กระแสบอยคอต Starbucks เดือดหนักระดับ global กระทบถึงไอดอล K-Pop

17 7
แต่ไหนแต่ไรมา Starbucks ถูกยกให้เป็นเครื่องดื่มสุด trendy ที่หลายคนอดไม่ได้ที่จะแชร์ให้คนอื่นรับรู้  รวมถึงกลุ่มคนดังจากเกาหลีใต้ดูจะขาดกาแฟเจ้านี้ไปไม่ได้   ไม่ได้แค่เพียงโพสต์ภาพทาง social media  พวกเค้ายังออกมาเปิดเผยเมนูเครื่องดื่มStarbucks สุดโปรด เมื่อเดิน ถึงขนาดว่า ไอดอลตัว top อย่าง BLACKPINK นำเสนอสินค้าที่ระลึกจาก  collaboration กับแฟรนไชส์ยักษ์ใหญ่สัญชาติอเมริกันจนเว็บไซต์ crash  มาแล้ว   ไม่น่าแปลกใจที่ยอดขายกาแฟแบรนด์นี้ในเกาหลีใต้จะพุ่งไปถึงระดับสองแสนล้านวอน แม้ว่าจะไม่ใช่ประเทศขนาดใหญ่  แต่ความนิยมดื่มกาแฟของคนเกาหลีก็ทำให้ธุรกิจเติบโตขึ้นอย่างสวยงามทุกปี   แบรนด์จึงทุ่มงบการตลาดเพื่อดึงดูดใจลูกค้า ทั้งสร้าง store ที่ตกแต่งสวยงามเก๋ไก๋  บางแห่งดูอลังการจนรู้สึกทึ่ง  แน่นอนว่า จะขาดการประชาสัมพันธ์ด้วย partnership กับคนดังไปไม่ได้เลย  เพียงแค่ได้เห็นไอดอลสุดที่รักถือถ้วยกาแฟ Starbucks (เครื่องดื่ม noncoffee) ก็อาจจะทำให้ติ่งบางคนรู้สึกกระหายอยากสั่งตามขึ้นมา

แต่สงครามนองเลือดที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งยาวนานระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ซึ่งคร่าชีวิตผู้บริสุทธิ์ไปแล้วมากมายก็ทำให้ผู้คนในหลายประเทศทั่วแบ่งฝักฝ่าย ผู้ประท้วง pro-Palestinian และ pro-Israeli ต่างแสดงออกเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้ฝ่ายที่พวกเค้ายึดมั่น จนหลายครั้งเกิดภาพการปะทะอย่างรุนแรงจนเจ้าหน้าที่รักษากฎหมายต้องเข้าควบคุมสถานการณ์ หนึ่งในการเคลื่อนไหวที่ดูดุเดือดประท้วงในหลายประเทศ คือการปลุกระดมให้ทั่วโลกบอยคอตแบรนด์สินค้ายักษ์ใหญ่จากโลกตะวันตก อันมาจากข้อกล่าวหาว่า นายทุนเหล่านี้ให้การสนับสนับสนุนอยู่เคียงข้างอิสราเอล ทั้งๆที่ชาวปาเลสไตน์จำนวนมากมายต้องล้มตายไปจากการโจมตี


ในประเทศตุรกี ผู้ประกาศข่าวหญิงถูกปลดฟ้าผ่าเพราะเธอวางแก้วกาแฟ Starbucks ไว้บนโต๊ะในขณะรายงานข่าว มีป้ายติดตามเสาว่า 'ในกาแฟที่คุณดื่มมีเลือดปาทรกปะปนอยู่' ส่วนในฝั่งตะวันตก ผู้ประท้วง pro-Palestinian ในเมืองแมนเชสเตอร์และนิวยอร์คได้รายล้อมหน้า Starbucks store และด่าทอลูกค้าภายใจให้ละอายแก่ใจ มีมือดีไปฉีดสเปรย์ประนามที่หน้า store ในเอดินเบอระ นักเคลื่อนไหวบางคนได้โชว์ภาพบรรยากาศเงียบเหงาไร้ลูกค้าในสาขาต่างๆมายืนยันประสิทธิภาพของการบอยคอต และความเสียหายต่อธุรกิจของแบรนด์ดังไม่ได้เป็นเรื่องที่คิดกันไปเอง จากรายงานว่า มูลค่าตลาดของ Starbucks ลดไปเกือบๆ 12,000 ล้านดอลลาร์!!!

