ศิลปินสาวเสียงดีชาวAfrican American ชาวเน็ทฝ่ายหนึ่งแสดงความปลาบปลื้มยินดีที่ Disneyได้เดินออกจากกรอบเดิมเพื่อเชิดชู diversity และ inclusivity และติดตามพิสูจน์ฝีมือการแสดงและการขับร้องเพลงของ Halle แต่ก็มีกลุ่มแฟนผิดหวังการตัวเลือกของผู้สร้าง live actionหนักจนมีการลงรายชื่อเรียกร้องให้ Disney ถอดนางเอกผิวดำจากบทนี้







กระแสตอบรับนั้นพูดได้เลยว่า 'เสียงแตก' อย่างแท้จริง ผู้สื่อข่าวจากสื่อบางเจ้าได้โจมตีผู้ที่คัดค้านเงือกน้อยผิวดำว่าใช้อคติจากแนวคิดเหยียดผิว รวมถึงการลงชื่อเพื่อปกป้องไม่ให้ Halle ถูกปลดจากบทนี้ แต่ก็ยังมีคนอีกมากมายที่ยืนหยัดว่า ไม่สามารถทำใจยอมรับได้หาก Ariel ไม่ใช่สาวผิวขาวผมแดง ตามมาด้วยการถกเถียงกันอย่างไร้ที่สิ้นสุด  นั่นรวมไปถึงการใช้ 'หลักวิทยาศาสตร์' มาอ้างอิงว่า เหตุใดเงือกจึงไม่ควรมีผิวดำ เช่น ภายใต้น้ำไม่ได้รับแสงแดดเพียงพอ และถูกตอบโต้ด้วยภาพของ Gabriella เงือกสาวเชื้อสายละติน่าผิวเข้มที่ปรากฏตัวในซีรีส์ Little  Mermaid  ในยุค 90s


การเปลี่ยน race ของ Ariel จากต้นฉบับสร้างเสียงวิจารณ์อื้ออึง  แต่การถ่ายทำ Little Mermaid ก็ก้าวหน้าจนปิดกล้องไปเรียบร้อย   ส่วนตัว Halle เคยแสดงความเห็นต่อเสียงต่อต้านเงือกน้อยผิวดำว่า เธอจะไม่ใส่ใจกับแนวคิดด้านลบ  และเชื่อว่าบทนี้มีความหมายยิ่งใหญ่กว่าเรื่องของเธอเพียงคนเดียว และผลงานจะออกมาได้สวยสดงดงามแน่นอน




การตั้งข้อกังขา Snow White เชื้อสาย Columbian


ภาพล่าสุดของ Rachel Zegler ที่คว้าบท Snow White เจ้าหญิงสุดแบ๊วในดวงใจของแฟนๆ อนิเมชั่นจาก Disney ได้กลายมาเป็นประเด็นร้อนเช่นกัน จากความไม่พอใจว่า หากไม่ใช่สาวผิวขาวดุจหิมะ ก็ยากที่จะมองให้เป็น Snow White แบบไม่สะดุดใจได้



แต่แม้ว่าจะมีเสียงคัดค้านเรื่องการเลือกนักแสดงpoc มารับบทเจ้าหญิงขาวจั๊วะ แต่ก็ผู้ประกาศรอชมภาพอย่างเป็นทางการเพื่อประกอบการตัดสินใจ อนึ่ง ชาวเน็ทอาจจะโจมตี Disney ที่มอบบทนี้ให้กับนางเอกละติน่า แต่คำว่าละตินนั้นครอบคลุมความหลากหลายทางเชื้อชาติไว้ด้วยเช่นกัน ไมว่าจะเป็นผู้ที่มีเชื้อสายผิวขาว ผิวดำ เชื้อชนพื้นเมือง และลูกครึ่ง ตัว Rachel ที่มีพ่อเป็นคนผิวขาวจากPoland และแม่มาจากColombia นั้นเคยถูกวิจารณ์ด้วยซ้ำว่า เธอเป็น white Latina ที่มีได้เปรียบในการเข้าถึงโอกาสในวงกาบันเทิงรมากกว่าชาวละตินผู้มีสีผิวเข้มกว่า (และเธอก็ยอมรับว่าตัวเองมีprivilege นี้)


