พฤติกรรมคนดังที่ถูกกล่าวหาว่า out of touch !

51 17
หลายคนคงสังเกตกันว่า  ทุกวันนี้  สื่อและ social  media platform ต่างๆ รับเอาศัพท์ slang ที่ปรากฏในสื่อภาษาอังกฤษมาใช้กันอีกหลายคำต่างจากในอดีต เช่นคำว่า   bully, call out, pretty privilege   และ gaslighting เป็นต้น


ในคราวนี้  เราขอเจาะคำว่า out of touch  ที่คุณผู้อ่านน่าจะผ่านหูผ่านตามาจากข่าวดราม่าคนดังแล้วหลายครั้ง    ความหมายในที่นี้ ไม่ได้แปลตรงตัวว่า ขาดหายจากการติดต่อ       แต่มันคืออะไรล่ะ?


Oxford ได้ให้คำนิยามอาการ Out of touch ไว้ว่า

การขาดความรู้ความเข้าใจหรือข้อมูลที่เกี่ยวกับสถานการณ์ความเป็นไปต่างๆ รวมถึงการขาดความตระหนักรู้หรือความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

(อีกคำที่ใช้บรรยายได้ใกล้เคียงกันคือ tone-deaf ที่เห็นกันได้บ่อยครั้งตามหน้าข่าว gossip ซึ่งเป็นการอุปมาอาการหูเพี้ยนกับการไม่ยอมรับรู้สภาวะยากลำบากหรือปัญหาของผู้อื่นนั่นเอง)



พฤติกรรมเหล่านี้ปรากฏให้เห็นทั่วไปในสังคม  แต่เมื่อคนดังที่ถูกยกให็เป็นต้นแบบสร้างแรงบันดาลใจอันดีงามให้กับสังคมได้แสดงความคิดเห็นบางอย่างที่ไม่ตรงใจผู้คน  ก็อาจต้องพบกับสถานการณ์ใช้คำพูดเป็นอาวุธทิ่มแทงตัวเอง  จากข้อกล่าวว่า ใช้ชีวิตแบบอภิสิทธิ์ชนมามากซะจนมองข้ามปัญหาของผู้อื่น แล้วเชื่อมั่นว่าตัวเองคือจุดศูนย์กลางของทุกอย่าง     หากไม่ได้ดั่งใจเพียงนิดเดียว หรือรู้สึกว่าคนอื่นไม่ให้ความสำคัญกับตัวเองตามที่ต้องการ ก็พร้อมจะใช้อภิสิทธิ์เรียกร้องเพื่อให้โลกกลับมาหมุนรอบตัวเอง

คนดังที่ถูกกล่าวหาว่ามีพฤติกรรมแบบ out of touch หรือ tone-deaf จะมีใครบ้าง? คำพูดของพวกเค้าจะมาจากการใช้อภิสิทธิ์จริงหรือไม่?

มาติดตามได้เลยค่ะ




Demi Lovato ฟาดใส่ร้าน frozen yogurt   "ขายสินค้าปลอดน้ำตาล กดดันให้คนเป็นโรคปฏิเสธอาหารรู้สึกแย่"



หากถามความรู้สึกของคุณว่า หากได้พบกับผลิตภัณฑ์ sugar free เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้บริโภคที่ต้องการหลีกเลี่ยงน้ำตาล หลายคนก็อาจจะตอบได้อย่างรวดเร็วว่า ช่างเป็นเรื่องปกติ ในเมื่อทุกวันนี้ ผู้คนต่างรับรู้พิษภัยของการบริโภคน้ำตาลจนเกินควรแล้วว่า ไม่ได้นำมาซึ่งส่วนเกินไม่พึงปรารถนาเท่านั้น แต่หากยังติดหวานไปเรื่อยๆ โรคภัยร้ายแรงอย่างโรคเบาหวาน ความดัน ทั้งแทรกซ้อนมาด้วยโรคหัวใจ ความดัน โรคไต โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน จึงไม่น่าแปลกใจที่ผู้รักสุขภาพจำนวนมาก หันมาลดรับประทานอาหารรสจัด หวาน มัน เค็ม เลี่ยงน้ำตาล หากโหยความหวานจริงๆ ก็อาจจะเลือกสารแทนความหวานชนิดที่ปลอดภัย

แต่ดราม่า sugar free มาบังเกิด เมื่อ popstar สาวได้ใช้พื้นที่บน social media โจมตี The Bigg Chill ร้าน frozen yogurt ใน Los Angeles ว่า จำหน่ายอาหารคุมน้ำหนักและ sugar free

หากถามว่าร้านนี้ทำผิดหนักมากมายเพียงใด? ลองชมความคิดเห็นของเจ้าของผลงาน Heart Attack กัน