แม้ในบ้านเรา เมื่อเดินผ่านไปที่ห้างร้านต่างๆจะยังเห็นลูกค้าเข้าไปสั่งซื้อเครื่องดื่มใน Starbucks แต่ก็เกิดกระแสบอยคอต Burger King, McDonald’s และ Starbucks ที่ประเทศอินโดนีเซียซึ่งประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ส่วนที่มาเลเซีย ธนาคาร RHB ได้แนะนำให้นักลงทุนขายหุ้น Berjaya Foods พาร์ทเนอร์ที่ได้รับอนุญาตในการบริหาร Starbucks ในประเทศ เนื่องจากผลกระทบจากการบอยคอตที่ทำให้ยอดขายตกฮวบ สำหรับแฟนเพจศิลปิน-pop ที่แสดงจุดยืนเคียงข้างปาเลสไตน์ก็ได้ใช้โพสต์เรียกร้องให้ต้นสังกัดช่วยกวดขันดูแลไม่ให้ปรากฏภาพไอดอลกับสินค้าแบรนด์ที่ถูกหมายหัวว่าอยู่ข้างเดียวกับอิสราเอล




เหตุใด  Starbucks จึงต้องเผชิญกับวิกฤติบอยคอต?

นับตั้งแต่กองกำลังติดอาวุธฮามาสบุกโจมตีอิสราเอลรุนแรงที่สุดในรอบ 50 ปี ตามมาด้วยการตอบโต้จากรัฐบาลอิสราเอลที่เดินหน้าถล่มเขตกาซาด้วยเหตุผล 'ช่วยชีวิตตัวประกัน' ที่ถูกกลุ่มฮามาสจับตัวไป การปฏิบัติการทางทหารด้วยคลังอาวุธที่ล้ำสมัยอานุภาพทำลายสูงซึ่งได้รับการสนับสนุนจากอเมริกาและประเทศอื่นๆส่งผลให้ชาวปาเลสไตน์ผู้บริสุทธิ์ต้องถูกเข่นฆ่าในสงครามที่ยืดเยื้อ

ไม่เพียงแต่ประเทศมหาอำนาจจะกลุ่ม pro- Palestinian ถูกมองว่าเป็นผู้ร้ายสนับสนุนกำลังให้กับอิสราเอลรังแกผู้บริสุทธิ์ที่ไร้ทางสู้ หลากหลายแบรนด์ดังก็ถูกจับใส่ 'บัญชีเลือด' จากข้อกล่าวหาว่า แอบให้การสนับสนุนรัฐบาลอิสราเอล คงไม่ใช่เรื่องชวนประหลาดใจ เมื่อธุรกิจที่มีรากฐานสัมพันธ์กับชาวยิวมาเนิ่นนานอย่าง Starbucks จะถูกหมายหัว ผู้ร่วมก่อตั้งธุรกิจนับถือศาสนายิว อดีต CEO ที่ยังเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ก็เป็นชาวยิว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า แบรนด์ที่บริหารงานโดยชาวยิวจะถูกบอยคอตไปหมด

แล้วชาวเน็ทได้รายชื่อแบรนด์ที่สนับสนุนอิสราเอลมาจากที่ไหน?



เหตุการณ์ที่ทำให้ผู้คนมั่นใจถึงการ'เลือกข้าง'ของธุรกิจแฟรนไชส์ชื่อดังคือ การทวีทแสดงจุดยืนเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับปาเลสไตน์จากสหภาพแรงงาน Starbucks ซึ่งก่อนจะสงครามอิสราเอล-ฮามาส บริษัทและสหภาพก็มีปัญหาความขัดแย้งจากการเจรจาเพื่อปรับปรุงสัญญาการจ้างงานอยู่แล้ว จากนั้นบริษัทแฟรนไชส์กาแฟยักษ์ใหญ๋ก็ฟ้องร้องสหภาพเพื่อห้ามไม่ให้ใช้ชื่อและสัญลักษณ์ของ Starbucks เพราะภาพได้โพสต์ภาพรถเกลี่ยดินทำลายรั้วที่กั้นอิสราเอลและชายแดนกาซา ซึ่งสะท้อนถึงการสนับการกระทำรุนแรงชั่วร้ายของฮามาส มันคือการกระทำที่สร้างความสับสนเข้าใจผิดจนลูกค้านับพันร้องเรียนและขู่บอยคอตแบรนด์ ถึงขั้นมีผู้บุกเข้ามาทำลายทรัพย์สินที่ store ส่วนสหภาพก็โต้กลับด้วยการฟ้องคดีหมิ่นประมาท

