เจาะแฟชั่น Gilded Glamour ที่เป็น theme MET Gala ปีนี้

34 13


คุณอาจรู้สึกว่า Met Gala  แห่งปี 2021  เพิ่งจะผ่านไปได้เพียงไม่นาน  เผลออีกที  การจัดงาน ball หรูเริ่ดก็มาจ่ออีกเพียงไม่กี่วันข้างหน้าแล้ว      ซึ่งในช่วงแรกที่มีการประกาศ theme การแต่งกายออกมา  ก็ได้สร้างความข้องใจให้กับหลายคน  เพราะtheme  “In America: An Anthology of Fashion” ในปีนี้   เพราะเมื่อพิจารณาจากtheme  “In America: A Lexicon of Fashion” จากปีที่แล้วที่บรรดาแขกร่วมงานต่างประโคมfashionที่แสดงความเป็น American แบบไม่ยอมให้แพ้ใคร  

แล้วเหตุใด ปีนี้จึงตั้ง theme ที่ฟังดูคล้ายกัน? จากพจนากรม fashion แห่งAmerica มาเป็นบทกวีนิพนธ์แห่งAmerica

แต่มีการเปิดเผยไม่นานมานี้ว่า    theme นี้มีความหมายลึกล้ำลงไปถึงรากเหง้าของประวัติศาสตร์fashion แห่งAmerica ในยุคที่เรียกว่า Gilded Age    ผู้จัดงานได้ส่ง request   ให้บรรดาผู้ที่ได้รับคำเชิญเลือกสรรเครื่องแต่งกายที่สื่อถึงยุคนี้

สำหรับหลายคนอาจจะไม่รู้สึกคุ้นเคยกับยุคนี้มากนัก   ลองมาเจาะลึกกับ Gilded Glamour ที่เป็นแรงบันดาลใจของ Met Gala 2022กับเราได้เลยค่ะ

 

Gilded age คืออะไร?



นี่คือยุคที่ America  ก้าวสู่ความเรืองโรจน์ทางเศรษฐกิจระหว่างปี 1870-1900  (ตรงกับช่วงปลายยุค Victorian ของอังกฤษ)   โดยเฉพาะทางเหนือและตะวันตก รายได้ของชาว America ทะยานพุ่งสูงกว่าผู้คนในยุโรป และมีการลงทุนจากการขยายตัวทางเศรษกิจเป็นวงกว้างจนเกิดกลุ่มคนที่ถูกว่า'เศรษฐีใหม่'สร้างชื่อเลื่องลือ


ที่มาของชื่อ Gilded Age



นักประพันธ์นาม Mark Twain ได้ส่งผลงาน The Gilded Age: A Tale of Todayที่บอกเล่าเรื่องราวความฟุ้งเฟ้อและการคดโกงในแวดวงการเมือง เขาได้ใช้คำว่า Gild (หุ้มหหรือเคลือบทอง) เสียดสีเหล่าเศรษฐีใหม่ที่ตกแต่งข้าวของเครื่องใช้ด้วยการเคลือบทองเพื่อโอ้อวด'ความแพง'ของตัวเอง และมันได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของสังคมวัตถุนิยมและคอร์รัปชั่นในเวลาต่อมา




Gilded age fashion

มองเผินๆ เครื่องแต่งกายสุดเลิศหรูจาก Gilded Age อาจจะดูไม่ต่างจากยุค Victorianมากนัก     เหล่าสาวสังคมแห่ง New Yorkได้รับแรงอิทธิพลมาจาก Paris ศูนย์กลาง fashion แห่งโลกตะวันตก  และเป็นช่วงเวลาแห่งการ 'อวดรวย' โดยไม่ต้องใส่ใจว่าจะถูกหมั่นไส้ หรือถูกเหยียดว่าดู try hard แบบคนที่ไม่เคยมีมาก่อน    fashion ในช่วงเวลานี้จึงโดดเด่นด้วยความ 'เยอะ'    ฟังดูแล้วช่างเหมาะกับtheme ของ Met Gala ซะจริง!



Jessica Chastain ในบทLady Lucille Sharpe แห่ง Crimson Peak หนังพีเรียดแนวลึกลับที่สะท้อน lifestyle ของสังคมชนชั้นสูงใน New York    costume อลังการในระดับ MET gala เชียวล่ะ 


ก่อนที่จะมี Met gala สังคมชนชั้นสูงแห่ง New York ต้องสั่นสะเทือนด้วย
The Vanderbilt Ball แห่งปี 1883


เมื่อได้ฟังชื่อสกุล Vanderbilt แล้วหลายคนอาจจะคุ้นหู นี่คือตระกูลที่สร้างเนื้อสร้างตัวจนร่ำรวยใน Gilded age และกลายเป็นตำนานแห่งความฟุ้งเฟ้อแบบเศรษฐีใหม่ในNew York