"ได้พบว่า การเดินไปสั่งfroyoช่างเป็นเรื่องยากเย็นแสนเข็ญ เพราะต้องฝ่าดงคุกกี้ sugar free และอาหารคุมน้ำหนักต่างๆกว่าจะไปถึงเคาน์เตอร์รับออเดอร์" Demi เรียกร้องให้ร้าน frozen yogurt(หรือเรียกสั้นๆว่า froyo) ปรับปรุงแนวทางให้ดีขึ้น และแฮชแทกปิดท้ายเพื่อแดกดันว่า 'หากินกับวัฒนธรรมdiet'


เมื่อร้านได้ส่งข้อความชี้แจงว่า วางจำหน่ายสินค้าสำหรับผู้ปวยเบาหวาน, ผู้มีอาการโรคซีลิแอ็ก, ผู้ไม่กินเนื้อสัตว์ และแน่นอนว่ายังมีเมนูสำหรับผู้ที่อยากตามใจปากได้ด้วยเช่นกัน The Bigg Chill ยืนยันว่า

"พวกเราไม่ได้หากินกับวัฒนธรรมdiet แต่พวกเราสร้างความพอใจให้กับคุณลูกค้าทุกกลุ่มมาตลอด 36 ปี เราเสียใจหากคุณเห็นว่ามันรบกวนจิตใจ"




นักร้องสาวก็ไม่พอใจกับคำอธิบายนี้ และฟาดไปยังการบริการของร้านว่า ทั้งหยาบคายและทำให้หงุดหงิด


"คุณสามารถจำหน่ายสินค้าให้กับกลุ่มเป้าหมายหลักในขณะที่ให้ความสำคัญกับลูกค้าจำนวนน้อยที่จ้องพบกับความทุกข์ใจทุกเมื่อเชื่อวัน แค่ก้าวเข้าร้านคุณก็ยังต้องรู้สึกแย่ คุณต้องหาวิธีจัดบรรยากาศร้านที่ต้อนรับเชิญชวนให้กับทุกๆคนที่มีความต้องการในรูปแบบที่แตกต่างกัน รวมไปถึงผู้ป่วยเป็นโรคปฏิเสธอาหาร หนึ่งในความเจ็บป่วยทางจิตใจที่คร่าชีวิตคนไปมากที่สุด จะเป็นรองก็เพียงแต่ การเสพยาopioidเกินขนาด อย่ามาหาข้อแก้ตัวนะ แค่ปรับปรุงให้ดีขึ้นก็พอ"


แต่ทว่ากระแสตอบรับจากสังคมไม่ได้พัดพาถล่มร้านThe Bigg Chill ตาม Demi   ชาวเน็ทจำนวนมากออกตัวปกป้องร้าน และรุมโจมตีเธอว่า ใช้อภิสิทธิ์คนดังทำลายธุรกิจคนอื่น เพียงเพราะไม่ได้ดั่งใจ




กระแสตีกลับ ชาวเน็ทกล่าวหา ใช้power คนดังทำลายธุรกิจเพียงเพราะโลกไม่หมุนรอบตัวเอง



หลายคนชี้ว่า The Bigg Chill ที่เสนอ froyoกว่าสี่ร้อยรสชาติ ( มีทั้ง sugar-free, gluten-free, fat-free และ dairy-free ) ไม่ได้บีบบังคับให้ลูกค้าต้องตัดใจความหวานอร่อยจากแต่เปิดตัวเลือกมากมายให้กับลูกค้าที่มีความจำเป็นและความต้องการทางสุขภาพที่แตกต่าง เรียกได้ว่า friendly กับลูกค้าหลายกลุ่ม แม้แต่คนแพ้นมยังกินได้ เหตุใด นักร้องชื่อดังจึงต้องประกาศศึกกับธุรกิจเจ้านี้ ทั้งๆที่มีแบรนด์ยักษ์ใหญ่มากมายที่กอบโกยรายได้จากผลิตภัณฑ์sugar-free และคุมน้ำหนัก

เป้าหมายการโจมตีจึงเปลี่ยนทิศเข้าหา Demi อย่างรวดเร็ว




LA Times ได้บรรยายดราม่าครั้งนี้ว่า นีคือความผิดพลาดครั้งใหญ่ของ Demi เพราะ The Bigg Chill เป็นหนึ่งในร้านขวัญใจชาว LA จากตัวเลือกที่หลากหลาย แต่เธอกลับพยายามทำลายชื่อเสียงของร้านที่ขยายเมนูให้ลูกค้ากลุ่มต่างๆได้ลองลิ้มชิมอาหารอร่อยได้อย่างทั่วถึง