หลายคนตีความว่า การฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากสหภาพที่โพสต์สนับสนุนปาเลสไตน์นั้นคือการประกาศตัวว่าสนับสนุนอิสราเอลอย่างเต็มตัว แม้ว่าบริษัทจะยกเหตุผลมาชี้แจงและยืนยันว่าขออยู่เคียงข้างมนุษยชาติ แต่ความเสียหายก็บานปลายขึ้นมาเรื่อยๆ



ปัญหาไม่ลงรอยกับสหภาพนี้เองที่จุดประกายให้กลุ่มผู้ประท้วง pro-Palestinian ขึ้นบัญชี Starbucks เป็นแบรนด์ต้องห้าม เมื่อรวมกับข่าว McDonald's ในอิสราเอลบริจาคอาหารให้กับโรงพยาบาลและหน่วยทหารอิสราเอลก็ยิ่งทำให้หลายคนรู้สึกโกรธเกรี้ยว แม้ว่า McDonald's จากประเทศอื่นๆจะแถลงการณ์ว่ การกระทำของผู้ประกอบธุรกิจในอิสราเอลเป็นปัจเจก ไม่ได้มาจากการตัดสินใจที่ตรงพ้องกันของ McDonald's ทั่วโลก และผู้ประกอบธุรกิจในภูมิภาคเดียวกันก็ไม่ได้เห็นชอบ แต่หลายคนก็เหมารวม McDonald's ว่าเป็นแบรดน์ชั่วร้ายสนับสนุนการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ไปแล้ว สถานการณ์ของ Starbucks ก็ไม่ต่างกันนัก ผู้คนร่วมปลุกกระแสต่อต้านเพื่อสร้างความเสียหายทางธุรกิจ ถึงขนาดโจมตีว่า ลูกค้าที่ยังซื้อหาสินค้าจาก Starbucks ก็เปรียบได้กับการดื่มเลือดผู้บริสุทธิ์ที่ถูกเข่นฆ่าอย่างโหดร้าย

  พลัง social media กดดันศิลปินทรงอิทธิพลในอเมริกาให้ออกมาแสดงจุดยืน

ชาวเน็ทจำนวนมากเชื่อว่า ศิลปินดาราที่มีอิทธิพลต่อความคิดของผู้ติดตามไม่ควรเมินเฉยต่อปัญหาความขัดแย้งนี้ และยิ่งไม่ควรแสดงออกว่า สนับสนุนแบรนด์ดังที่กำลังตกเป็นเป้าหมายการบอยคอตจากผู้คนในหลายประเทศ แม้แต่ Selena Gomez ที่โด่งดังทรงอิทธิพลในโลกออนไลน์ด้วยจำนวนผู้ติดตามทาง Instagram มากกว่าสี่ร้อยล้านก็เจอกับแรงกดดันให้เธอออกมาแสดงจุดยืนเลือกข้างให้ชัดเจน เมื่อเธอประกาศว่าจะต้องปกป้องเหยื่อชาวปาเลสไตน์ที่ถูกโจมตีในฉนวนกาซา และขอประณามการต่อต้านชาวยิวและความเดียดฉันท์ต่อศาสนาอิสลามทุกรูกแบบ กระแสโจมตีเธอก็ยังดำเนินต่อไป ผู้นำองค์กรยิวในอเมริกาแห่งหนึ่งฟาดหนักว่า เธอเป็นคนขี้ขลาดที่กลัวจะเสียคะแนนนิยม จึงเลือกใช้คำพูดปลอบประโลมเอาใจกลุ่ม pro-Palestinian แต่ก่อนหน้านี้ เธอก็ถูกวิจารณ์อย่างหนักหน่วงว่า ไม่ยอมใช้ online platformของตัวเองแสดง awareness ต่อวิกฤติทางมนุษยธรรมที่เกิดขึ้นในกาซาและรณรงค์ให้ชาวโลกกันมาปกป้องชาวปาเลสไตน์และต่อต้านรัฐบาลอิสราเอล  จนทำให้เธอต้องออกมาตัดพ้อว่า   เพียงแค่คำพูดหรือแฮชแทกเดียวไม่สามารถทำให้ทุกคนพอใจ เธอไม่สามารถทำใจรับได้ที่เห็นผู้บริสุทธิ์ที่ต้องถูกเข่นฆ่า   เธอก็หวังเช่นกันหวังว่าจะสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ แต่ถึงจะโพสต์สักครั้งมันก็ไม่ได้ช่วยอะไรขึ้นมา