ในขณะที่เธอถูกวิจารณ์ว่า มีผิวขาวแบบEuropean มากซะจนไม่ควรจะเป็นตัวแทนของกลุ่มชาวละตินใน Hollywood แต่แฟน Snow White จำนวนมากเชื่อว่า เธอขาวไม่มากพอที่จะแสดงเป็นเจ้าหญิงสุด iconic ได้ดูสมบทบาท ตัวเธอเองย่อมรับรู้ถึงแรงกดดันนี้ และชี้แจงชัดเจนว่า จะไม่ bleach สีผิวให้ขาวขึ้นเพื่อบท Snow White



ดราม่าเดือด เมื่อผู้สร้างซีรีส์นำเสนอ  Anne Boleyn ผิวดำ

 
เปลี่ยน race และเพศของตัวละครให้แตกต่างจากบทประพันธ์และต้นแบบเดิมนั้นดูจะธรรมดาไปเลย เพราะ Channel 5 ของอังกฤษได้นำเสนอ Anne Boleyn ราชินีจากราชวงศ์ Tudor เมื่อหลายร้อยปีก่อนในลุคของผู้หญิงผิวดำจนสั่นทะเทือนวงการ  



บทบาทมเหสีแห่งพระเจ้า Henry ที่ 8 ถูกถ่ายทอดผ่านผลงานหนังและซีรีส์แนวประวัติศาสตร์มาแล้วหลายครั้ง และผู้ชมก็แทบไม่ต้องศึกษาประวัติศาสตร์อังกฤษก็เดาได้ว่าAnne Boleyn เป็นสตรีผิวขาว หลายคนต่างแสดงความข้องใจถึงวัตถุประสงค์ของการคัดเลือก Jodie Turner-Smith นางเอกสาวผิวดำให้มารับบทนี้ และแน่นอนว่า โลกออนไลน์จะเกลื่อนไปด้วยคำถามว่า ในเมื่อคนผิวขาวแสดงเป็นคนเชื้อชาติอื่นอื่นนั้นแสดงถึง whitewashing ที่สมควรถูก boycott และการเลียนแบบสีผิวอื่นอย่าง blackface ถือว่าเป็นพฤติกรรมเหยียดผิวที่ไม่ควรเอาเยี่ยงอย่าง

(แม้แต่นักแสดงเชื้อสายผิวดำที่มีผิวในเฉดที่ไม่เข้มมากนัก ( light-skinned ) เลือกรับบทหนังที่สร้างจากชีวประวัติของคนดังผิวดำเฉด dark ก็ยังถูกโจมตีว่าใช้อภิสิทธิ์จากผิวที่ไม่เข้มด้วยซ้ำ)

แล้วถ้าเป็นนักแสดงผิวดำแสดงเป็นคนผิวขาวที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ล่ะ  สังคมควรรู้สึกเช่นไรกับเรื่องนี้?      



จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อนักแสดงเอเชียนรับบทคนขาว


Mary Queen of Scots คือหนังที่สร้างสรรค์จากเรื่องราวจริงๆในประวัติศาสตร์ผสมผสานกับจิตนาการ การประชันบทบาทของนางเอกสายรางวัลอย่าง Margot Robbies และ Saoirse Ronan นั้นน่าจะดึงดูดความสนใจจากแฟนหนังพีเรียดดราม่าเข้มข้น   แต่ภาพของ   Gemma Chan  ในบท Bess of Hardwick  นางกำนัลผู้ทรงอิทธิพลในยุคสมัยแห่งสมเด็จพระราชินี Elizabeth ที่ 1  ก็สร้างเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในโลกออนไลน์  บางคนฟาดฟันไปตรงๆว่า   แม้ทีมนักแสดงในเรื่องจะมีชื่อเสียงเรื่อง  acting skill  รวมถึงฉากและเมคอัพคอสตูมที่โดดเด่นจนได้เข้าชิงรางวัล  แต่การเลือกนางเอกเชื้อสายจีนฮ่องกงมาแสดงเป็นสตรีชั้นสูงผิวขาวในรั้ววังเมื่อหลายร้อยปีก่อนได้บั่นทอนความสมจริงของหนัง ดูไร้ที่มาที่จนดูยากจะทำใจเชื่อ        บ้างก็แสดงความข้องใจว่า แม้หนังจะมีการแต่งเสริมเติมแต่งจากจินตนาการเป็นเรื่องปกติ  แต่ไม่เห็นถึงเหตุผลเหมาะควรในการเลือกนางเอกที่มีเชื้อชาติแตกต่างกับคนอื่นๆชัดเจนมาถ่ายทอดให้ย้อนแย้งกับประวัติศาสตร์    
  จากภาพวาดของ Bess of Hardwickก็ชี้ชัดว่า เธอคือสตรีผิวขาวผมแดงส้มไม่แตกต่างจากสมเด็จพระราชินี Maryแห่ง Scots หรือสมเด็จพระราชินี Elizabeth แต่อย่างใด  

Gemma ได้โต้ตอบกระแสโจมตีเรื่อง colour-blind casting ว่า หากสังคมยอมรับ นักแสดงผิวขาวที่แสดงเป็นคนเชื้อชาติอื่นได้ เธอย่อมมีสิทธิ์จะรับบทคนผิวขาวได้เช่นกัน

"เหตุใดนักแสดงเชื้อชาติอื่นที่ไม่ว่ายังไงก็ได้รับโอกาสน้อยกว่านักแสดงผิวขาวจึงรับบทตัวละครตามเชื้อชาติของตัวเองได้เท่านั้นล่ะคะ? ในบางครั้งพวกเค้าเหล่านั้นจะแสดงเป็นเชื้อชาติตัวเองก็ยังทำไม่ได้ด้วยซ้ำไป"

"ในอดีต บทคนเอเชียนจะถูกหยิบยื่นไปให้นักแสดงผิวขาว พวกเค้าใช้เทปแปะหนังตาและแต่งแบบ yellowface นักแสดงผิวขาอย่างohn Wayne ได้แสดงเป็น Genghis Khan  ถ้าเขาทำแบบนั้นได้ ฉันก็เล่นเป็น Bess of Hardwickได้เหมือนกัน'





จริงหรือกับคำเปรียบเปรยว่า Go woke, go broke!


Eternals ถูกยกให้เป็นตัวอย่างของหนังฟอร์มยักษ์ที่ให้ความสำคัญกับ diversity และ inclusivityจนถือว่าเป็นใจกลางการดำเนินเรื่องราว หากถามว่า woke จริงหรือ? มีคำยืนยันจาก Kevin Feige โพรดิวเซอร์และประธาน Marvel Studios ว่ามีการปรับเปลี่ยนเพศและเชื้อชาติของตัวละครให้แตกต่างไปจาก comics รวมถึง storyline ที่เข้ากับยุคสมัยอย่างคู่แต่งงานเพศเดียวกัน แต่รายได้ของหนัง Eternals ที่ดูน้อยหน้าน้อยตาหนัง superhero ทุนสร้างสูงจาก Marvel เรื่องอื่นๆ ทำให้ชาวเน็ทบางคนฟันธงว่า ที่หนังเกือบแป้กเพราะใส่ความ woke จนดูพยายามมากเกินไป บ้างก็กล่าวหาว่า ผู้สร้างโฟกัสกับจะสร้างบรรยากาศสุด woke จนละเลยการสร้างความสนุกสนานที่ผู้ชมคาดหวังไว้สูง


แม้จะมีเสียงทัดทานว่าหากยังยัดเยียด woke agenda ต่อไป อาจจะได้เห็นผลงานเรื่องต่อไปของค่ายนี้ทำรายได้แบบหืดขึ้นคอ แต่จากผลงานซีรีส์ Loki, What if และproject ในอนาคต ก็ทำให้เชื่อว่า บรรยากาศ woke จะยังคงความ strong ในจักรวาล MCU