นี่คือตัวอย่าง reaction จากสังคมออนไลน์

  •  Demi โกรธหัวฟัดหัวเหวี่ยงที่ร้าน froyo ขายคุกกี้ไร้น้ำตาล แต่สามารถรับงานที่แปะโฆษณาสินค้าปลอดน้ำตาลได้สบายๆ  เธอจะมีปัญหากับเรื่องวัฒนธรรม diet จนกระทั่งแบรนด์จ่ายเงินให้เธอ
  • ทุกคนต้องเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เธอพอใจรึ? แล้วคนมากมายที่ต้องเสียชีวิตจากโรคเบาหวานล่ะ?  พวกเค้าม่ความสำคัญน้อยกว่าคนที่ป่วยเป็นโรคปฏิเสธอาหารอย่างนั้นเหรอ?
  • คนรวยแบบเธอเคยใช้ชีวิตแบบคนในชีวิตจริงบ้างรึเปล่า?  สินค้าปลอดน้ำตาลมีอยู่ทุกหนทุกแห่ง ไม่ว่าจะเป็น ใน supermarket  ร้าน green juice ร้านอาหารสุขภาพ   แต่เธอกลับรู้สึกทนไม่ไหวจนมาเปิด war กับร้าน The Bigg Chill แค่แห่งเดียว พวกเราต้องเสียใจด้วยมั้ยที่ไม่ได้ซัดน้ำอัดลมหรือกาแฟใส่น้ำตาลพูนๆ
  • คนที่ต้องการคุมน้ำตาลในเลือดเห็นร้านนี้เป็นฮีโร่  แต่คนดังมีอภิสิทธิ์กลับมาสั่งให้ร้านเปลี่ยนเพราะรู้สึก 'ถูกยั่วยุ' 
  • Demi  เคยเข้าใจไหมว่า คนที่ต้องกระเสือกกระสนหาเงินมาจ่ายประกันสุขภาพเพราะเจ็บป่วยจากโรคเบาหวานต้องทุกข์แค่ไหน  พวกเราต้องการที่ยืนในสังคมเหมือนกัน 


หลังจากที่นักร้องคนดังเปิดwarกับร้าน นอกจากชาวเน็ทจะออกโรงปกป้องและโจมตีกลับ พวกเค้ายังให้กำลังใจร้านด้วยการเข้ามาต่อคิวซื้อ froyo กันยาวๆ และบางคนก็ทิปเต็มที่ซะด้วย


ความโกรธเกรี้ยวของชาวเน็ทยิ่งถูกกระตุ้นเพิ่ม เมื่อTMZ ได้เผยแพร่ข้อความที่ Demi ขู่ร้าน The Big Chill ว่า "อย่ามาตอบโต้กันต่อไป คุณไม่อยากจะมาแหยมกับฉันหรอก คุณเป็นฝ่ายผิดเต็มๆ และลูกค้าก็ถูกเสมอ"

ลูกค้าคือฝ่ายถูกเสมอหรือไม่  ดราม่าครั้งนี้ก็น่าจะทำให้ Demi  เรียนรู้ได้อย่างหนึ่ง  นั่นคือการตั้งหลักจากกระแสต่อต้านจากสังคม   แล้วก็ปรับเปลี่ยน้ำเสียงมาขอโทษเพื่อกู้ภาพลักษณ์ที่ถูกวิจารณ์ย่อยยับนั่นเอง


ถูกกดดันจนต้องต้องประกาศขอโทษ


Demi ผู้ที่เคยได้รับเสียงชื่นชมว่าเป็นตัวอย่างของผู้เชิดชูแนวคิดเรื่อง body positivity และต่อสู้กับมาตรฐานความงามที่เป็นต้นตอของโรคปฏิเสธอาหารกลับถูกโจมตีว่าเป็นคนดัง out of touch ที่ไม่แยแสถึงปัญหาของคนอื่น หากไม่ปลื้มกับการตลาดของธุรกิจใด เธอก็ใช้ platform ที่มีผู้ติดตามเป็นล้านๆบีบบังคับให้เจ้าของธุรกิจต้องทำตาม โดยไม่สนว่า จะมีผู้ได้รับผลกระทบ แรงกดดันจาก social media ทำให้ Demiออกมาชี้แจงว่า 'เป็นคนตรงไปตรงมาในสิ่งที่ตัวเองยึดมั่น' และเพราะต้องทุกข์ทรมานจากโรคปฏิเสธอาหาร จึงรู้สึกถึงความยากลำบากในการเดินเข้าไปสั่ง yogurt

"ฉันรู้ว่าสำหรับคนมากมาย มันไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไร แต่สำหรับฉันมันเป็นเรื่องใหญ่ค่ะ"


Demi อธิบายว่า เพราะร้านไม่มีสัญลักษณ์ชัดเจนว่า นี่เป็นสินค้าสำหรับผู้ป่วยเบาหวานและซีลิแลค จึงสันนิษฐานอะไรเอาเอง ทั้งๆที่ไม่ควรจะฟันธงไปฝ่ายเดียวแล้วฉะกับร้านออกสื่อแบบที่ได้เห็นกัน แต่ก็ตั้งใจจะเจรจากับร้าน froyoแห่งนี้ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องเหมาะสม