จอน โซมีถูกโจมตีแรง แฟนเพจจากอินโดนีเซียปิดตัว

เมื่อมาถึงคราวของศิลปิน K-Pop การแชร์ภาพและคลิปวีดีโอกับแก้วเครื่อง Starbucks ที่ดูเป็นเรื่องแสนจะธรรมดา บางครั้งก็กลายเป็นกระแสฮือฮาจนแฟนๆต้องตามรอย สำหรับ  FC จากต่างประเทสหลายคน นี่คือพฤติกรรม tone deaf ที่ยากจะทำใจยอมรับ บางคนยังปล่อยข่าวว่า พวกเค้ารับเงินเพื่อช่วยโพรโมทแบรนด์อเมริกันที่สนับสนุนอิสราเอล โดยไม่ใส่ใจถึงความทุกข์ทรมานและชีวิตที่ไร้ทางออกของชาวปาเลสไตน์

หลังจากที่จอน โซมี นักร้องสาวหน้า Barbie แชร์วีดีโอแต่งหน้าทาง TikTok ชาวเน็ทหลายคนต่างสะดุดตั้งแต่โมเมนท์เริ่มต้นที่เธอหยิบแก้ว Starbucks มาจิบ และถูก call outจนถูกพาดหัวเป็นประเด็นร้อน แฟนเพจที่มีผู้ติดตามหลายหมื่นของเธอปิดตัวลงไปในเวลาไล่เลี่ยกัน เมื่อติดตามเข้าไปสำรวจข้อมูลก็พบว่า เป็นเพจที่สร้างในประเทศอินโดนีเซียซึ่งเกิดกระแสบอยคอต Starbucks นั่นเอง บัญชี Instagram ของเธอยังเต็มไปด้วยคอมเมนท์ต่อว่าต่อขาน และเตือนให้เธอตัดความสัมพันธ์กับ Starbucks และแบรนด์อื่นๆที่ถูกกกล่าวหาว่าเป็นอยู่ข้างเดียวกันกับอิสราเอลก่อนที่จะเสียหายไปกว่านี้


บางคนชี้ว่าคงไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่ไอดอลต่างถือแก้ว Starbucks กันรัวๆ เพราะตลาดเอเชียย่อมมีความสำคัญต่อธุรกิจในช่วงที่ยอดขายตกลงไปจากกระแสต่อต้าน นี่อาจจะเป็นแผนการตลาดที่จะช่วยประคับประคองไม่ให้พิษบอยคอตแพร่หลายในเอเชียเหมือนกับอีกฟากโลก

ชาวเน็ทจำนวนหนึ่งได้แสดงความผิดหวังเมื่อได้เห็นภาพไอดอลดื่ม Starbucks ในช่วงนี้ ไม่ว่าจะเป็น จีซูและ Jennie แห่ง BLACKPINK, วอนยอง กาอึลและอีซอแห่ง IVE, ซานะและจีฮโยแห่ง Twice, สมาชิกวง Aespa, ซานและฮงจุงแห่ง Ateez แม้แต่ไอดอลเจน 2 อย่าง ซีวอน Super Junior ก็ต้องเจอคำวิจารณ์กราดเกรียวใน Instagram เช่นเดียวกัน สียงวิจารณ์จากโลกออนไลน์รุนแรงขึ้น จนแฟนบางคนเริ่มลบภาพไอดอลกับแก้ว Starbucks ออกไปจากบัญชีเพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง แต่แม้ว่ากลุ่ม pro- Palestinian จะบุกมาถล่มไอดอลคนที่แชร์ภาพใน social media พวกเค้าก็ยังไม่ได้ลบภาพออกไปแต่อย่างใด