Bridgerton ต้นฉบับนิยายเป็นคนขาว  แต่เวอร์ชั่น Netflix ตีความใหม่จนสร้างปรากฏการณ์ความสำเร็จ


นวนิยายชุดฝีมือการประพันธ์ของ Julia Quinn ต้นแบบของซีรีส์ Bridgerton นั้นได้รับการเปรียบเทียบว่า ขาวดุจดังดอก Lily romance ตามแบบฉบับเจ้าขุนมูลนายที่อาจจะทำให้คุณนึกถึงผลงานของ Jane Austen ที่เพิ่มความเผ็ดแซ่บชวนระทึกใจเข้าไป คำพรรณนารูปโฉมของตัวละครบ่งบอกให้เข้าใจว่า พวกเค้าเป็นชาวอังกฤษผิวขาวที่ใช้ชีวิตในยุค Regency แต่เมื่อShonda Rhimes จับนิยายดังชุดนี้มาตีความใหม่ด้วยแนวคิด Color-blind casting ทำให้เราได้พบกับราชินีลูกครึ่ง ดยุครูปงามผิวดำ ผู้ดีตกยากเชื้อสายอินเดีย รวมถึงนักแสดงสมทบเชื้อชาติอื่น

ทุกคนคงได้ประจักษ์กับผลตอบรับกันแล้ว    casting นักแสดงนำบางคนอาจจะแตกต่างกับบทประพันธ์อย่างสิ้นเชิง    แต่ซีรีส์กลับกอบโกยเรตติ้งสูงระดับปรากฏการณ์

ถึงซีรีส์จะประสบความสำเร็จล้นหลาม แต่ Rege Jean Page ก็เผยถึงแรงกดดันจากแฟนนิยายที่ไม่พอใจกับดยุคที่ไม่ได้มีตาสีฟ้าตรงกับบทประพันธ์


แม้จะแจ้งเกิดจากบทบาทท่านดยุคหล่อละลายจนก้าวมาเป็นพระเอกเนื้อหอม Rege Jean ก็ได้เผยถึงช่วงเวลาชวนเหนื่อยใจที่แฟนหนังสือแสดงความไม่พอใจที่เขาไม่ได้มีตาสีฟ้าใสแจ๋วและผมสีน้าตาลเงางามยาวระหน้าผากตรงกับรูปโฉมของ Simon Hasting ดังนิยาย แต่พลังสนับสนุนจากแฟนจากประเทศ ฺ Brazil ที่ออกตัวปกป้องเขาก่อนใครๆก็สร้างปลาบปลื้มใจเป็นอย่างยิ่ง


แต่หลังจากทำให้ผู้ชมตกหลุมรัก ดราม่า cast ไม่ตรงบทประพันธ์กลายเป็นเรื่องเบาๆไปเลยเมื่อเปรียบเทียบกับดราม่าดยุคไม่return หลังจากที่เขาประกาศว่าจะไม่กลับมาร่วมแสดงใน Bridgerton อีก แฟนๆจำนวนมากต่างออกอาการโหยหา เรียกร้องให้กลับมาจะได้ชาร์จพลังความซาบซ่านจากท่านดยุคต่อ สื่อขยี้ข่าวลากยาวเป็นเดือนๆ


เมื่อ Bridgerton มาถึงseason 2 แม้จะได้รับเสียงวิจารณ์ว่ายังแซ่บไม่ถึงใจ พระนางเอาแต่พ่อแง่แม่งอน สูดกลิ่นกันหลายตอนกว่าจะมีพัฒนาการ แต่ตัวเลขเรตติ้งก็พุ่งฉลุยแซงseasonแรก กลายมาเป็นซีรีส์ที่มีผู้ชมมากเป็นอันดับสองรองจาก Squid Game



candy

candy

ติดตาม Mouth On The Web แล้วอย่าลืม Mouth On The Face นะคะ ^ ^

FULL PROFILE