"ฉันรู้จักคนป่วยเป็นโรคปฏิเสธอาหารที่ต้องพบกับอุปสรรคในการสั่ง froyo ฉันจึงรู้สึกอ่อนไหวกับเหตุการณ์ที่เดินเข้าไปร้าน froyo แล้วเจอสินค้าdiet   ฉันย่อมจะรู้สึกอยากปกป้องตัวเอง"  

Demi เล่าเหตุการณ์ต่อว่า เมื่อไม่สามารถสั่ง froyo ตามที่ตัวเองต้องการแล้วก็รู้สึกแย่ไปทั้งสุดสัปดาห์ และยืนยันว่า ไม่ได้ตั้งใจทำลายธุรกิจขนาดเล็กดังที่ถูกกล่าวหา



"ฉันเสียใจที่เข้าใจผิดไป ฉันเสียใจที่ทำให้หลายคนต้องผิดหวัง แต่ฉันไม่ได้ใช้ความเป็นคนดังที่มีผู้ติดตามมากมายเพื่อตามราวีธุรกิจขนาดเล็ก"

"ผู้ป่วยโรคปฏิเสธอาหารควรจะมีความรู้สึกปลอดภัยในทุกสถานที่ที่พวกเค้าได้เข้าไปกินอาหาร ที่ฉันขอก็เพียงเท่านี้"





ชาวเน็ทหลายคนยังปักใจว่า นี่เป็นการขอโทษแบบ Sorry Not Sorry ไม่ต่างจากชื่อเพลงของDemi เพราะหลังจากขู่เข็ญว่าร้าน Froyo เป็นฝ่ายผิด และลูกค้าก็ต้องถูกเสมอ นักร้องสาวก็กลับลำว่า 'ถูกตีเจตนาไปผิดๆ' เรียกได้ว่า หลังจากล้มลุกคลุกคลานกับดราม่าและความทุกข์ของคนดังมานาน ทั้งเหตุการณ์เฉียดความตายจากอาการเสพยาเกินขนาด และต้องต่อสู้กับปัญหาสุขภาพจิตและโรคปฏิเสธอาหาร ก็จะได้รับเสียงสนับสนุนจากผู้ที่เอาใจช่วยให้ฝ่าฟันปัญหาไปให้ได้

แต่ดราม่าร้าน froyoครั้งนี้ถือว่าสร้างผลเสียจนชื่อเสียงของ Demiดิ่งลง ทำให้เจ้าตัวต้องเก็บตัวเงียบไปพักหนึ่ง ก่อนจะเปิดใจกับสื่อว่า เหตุการณ์ครั้งนี้ ทำให้เลือกก้าวไปข้างหน้าด้วยการเรียนรู้

"ฉันมุ่งมั่นจะเรียนรู้และแลกเปลี่ยนความเห็นเพื่อเพิ่มความรู้ให้ทั้งตัวเองและคนอื่นในการทำให้โลกของเราน่าอยู่ยิ่งขึ้น"



Gwyneth Paltrow   ประกาศยกเครดิตให้ตัวเองที่ปั้นเทรนด์เล่น Yoga


จากชื่อเสียงที่ปรากฏตามหน้าสื่อ Gwyneth มีชื่อลือชาให้เป็นตัวแม่เรื่องความ out of touch จากสารพัด quote ในอดีตและแนวทางการตลาดของ GOOP ธุรกิจ lifestyle ที่สร้างเสียงวิพากษ์วิจารณ์มาตลอด นั่นทำให้สื่อบางเจ้ายกให้เธอคนดังที่ถูกเกลียดที่สุดอันดับ 1

( reaction ของGwyneth จากตำแหน่งนี้คือ "เองจริงรึ ถูกเกลียดมากกว่า Chris Brown เลยเหรอ? มันมาพร้อมกับตอนที่ People ยกให้ฉันเป็นผู้หญิงที่สวยที่สุดในโลก เป็นนาทีที่ฉันต้องคิดสับสนว่า เดี๋ยวก่อนนะ ฉันไม่เข้าใจเลย ฉันถูกเกลียดเข้ากระดูกดำหรือฉันเป็นคนที่สวยที่สุดในโลกกันแน่")


ตามความเห็นของเรา ผู้คนอาจจะไม่ได้เกลียดชัง Gwyneth หนักหนาถึงขั้นนั้น แต่ถ้าเป็นเรื่องของความหมั่นไส้ น่าจะฟันธงได้ว่าเข้าขั้นยืนหนึ่ง คนที่อาจจะเพิ่งติดตามข่าวคราวของเธอก็อาจจะต้องการภาพประกอบว่า เหตุใด เธอจึงถูกโยงเข้าสู่ดราม่า out of touch เสมอ



หากจะให้เปรียบเทียบแล้ว หาก Keanu Reeves และAdele กลายมาเป็นขวัญใจผู้คนด้วยภาพลักษณ์สวยงามที่ทั้งดูเข้าถึงได้และติดดิน แม้จะมี lifestyle เลิศเลอตามประสาคนดังฐานะมั่งคั่ง แต่ก็ไม่ต้องเผชิญกับดราม่าที่จากการจ้องจับผิดเรื่องความเป็นอภิสิทธิ์ชน