Alva Vanderbilt สาวสังคมจากตระกูลเศรษฐีที่เคยถูกกีดกันไม่เชื้อเชิญให้ร่วมสังสรรค์ในอีเวนท์ของชนชั้นสูง เหตุผลก็คืออคติแบบผู้ดีเก่าที่เหยียดหยามเศรษฐีใหม่ว่าเป็นพวกโฉ่งฉ่างไร้รสนิยม แต่เธอไม่ย่อท้อกับคำปฏิเสธ ลุกมาสร้างสถานะราชินีแห่งevent เพื่อจะก้าวขึ้นเป็นดาวสังคมผู้โดดเด่น เธอพยายามเอาชนะใจ Caroline Schermerhorn Astor และSamuel Ward McAllister ผู้ทรงอิทธิพลแห่งสังคมชนชั้นสูงเพื่อจะผ่านการคัดเลือกเป็น 'หนึ่งใน 400รายชื่อที่ควรค่า' แต่ก็ไม่เป็นผล Queen Bee อย่าง Mrs. Astor ยังไม่ยอมรับเธอ แต่เพราะมีเงินล้นเหลือ Alvaทุ่มเงินจ้างสถาปนิกดังสร้าง château สไตล์ฝรั่งเศสและเตรียมการจัด party ฉลองเปิดบ้านใหม่ด้วยการร่อนบัตรเชิญแขกถึง1,200 คน แต่ไม่มี Mrs. Astor ในรายชื่อเหล่านั้น ถึงขนาดว่าลูกสาวของ Mrs. Astor อยากจะเข้าร่วมparty แห่งศควรรษใจจะขาดจนต้องนัดเยี่ยมเยือน Alva แบบตัวต่อตัว และในที่สุด Mrs. Astor ก็เลิกดื้อดึงแล้วเชิญเธอเข้าร่วมงานสังคมกระทบไหล่ผู้ดีเงินเก่าทั้งหลาย และลูกสาวของเธอก็ได้รับการ์ดเชิญร่วมงานเป็นสิ่งแลกเปลี่ยนในเวลาต่อมา







จะบอกว่าเธอคือ party girl ที่มาก่อนกาลก็ไม่ผิดนัก Alvaกำหนดให้แขกรับเชิญนับพันแต่งกายเข้างานด้วยชุดแฟนซี เรียกว่าเป็นการบ้านชวนหนักใจจนหัวหมุนเลยทีเดียว ตัวเธอแต่งตัวด้วยแรงบันดาลใจจากเจ้าหญิงเมืองเวนิส ส่วนพี่สะใภ้ของเธอแต่งตัวด้วยชุดซาตินปักสีทองและสีเงินระยิบระยับ ดึงดูดความสนใจจากคนในงานด้วยคบเพลิงไฟฟ้าพร้อมกับโพสเหมือนกับเทพีเสรีภาพ หรือจะเป็นแขกคนอื่นๆที่ใส่ชุดเจ้าหญิงแดนไกล ชุดสัตว์ต่างๆ และอีกหลายแนวคิด และสร้าง impact ทรงพลังที่เปลี่ยนโฉมหน้าของแวดวงชนชั้นสูงแห่ง New York ให้ยอมรับเศรษฐีเคลือบทอง

จุดประสงค์ของ Vanderbilt ball อาจจะต่างกับ MET ball แต่ถ้าสำหรับเรื่องความหรูหรานั้น มูลค่าของงาน ball ครั้งยิ่งใหญ่แห่ง Gilded age ถูกตีเป็นมูลค่าเงินปัจจุบันสูงถึง 6 ล้านดอลลาร์ นี่ยังไม่รวมถึงคฤหาสน์ที่เธอใช้เงินของถึง11ล้านดอลลาร์ หรือ 317ล้านในปัจจุบันโดยที่ยืนกรานว่า นี่จะกลายเป็นสมบัติตระกูลVanderbilt ที่สร้างความนับถือจากเหล่าผู้ดีเก่าจอมอคติได้



Bustlesเสริมบั้นท้ายให้งอน


silhouette ที่ประกอบด้วยเอวคอดกิ่วและบั้นท้ายงอนพุ่งสวนทางหลักอนาโตมี่กลายมาเป็นเทรนด์ยอดนิยมในศตวรรษที่ 19 สาวน้อยสาวใหญ่ต่างคลั่งไคล้ใน shape ของเดรสที่พองด้านหลังแบบเกินจริงราวกับส่วนก้นของแมลง

จากภาพคือ Michelle Pfeiffer นางร้ายสุดแซ่บแห่ง The Age Of Innocence ที่มาพร้อมกับความโดดเด่นของ Gilded age fashion นั่นคือ คอร์เซ็ท ตัว supportก้นใต้ชุดจับเดรป ผ้าซาติน และระบาย