 FC ปกป้อง  ไอดอลไม่ได้มีอิสระในการโพสต์ภาพสินค้า/ กระแสบอยคอต

ท่ามกลางเสียงวิจารณ์ดุเดือดในกล่องคอมเมนท์  ยังมีแฟนที่เป็นปากเป็นเสียงแทนไอดอลดังที่ถูกโจมตีว่า ศิลปินเหล่านี้รับงานโพรโมทสินค้าตามที่เอเจนซี่แนะนำมา พวกเค้าอาจจะไม่ได้กลั่นกรองหรือฉุกคิดว่า การดื่มกาแฟแบรนด์ยอดนิยมในประเทศจะถูกตีความไปว่า  นี่คือการสนับสนุนการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์  ไอดอลบางคนไม่ได้แชร์ภาพ  Starbucks ใน social media ด้วยซ้ำ  แต่เป็นผู้จัดการที่แวะซื้อมาให้ก่อนเข้าร่วม fan meeting   และอาจจะมีไอดอลที่ไม่ได้ติดตามข่าวสารเรื่องการบอยคอตที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ พวกเค้าเพียงแค่ทำในสิ่งที่สังคมเกาหลีมองเป็นเรื่องปกติ แม้ที่เกาหลีใต้จะมีธุรกิจร้านกาแฟที่มีเครือข่ายออกมาแข่งขันกันเพียบ แต่ Starbucks ก็เป็นแบรนด์ยอดฮิตที่หลายคนวางใจ มีสาขาในโซลเยอะกว่าใน New York ซะอีก


  Starbucks สนับสนุนเงินทุนให้กับกองทัพอิสราเอลจริงหรือ?


ตัวแทนบริษัทยักษ์ใหญ่ได้ชี้แจงว่า ข้อมูลแบบผิดๆถูกปล่อยแพร่กระจายเป้นวงกว้างจนต้านทานไม่อยู่นั้นเกิดขึ้นหลังจาก Starbucks พยายามรับมือกับสถานกาณ์ขัดแย้งและปกป้องความปลอดภัยของพนักงานแต่ถูกตีความผิดไป (ฟ้องร้องสหภาพจากทวีทสนับสนุนปาเลสไตน์) กระแสบอยคอตที่เกิดขึ้นมาจากการบิดเบือนความจริงทาง social media ซึ่งกระแสข่าวลือเรื่องการสนับสนุนเงินให้กับกองทัพอิสราเอลไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด

แฟนบางคนทักท้วงว่า การแพร่กระขายข่าวลือเรื่อง Starbucks สนับสนุนเงินให่กับกองทัพอิสราเอลนั้นไม่ได้เป็นข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ได้ แต่เป็นการอนุมานด้วยการใช้ความรู้สึกส่วนตัว ทั้งๆแบรนด์ยืนยันปฏิเสธการตั้งข้อกล่าวหาจากโลกออนไลน์ กระแสบอยคอตที่เกิดขึ้นมาจากการบิดเบือนความจริงทาง social media การพุ่งเป้าหมายโจมตีไปยังไอดอลที่ดื่มกาแฟเจ้านี้จึงเป็นเหมือนกับจิตวิทยาหมู่จากความเชื่อในทฤษฎีสมคบคิดโดยขาดความไตร่ตรอง และไม่ได้บรรเทาวิกฤติความรุนแรงในสงคราม แต่ยิ่งสุมไฟความขัดแย้งจนผู้คนแตกแยกกันมากกว่าเดิม



นอกจาก Starbucksและ McDonald’s ยังมีแบรนด์อื่นที่กลุ่ม pro- Palestinian เรียกร้องให้ร่วมกันบอยคอต

Zara - แคมเปญโฆษณานำเสนอภาพนางแบกหุ่นพันผ้าขาวที่ดูเหมือนกับถุงใส่ศพ ทำให้ถูกโจมตีว่า สร้างกระแสด้วยการใช้ภาพที่สื่อถึงเหยื่อชาวปาเลสไตน์มาเป็นจุดขาย แบรนด์ลบภาพออกและอธิบายว่า เป็นเรื่องที่ผู้คนเข้าใจผิด เพราะถ่ายทำโฆษณานี้มาตั้งแต่ซัมเมอร์

Puma - สปอนเซอร์ทีมฟุตบอลทีมชาติอิสราเอล ตัวแทนแบรนด์ประกาศว่า หลังจากหมดสัญญาในปี 2024 จะไม่มีการต่อสัญญา

Disney -บริจาคเงินสองล้านดอลลาร์ให้กับหน่วยบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินและองค์กรช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ในอิสราเอล จากเหตุกองกำลังติดติดอาวุธฮามาสโจมตีเป้าหมายชาวยิวในอิสราเอล

HP - สนับสนุนเทคโนโลยี biometric ID system ให้กับอิสราเอล แบรนด์ชี้แจงว่า ไม่ได้เลือกเข้า่ข้างประเทศใดในข้อพิพาททางการเมืองและให้ความเคารพสิทธิมนุษยชน




candy

candy

ติดตาม Mouth On The Web แล้วอย่าลืม Mouth On The Face นะคะ ^ ^

FULL PROFILE