แต่ Gwyneth กลับถูกตีตราว่าเป็นสาวไฮโซหัวสูง ที่สร้าง controversy ด้วยความเห็นที่ส่อไปทางเหยียดผู้อื่น ไม่ว่าเธอจะมีเจตนาหรือไม่ อาจจะคล้ายกับกรณีชนชั้นสูงในสังคมอังกฤษ เมื่อเหล่าผู้ดีเงินเก่าต้องพบกับ stereotype ว่า เป็นชนกลุ่มน้อยของสังคมที่เคยชินกับอภิสิทธิ์ของตัวเอง ใช้ชีวิตในหมู่ผู้ดีด้วยกันในวงแคบๆ ไม่รับรู้และเข้าใจสภาพสังคมของโลกภายนอก เมื่อแสดงความเห็นพิพากษาผู้อื่นในแง่ลบ บางครั้งก็ไม่รู้ตัวด้วยซ้ำไปว่า สิ่งที่กล่าวออกมาสร้างความกระทบกระเทือนใจให้คนอื่น

นางเอก A list ผู้นี้สามารถรับมือกับดราม่าได้อย่างมือpro บางครั้งเธอสามารถชื่นชมคุณสมบัติตัวเอง ซึ่งแน่นอนว่า มันไม่ใช่ปัญหาชวนกวนใจ เพราะคนเราไม่จำเป็นต้องแสดงความถ่อมเนื้อถ่อมตัวเพื่อเอาใจคนอื่น แต่ celebrate ความดีงามของตัวเองเพื่อสร้างเสริม self-esteem แต่ดราม่ามักเกิดขึ้น เมื่อการชื่นชมตัวเองมีสะดุดกับโทนเสียงและถ้อยคำที่ฟังแล้วชวนให้คิดว่ากำลังเย้ยหยันคนอื่นจนต้องสะดุด

หลายฝ่ายออกความเห็นตรงกันว่า แม้จะเข้าใจในสารที่Gwyneth ถ่ายทอดออกมา แต่มันคงบั่นทอนภาพลักษณ์ของเธอได้น้อยกว่า หากไม่ใช้คำพูดเหล่านี้


ได้รับการสนับสนุนจากผู้หญิงรอบข้างมากขึ้นหลังจากที่เธออายุขึ้นหลัก 4   จึงไม่ได้ข่มขวัญพวกเธอด้วยสถานะนางเอกสาววัย 26เจ้าของรางวัล Oscarอีกต่อไป
(คำพูดนี้น่าจะเอามาแต่งเพลงแร็พโชว์power ได้เลย  เธอน่าจะเป็นหนึ่งในนางเอกไม่กี่คนที่พูดถึงรางวัล Oscar ของตัวเองในแง่นี้)

ยอมตายดีกว่าที่จะให้ลูกกินซุปสำเร็จรูปตรา Cup-a-Soup
(ตบหน้าแม่ๆที่ให้ลูกกินซุปนี้)


คิดว่าแม่ที่งานประจำแบบเข้าออกตามเวลาสามารถจัดการกับชีวิตได้ง่ายกว่านักแสดงอย่างเธอที่ตารางการทำงานไม่แน่นอน บางครั้งก็ทำทำงานยาวเหยียดที่ต่างบ้านต่างเมือง ถึงแม่ทำงานออฟฟิศจะต้องพบอุปสรรคต่างๆ แต่ก็ไม่เหมือนกับการทำงานหนักในกองถ่าย


(ในขณะที่เธอยอมรับว่าเลือกรับงานหนังปีละครั้งสองครั้ง และสามารถพักจากงานได้ยาวๆเพื่อดูแลครอบครัวและท่องเที่ยวผ่อนคลายความเครียด ด้วยฐานะที่ร่ำรวยจนว่าจ้างผู้ดูแลเด็กอย่างใกล้ชิดได้ตลอดเวลา ส่วนแม่ที่ทำงาน full time หลายคนต้องดิ้นรนเพื่อหารายได้สนับสนุนครอบครัวและจัดสรรดูแลลูกไปด้วยโดยไม่มีตัวเลือกให้หยุดพักเหนื่อยหรือรับงานตามที่ใจต้องการได้)


ไม่สามารถเสแสร้งทำตัวเหมือนคนมีรายได้ 25,000เหรียญ
(ไม่มีความจำเป็นต้องพาดพิงคนรายได้น้อยให้รู้สึกต้อยต่ำแต่อย่างใด)

วิจารณ์Reese Witherspoon ว่า ถึงจะเป็นนางเอกฝีมือการแสดงยอดเยี่ยม แต่ก็รับเล่นหนัง rom-comโง่ๆ เพื่อเงินและสถานะคนดัง
(ทั้งๆที่ตัวเองก็เคยเล่นหนัง rom-com ที่ถูกวิจารณ์ในแง่ลบมาแล้ว)