แม้แต่ Winona Ryder ที่รับบทเป็นสาวใสซื่อก็ใส่ชุดก้นงอนเช่นเดียวกัน  แต่ฝ่ายคอสตูมได้ตัดเย็บชุดสีขาวสะอาดตาประดับระบายหลายชั้นสื่อถึงความไร้เดียงสา   แต่หลังจากสิ้นสุด Gilded age      ดรสก้นงอนนี้ก็ค่อยๆเสื่อมความนิยมลงไป


เพราะการเพิ่ม volume ให้กับทรวดทรงเป็นสิ่งที่สาวๆยุคนี้ปลาบปลื้มกันมาก  ชุดจับเดรปจึงเป็นสิ่งที่ดูขาดไปไม่ได้เลย   สำหรับการออกงานสังคม  การเผยเนื้อหนังช่วงทรวงอกนั้นไม่ใช่สิ่งที่ดูหยาบโลนเกินไป     แม้จะใส่ชุดยาวก็ดูเย้ายวนใจด้วยส่วนเว้าส่วนโค้ง


ในยุคปัจจุบัน เราจะได้เห็นคนดังเลือกชุดจับเดรปที่มีดีไซน์เสริม volumeบั้นท้ายให้ดูงอนแบบยุค Victorian แล Gilded age แต่ประยุกต์ให้ดูร่วมสมัยมากขึ้นด้วยการจับเดรปหรือประดับโบยักษ์ ตัวเสริมภายใต้กระโปรงเรียกว่า bustle หรือชุดกระโปรงด้านในที่ตัดเย็บด้วยวัสดุที่มีความแข็งจนทำให้ดูพองราวกับมีใครซ่อนอยู่ภายใน คาดการณ์ว่า เราจะได้เห็นดีไซน์นี้จาก Met Gala เตรียมรอชมได้เลยค่ะว่าใครจะก้นงอนมาเฉิดฉายบนพรมแดง





เสื้อปิดคอ

เชื่อว่า เหล่าคนดังย่อมเลือกต้นแบบสุดเริ่ดมาเป็นแรงบันดาลใจ   และอาจจะเป็นไปได้ว่า ซีรีส์The Gilded Age ที่เพิ่งลงจอHBO ไปไม่นานมานี้น่าจะเป็นแหล่งไอเดียสำหรับชุดสวยเริ่ดออกงานgalaแห่งปี  


แม้จะเห็นภาพผู้หญิงยุคนี้ใส่ชุดคว้านคอลึกโพสเป็นแบบให้จิตรกรวาดภาพเหมือน  แต่หนึ่งในเทรนด์ที่พวกเธอชื่นชอบและดูเหมาะกับชีวิตประจำวันทั่วไปคือเสื้อปิดคอนั่นเอง   จุดเด่นคือดีไซน์ท่อนบนที่เหมือนกับเสื้อสูทจับคู่มากับ corset รัดให้เอวเล็กเป็นมดตะนอย
เสื้อผ้าที่มีกลิ่นอาย Gilded age ก็ดูโฉบเฉี่ยวได้  ลองชม Naomi Campbell บนรันเวย์ Vivienne Westwood ใน Vive la Cocotte collection สิ

แขนเสื้อพอง



ภาพของหญิงสาวสุด trendy บนปกVogue แห่ง  Gilded age ก็น่าจะพิสูจน์ได้ชัดเจนว่า  แขนเสื้อพองมาแรงไม่แพ้เทรนด์อื่น  เตรียมตัวนับกันเลยว่า คนดังจะพองกันบนพรมแดง Met  gala สักกี่คน

แขนเสื้อยิ่งพองยิ่งดู dramatic เหมือนกับ Mia Wasikowska ที่รับบทเป็นลูกสาวนักธุรกิจผู้มั่งคั่งใน New York


Met Gala  ไม่ใช่กองถ่ายซีรีส์พีเรียดจึงไมเจำเป็นต้องแกะรูปแบบของเครื่องแต่งกายมาแบบเป๊ะๆหัวจรดเท้า    บรรดาดีไซน์เนอร์ย่อมพลิกแพลงผลงานของตัวเองให้เข้ากับ theme งาน   บางคนก็ประโคมกันมาเต็มที่ เห็นทันทีก็รู้เลยว่าตั้งใจประกาศความโดดเด่นตาม theme   แต่บางคนก็อาจจะมาพร้อมกับ prop เล็กๆ หรือสัญลักษณ์อะไรบางอย่างที่ต้องสังเกตกันดีๆ    และจะมีอยู่จำนวนหนึ่งที่ไม่ใส่ใจใยดีกับ theme นัก    ซึ่งฟังดูก็น่าเสียดายถ้าจะไม่แต่งชุดที่สื่อถึง Gilded glamour เพราะเป็นสไตล์ที่มีอะไรให้เล่นเยอะจริงๆ    แค่หมวก็สาธยายกันไม่จบแล้ว


candy

candy

ติดตาม Mouth On The Web แล้วอย่าลืม Mouth On The Face นะคะ ^ ^

FULL PROFILE