นโยบายของรัฐ สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้จริงไหมน้า?

46 11
         โควิดมาที...เศรษฐกิจก็พังไปอีกแล้วจ้า หลายคนคงคุ้นเคยกันดีอยู่แล้วว่าในปีที่ผ่านมา รัฐมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจโดยผ่านวิธีการแจกเงินให้กับกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกันในหลายโครงการ แล้วรู้มั้ยคะ ว่าการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ ทำยังไงได้บ้าง แล้วทำไมรัฐถึงเลือกวิธีการแจกเงิน? เอาล่ะ มาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันดีกว่าค่ะ

ปัญหาการระบาดของ COVID-19 ทำให้การดำเนินชีวิตของผู้คนเปลี่ยนไป และแน่นอนว่าย่อมมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของแต่ละประเทศด้วย ซึ่งเป็นเรื่องหนึ่งที่รัฐบาลแต่ละประเทศต้องหาทางรับมือ โดยสามารถเลือกใช้ นโยบายต่าง ๆ มาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ

    

    ถ้าเล่าให้เห็นภาพง่ายๆ เวลาเรานึกถึงคำว่าเศรษฐกิจไม่ดี ก็พอเห็นภาพของกิจการที่ทยอยกันปิดตัว คนเริ่มตกงาน หรือรายได้ของแต่ละครอบครัวเริ่มลดลง

แล้วรัฐบาลจะช่วยยังไงได้บ้างล่ะ?

        จริงๆ แล้วสามารถทำได้หลายวิธีเลยนะ อยู่ที่ว่ารัฐอยากกระตุ้นเรื่องอะไร…


  • ถ้าอยากช่วยผู้ประกอบการหรือร้านค้า ธนาคารกลางก็จะประกาศลดนโยบายอัตราดอกเบี้ย เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าถึงเงินทุนและนำไปต่อยอดธุรกิจ

  • ถ้าอยากแก้เพิ่มจำนวนการจ้างงาน รัฐบาลอาจลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานจำพวกเมกะโปรเจกต์ เช่น สร้างเขื่อนหรือเส้นทางคมนาคม
     

  • ถ้าอยากให้คนออกมาจับจ่ายใช้สอย ก็อาจจะออกนโยบายลดภาษีเพื่อรวมถึงการช่วยเหลือด้วยการแจกเงิน เพื่อให้คนมีเงินมากพอที่จะออกไปใช้จ่ายและช่วยให้เศรษฐกิจกลับมาหมุนเวียนดีขึ้นอีกครั้ง

    ทั้งนี้ ก็อยู่ที่ระยะเวลาที่หวังผลด้วย ถ้าอยากกระตุ้นในระยะสั้น สิ่งที่ทำได้เห็นผลไวสุดก็จะเป็นการลดอัตราดอกเบี้ยและการแจกเงินนั่นเอง



ในเมื่อมีตั้งหลายทางเลือก...แต่ทำไมถึงแจกเงินล่ะ?

         ในเมื่อลองดูทางเลือกจากด้านบนแล้วมีตั้งหลายวิธี แต่รัฐยังคงเลือกเพราะการจ่ายเงินให้ประชาชนโดยตรงเป็นหลัก เพราะเป็นวิธีที่ใช้เวลาที่สั้นและเห็นผลเร็วที่สุด 

             อีกเหตุผลหนึ่ง คือ การใช้จ่ายของครัวเรือนเอง คิดเป็นสัดส่วนครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของไทยเราเลยทีเดียว ดังนั้น การกระตุ้นให้คนออกมาใช้จ่าย จึงเป็นวิธีที่เห็นผลได้ชัดเมื่อเทียบกับการกระตุ้นด้วยรูปแบบอื่น


             จริงๆ แล้วการกระตุ้นโดยการแจกเงินไม่ได้มีประเทศเราที่เดียวที่ใช้นะ มีอีกหลายประเทศเลยล่ะที่เคยทำแบบนี้เหมือนกัน เช่น ประเทศญี่ปุ่นที่แจกเงินให้ครัวเรือนทุกครัวเรือน ณ 38,000 เยนต่อหนึ่งครัวเรือนต่อปีช่วงวิกฤตการเงิน (Subprime Crisis) ในปี 2008 หรือประมาณ 1.1 ล้านบาทเมื่อเทียบกับค่าเงินเยนในปีนั้น แม้กระทั่งฮ่องกงเอง ที่ออกมาตรการแจกเงินเยียวยาประมาณ 10,000 ดอลล่าฮ่องกงหรือราว 41,000 บาทเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายเมื่อปีที่แล้ว

แล้วที่แจกมา...ได้ผลจริงมั้ยนะ?

           กลับมาเป็นกระแสอีกรอบเมื่อ ครม. ออกประกาศมาว่าจะเพิ่มเงินเยียวยาในหลายๆ โครงการอีกครั้งปลายเดือนพฤษภาคมนี้ เพราะว่าการประบาดของโควิดระลอก 2 นั่นเอง แล้วที่ผ่านมา มันกระตุ้นการใช้จ่ายได้จริงมั้ยนะ?
            งั้ยเรามาดูค่า Retail Sales Index ที่บอกเบื้องต้นได้ว่ามีการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้นเท่าไหร่ ของ 1 เดือนหลังจากที่รัฐแจกเงินในแต่ละประเทศกันดีกว่า

หากลองดูจากค่า RSI แล้ว ก็จะเห็นได้ว่า โดยส่วนใหญ่หลังจากที่รัฐบาลใช้นโยบายแจกเงิน ค่า RSI ตัวนี้ก็จะเป็นบวกในเดือนถัดมาทันที และมีกลายเปลี่ยนแปลงเล็กหน่อยได้ในต่อๆ ไป ดังนั้น ในระยะสั้น นโยบายนี้ก็สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้จริงๆ

      จากที่อ่านดูแล้ว นโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยวิธีนี้ก็ไม่ได้เลวร้ายไปซะทีเดียวใช่มั้ยคะ แต่ก็ต้องขอบอกก่อนเหมือนกันว่าการใช้การกระตุ้นด้วยวิธีการอัดฉีดเงินเข้าไปในระบบแบบนี้เป็นระยะเวลานานหลายปีย่อมไม่เป็นผลดีต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจแน่นอน เพราะการเพิ่มเงินเข้าไปในระบบเป็นเวลานาน จะยิ่งเพิ่มโอกาสให้เกิดเงินเฟ้อ สุดท้ายอาจจะกลายเป็นปัญหาเหมือนกรณีของเวเนสุเอล่าที่เพื่อนๆ หลายคนคงทราบดี 


       อีกเรื่องหนึ่งที่น่ากังวล ถ้ายังใช้นโยบายแจกเงินแบบนี้เรื่อย ๆ คือปริมาณหนี้สาธารณะต่อหัวก็มีแนวโน้มที่จะสูงมากขึ้น 

             ดังนั้น ฮีโร่ที่จะช่วยแก้สถานการณ์นี้ได้ดีที่สุดก็ต้องเป็น ‘วัคซีน’ เพราะถ้าสถานการณ์กลับมาเป็นปกติ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและร้านอาหารก็จะกลับมาบูมอีกรอบ การใช้จ่ายใช้สอยก็ยิ่งสูงขึ้นหลายเท่าโดยที่เราไม่ต้องพึ่งการแจกเงินอย่างแน่นอน!


Kathalynn

Kathalynn

FULL PROFILE