แม้จะเคยเยินยอวัฒนธรรมการเข้าสังคมที่ยุโรปว่าเต็มไปด้วยบทสนทนาที่สร้างสรรค์เปี่ยมไปด้วยความรู้ จนรู้สึกแย่เมื่อกลับมาพบกับความกลวงของสังคมในอเมริกาแทบจะรอบินกลับยุโรปไม่ไหว แต่ก็จิกกัดพนักงานโรงแรมในแพรีสที่แนะนำร้านที่ไม่โดนใจเพราะหวังสินบนจากร้าน    แต่เธอต่างหากที่รู้ดีว่า บาร์ดีๆที่เสิร์ฟไวน์ออร์แกนิคและร้านทำบิกินี่แวกซ์อยู่ที่ไหน
( นอกจากคนอเมริกันที่ถูกเหยียดว่าพูดคุยแต่เรื่องกลวงๆ  conciergeโรงแรมหรูในแพรีสก็คงกดdislikeเหมือนกัน )

ยังมีอีกหลายquote ที่ถูกสื่อรวบรวมเป็นหลักฐานอ้างอิงว่าเธอ out of touch เกินเพื่อนร่วมวงการไปหลาย level

และคุณอาจจะไม่ประหลาดใจ หากได้เห็นสัมภาษณ์ของ Gwynethที่แสดงถึงความภูมิใจต่อการบริหารร่างกายยอดนิยม และสั่งสอนคนอื่นที่ไม่สำเหนียกถึงสถานะ trendsetter ตัวจริง
 
"อภัยให้ด้วยเถอะถ้าพูดแล้วฟังดูแย่   ฉันไปเข้าคลาสโยคะที่ L.A.  แล้วสาววัย22 ที่นั่งอยู่หลังเคาน์เตอร์ก็ถามว่า คุณเคยเล่นโยคะมาก่อนมั้ยคะ"

"จากนั้นฉันก็หันไปมองเพื่อนแล้วบอกว่า  ที่หล่อนได้ทำงานนี้ก็เป็นเพราะว่าฉันเล่นโยคะมาก่อนหรอกจ้ะ"



Gwyneth ยืนยันว่าก่อนที่โยคะจะโด่งดังในอเมริกา ผู้คนเคยจิกกัดเธอที่เริ่มเล่นโยคะว่าเป็นตัวประหลาดหรือแม่มดมาแล้ว


การประกาศอ้างเครดิตความสำเร็จของโยคะด้วยการทวงบุญคุณกับพนักงานสาวก็ดึงดูดกระแสดุเดือดจากชาว Twitter ได้ตามคาด ไม่ว่าจะเป็น

  • ชาวเน็ทรุ่นใหญ่ที่ยืนยันว่า ชาวอเมริกันหันมาสนใจโยคะมาตั้งแต่ยุค  70s  มีทั้งคนสนใจเสาะหาคู่มือมาฝึกด้วยตัวเอง  และร่ำเรียนกับกูรูต้นตำรับที่มาเปิดสำนักจากระแสที่บูม   แม้จะไม่ขยายตัวเป็นธุรกิจหมื่นล้านดังทุกวันนี้  แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่ถือเป็นสิ่งแปลกปลอมในหมู่ผู้ที่นิยมออกกำลังกาย
  • ผู้ที่เกิดทันยกความสำเร็จจากธุรกิจ fitness video ของ  Raquel Welch  นางเอกsexyที่นำเสนอการบริหารร่างกายด้วยการผสมผสานหฐโยคะและlifestyle เพื่อสุขภาพทีขายดิบขายดีในยุค 80s   ส่วนในยุค 90s Jane Fonda ทีถูกยกให้เป็นตำนาน fitness ที่สร้างรายได้ล้นหลามกับจากการสอนท่าออกกำลังแบบaerobicมาก่อน ก็ได้ปล่อย video สอนออกกำลังด้วยท่าโยคะเช่นกัน  ยอดขายนับล้านก็น่าจะพิสูจน์ความนิยมของโยคะว่าเริ่มมานานก่อน Gwyneth จะ 'ปั้นเทรนด์' ให้โด่งดัง
  • เสียงตอบรับจากสื่อก็มีโทนเสียงที่ไม่ต่างจากชาวเน็ทนัก  แม้จะใช้ถ้อยคำที่ฟังดูสุภาพกว่า หรือไม่ได้ประชดประชันแบบร้ายๆ แต่บางเจ้ายืนยันว่า ถึงนางเอกดังผู้นี้จะเชื่ออย่างเต็มใจว่าตัวเองคือผู้ริเริ่มเรื่องการฝึกโยคะจน mass ไปทั่วอเมริกา และส่งอานิสงค์ให้พนักงานประชาสัมพันธ์ศูนย์ฝึกโยคะมีการมีงานทำ แต่ เธอไม่ได้เป็นผู้ผลักดันให้โยคะประสบความสำเร็จแต่อย่างใด
  • ผู้ที่วิจารณ์ว่า ถึงจะมีคนยกข้อมูลมาค้านกับการอ้างเครดิตของ Gwyneth  ชัดเจนแค่ไหน  เธอคงไม่สนใจรับฟัง   เพราะให้ความสำคัญกับกับตัวเองในระดับที่ลำเลิกคนอื่นอย่างไม่กลัวเสียภาพลักษณ์มาแล้ว



Gwyneth เคยวิเคราะห์ถึงต้นตอที่ผู้อื่นมองเธอในแง่ลบว่า มาจากภาพลักษณ์แบบสาวไฮโซที่ครอบครัวตามนะเน้าพะนอและประเคนโอกาสในการสร้างความสำเร็จในวงการ แต่เธอยืนยันว่ามันไม่ได้เป็นดังที่คนอื่นเข้าใจ พ่อของเธอไม่ได้ส่งเสียค่าใช้จ่ายให้ตั้งแต่จบมหาวิทยาลัย และไม่ได้ใช้เส้นสายช่วยเหลือให้ได้งานในวงการ ( ผลงานเรื่องสุดท้ายที่พ่อของเธอโพรดิวซ์และกำกับก่อนเสียชีวิตคือ Duet ซึ่งเธอรับบทนางเอก) อย่างไรก็ตาม เธอก็พอจะเข้าใจว่า เพราะเหตุใดคนอื่นจึงมีแนวคิดต่อเธอเช่นนั้น

ถึงจะเป็นเช่นนั้น ดูเหมือนว่า  controversy จะเป็นแบรนด์ของเธอไปแล้ว  และจุดกระแสความสนใจจนทำให้ธุรกิจ lifestyle ประสบความสำเร็จซะด้วย  ยิ่งถูกวิจารณ์ว่า แพร่ข้อมูลและความเชื่อผิดๆ ก็ดูเหมือนว่า GOOP ก็ยิ่งขายดี     ทั้งๆมีผู้พยายาม cancel แบรนด์ของเธอมาหลายปี  



Khloe Kardashian กับ viral video โจมตีผู้มีน้ำหนักเกิน


หลายปีที่ผ่านมา ภาพลักษณ์ของ Khloe Kardashian ที่ถูกถ่ายทอดผ่านสื่อต่างๆ คือผู้หญิงที่ตกเป็นเหยื่อของค่านิยมความงาม ผู้คนมักพิพากษาเธอจากเรือนร่างภายนอก หนำซ้ำยังถูกเปรียบเทียบกับพี่น้องที่มีรูปร่างเล็กกว่า เธอได้เปิดใจถึงความทุกข์ที่สั่งสมมานานตั้งแต่ยังเยาว์วัย เมื่อต้องถูกด้อยค่าว่าเป็นสาวอ้วนหรือยายขี้เหร่ประจำครอบครัว แต่เธอก็มาพบกับจุดเปลี่ยน สามารถพัฒนาตัวตนจากการดูแลสุขภาพและออกกำลังกายกำจัดส่วนเกินไม่พึงปรารถนา ความมั่นใจที่เพิ่มพูนขึ้นทำให้เธอสลัดคำว่า fat sister ออกไปได้อย่างหมดจด

แต่ video ให้สัมภาษณ์ตัวหนึ่ง ก็ทำให้ Khloe ต้องพบกับดราม่า 'ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง' จนถูกกล่าวหาว่า คำพูดสร้างแรงบันดาลใจของเธอในอดีตไม่ชวนน่าเชื่อถืออีกต่อไป




"ฉันรับไม่ได้เลยกับคนประเภทที่กินไอศครีมHaagen-Dazs ทั้งถังแล้วคร่ำครวญว่า ฉันมันอ้วนจัง แล้วพวกเค้าก็ไม่ยอมออกกำลังกาย ไม่ยอมเปลี่ยนนิสัยการกิน ไม่ยอมดื่มน้ำมากๆ ไม่ยอมทำอะไรสักอย่าง พวกเค้าเอาแต่บ่น บ่น แล้วก็บ่น"


"ฉันจึงคิดว่า แหงล่ะ คุณก็จะอยูในสภาพที่เห็นตัวเองเป็นเหยื่อถูกกระทำไปตลอด เพราะคุณไม่ลงมือทำอะไรเลย ไม่ตระหนักรู้ถึงตัวตน ถึงขนาดที่ไม่มองตัวเองผ่านเงาสะท้อน แล้วเตือนตัวเองว่า โอเค ฉันต้องทำอะไรบ้างเพื่อจะเปลี่ยนตัวเอง ทุกอย่างกลายเป็นความผิดคนอื่นหมด"

คำพูดของ Khloe อาจจะฟังดูไม่ต่างจากเทรนเนอร์บางคนที่ต้องการกระตุ้นให้ผู้ที่มีน้ำหนักเกินหันมาใส่ใจดูแลตัวเอง มันอาจจะไม่ได้ฟังดูถนอมน้ำใจ แต่อาจจะเป็นการเรียกสติแบบใช้ไม้แข็ง

แต่การตอบรับจากโลก internet นั้นแรงจัด ถึงขั้นที่มีผู้กล่าวหาว่า  Khloe  เป็นพวกเกลียดกลัวคนอ้วน และทัศนคติที่แท้จริงของเธอก็ช่างแตกต่างจากการ  empower ผู้คนให้หันมารักตัวเองดังที่เธอเคยพร่ำบอกในรายการ  Revenge Body  ทำให้ความเชื่อถือเรื่อง body positivity ลดฮวบ



ชาวเน็ทปรี๊ด  เห็นโอดครวญว่าตัวเองทนทุกข์เพราะอ้วนกว่าพี่น้องมาตลอด พอฟิตหุ่นแล้วกลับแดกดันคนอ้วน?


เส้นทางก้าวข้ามอุปสรรคเพื่อเอาชนะปมด้อยที่ฝังใจของ Khloe ถูกนำเสนอเป็นพล็อทผ่าน Keeping Up With The Kardashians รวมถึงการเผยประสบการณ์น่าเห็นใจผ่านสื่อ เมื่อต้องรับมือกับเรื่อง fat-shaming มาตั้งแต่เด็ก แต่video ดังกล่าวทำให้หลายคนแสดงความผิดหวังในตัวเธอที่ควรจะเป็นผู้ที่เข้าใจถึงความทุกข์ของคนที่ต้องเผชิญกับเรื่องแบบเดียวกัน เพราะเธอเคยเผยเส้นทางสู่ความมั่นใจอย่างละเอียด ไม่ว่าจะเป็นปัญหา yoyo effect เมื่อใช้วิธีควบคุมอาหารตามกระแสนิยม หรือตอนที่ถูกครอบครัวกดดันให้ลดหุ่นเพราะความอวบนั้นไม่ตรงกับแนวทางการสร้างแบรนด์ของKarJenner

ไม่เพียงแต่แฟนของเธอเท่านั้นที่ออกอาการไม่พอใจ  แน่นอนว่ากลุ่มที่ไม่ปลาบปลื้มครอบครัว KarJenner เป็นทุนเดิม  ก็ไม่ลังเลจะกระโดดร่วมวงวิพากษ์เธออย่างเผ็ดร้อน


ผู้ที่หยิบยกเอาคำพูดใน  reality show มาซัดว่าช่างย้อนแย้ง

ผู้ที่ชี้ว่า Khloe ใช้วิธี BBL   (ฺBrazilian Butt Lift  หรือการดูดไขมันแล้วฉีดเพิ่มไซส์ก้น) และมีฐานะร่ำรวย สามารถเข้าถึงตัวช่วยต่างๆเพื่อเนรมิตหุ่นตามใจปรารถนา 

คนที่เชื่อว่า เพราะแรงกดดันที่ Khloe ต้องผ่านประสบการณ์ถูกด้อยค่ามามากทำให้เปลี่ยนแปลงตัวเองแล้วแสดงทัศนคติเช่นนี้ออกมา


ผู้ที่โจมตีเรื่องประวัติการรับงานโฆษณาผลิตภัณฑ์ช่วยลดน้ำหนัก
( นอกจาก Kendall ที่มีรูปร่างผอมบาง พี่น้องบ้านนี้ผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนัก ทั้งยา, ชาdetox  c]t ลูกอมระงับความหิว จนทำให้ถูกวิจารณ์ว่าหากินกับสินค้าที่จูงใจให้สาวๆหมกมุ่นในรูปร่างเว้าโค้งที่ไม่ได้มากจากวิธีทางธรรมชาติ)

ผู้ที่ออกตัวว่า บางคนมีข้อจำกัดบางอย่างที่ไม่สามารถรักษาสุขภาพได้เหมือนกับเธอ

(จากน้ำเสียงที่ฟังเหมือนกับถากถางว่า  รับไม่ได้กับคนน้ำหนักเกินเที่อาแต่กินไอศครีมแล้วบ่นว่าอ้วนโดยไม่ยอมทำอะไรเพื่อเปลี่ยนตัวเอง)
คาดว่า ทีม PR และตัวKhloe น่าจะลงมติกันแล้วว่า จะไม่โต้ตอบหรือชี้แจงข้อกล่าวหาfat- shaming ในคราวนี้   แต่สำหรับผู้ติดตามเสพดราม่า  มันทำให้ชื่อเสียงของKhloe สั่นสะเทือนไปไม่น้อย  โดยเฉพาะสโลแกนของ GOOD AMERICAN ธุรกิจ jeans ที่ใช้จุดขายว่า เป็นตัวแทนแห่งการยอมรับรูปร่างทุกรูปแบบ ทุกขนาด


The End


candy

candy

ติดตาม Mouth On The Web แล้วอย่าลืม Mouth On The Face นะคะ ^ ^

FULL PROFILE