เหตุผลที่คนฝรั่งเศสไม่ปลื้ม Emily In Paris

57 8
Romantic Comedyกระแสดีจาก Netflixเรื่องนี้อาจจะติดอันดับหนึ่งshowในstreaming ชื่อดังที่มีคนชมมากที่สุดในฝรั่งเศสเป็นเวลาหลายวันติดต่อกัน แต่เสียงตอบรับไม่ได้เป็นแง่บวกไปทั้งหมด   เรตติ้งพุ่งปรี๊ดพอๆกับเสียงโต้แย้ง ทั้งจากชาวเน็ทและนักวิจารณ์สื่อดังที่แทบจะกลอกตาทะลุออกมาจากตัวหนังสือ   นอกเหนือไปหว่านั้น  รีวิวจากสื่อดังจากอเมริกาและอังกฤษก็เป็นไปในทิศทางเดียวกับฝั่งฝรั่งเศสซะด้วย

แล้วเพราะอะไร ซีรีส์ที่หลายคนชื่นชอบจึงทำให้คนฝรั่งเศสรู้สึกรำคาญขึ้นมาล่ะ ?






Surreal เกินไป


เคยได้ยินเรื่อง Paris Syndrome  รึเปล่าคะ ?




มีผู้คนมากมายที่ได้ยินกิตติศัพท์และเห็นภาพอันสวยหรูของมหานครแห่งความรักแห่งนี้จากหนังรักชื่อดัง ทำให้ Paris กลายเป็นจุดหมายปลายทางที่นักท่องเที่ยวโหยหา รวมไปถึงชาวญี่ปุ่นที่ชื่นชมวัฒนธรรมตะวันตก ไม่ว่าจะเป็นอาหารเลอรสที่ปรุงอย่างประณีต สถาปัตยกรรมอันงดงาม ศิลปะและดนตรีที่เฟื่องฟูโด่งดังไปทั่วโลก ความคาดหวังที่จะได้พบแต่อารนธรรมที่จรรโลงใจกลับทำให้นักท่องเที่ยวจำนวนหนึ่งต้อง "เฟล" กับความเป็นจริง ถึงขนาดเครียดจนเกิดความเจ็บป่วยตามมา   เพราะ  Paris ไม่ได้งดงามหรือมีบรรยากาศแสน romantic เหมือนกับหนัง Amélie  ที่โด่งดังเมื่อเกือบๆยี่สิบปีก่อน



คุณอาจจะเป็นอีกคนที่รู้สึกไม่แปลกประหลาดใจเมื่อได้ทราบว่า producer ของ Emily In Paris คือ Darren Star หนึ่งในผู้สร้างความสำเร็จของ Sex And The City เพราะกลิ่นอายเทพนิยายในโลกยุคโมเดิร์นของซีรีส์สองเรื่องนี้มีความคล้ายคลึงจนแฟนๆจับมาเปรียบเทียบกันฉากต่อฉาก และการขาย "ความเหนือจริง" ก็โดดเด่นไม่แพ้กัน ผู้คนในยุโรปหลายประเทศรวมถึงชาวฝรั่งเศสคุ้นเคยกับการเสพบันเทิงที่มีความสมจริง แม้จะเป็น romantic comedy ของฝรั่งเศสที่นักแสดงต่างวาดลวดลายฝีมือแบบ "เล่นใหญ่" แต่ก็ยังอิงเรื่องความเป็นจริงของชีวิตนอกจอมากกว่าแนวคิดเพ้อฝันแบบเทพนิยาย Paris อาจได้รับการยกย่องให้เป็นนครแห่งความรักมาเนิ่นนาน แต่ในขณะเดียวกันก็มีด้านที่ไม่โสภาเข้าขั้นต้องอับอายชาวโลก ด้วยปัญหาเรื่องบริหารจัดการและปัญหาสังคมที่ยากจะแก้ไข ทำให้เมืองหลวงแห่งนี้ไกลห่างจากความปลอดภัย ทั้งยังสับสนวุ่นวายและเต็มไปด้วยความสกปรก

และนั่นดูไม่เหมือน Paris ในซีรีส์เรื่องนี้นัก...
ในขณะที่ Emily ใช้ชีวิตอย่างสนุกสนานในเมืองสุด stunning  คนดูแทบจะได้กลิ่นดอกไม้และเบเกอรี่หอมหวลออกมาจากจอ   นักวิจารณ์ฝรั่งเศสบางคนได้ให้ความเห็นว่า   เป็นการขายมายาคติที่ดูจอมปลอม     ภาพของสาวอเมริกันที่เดินสวยๆเริ่ดๆบนถนนสะอ้านสะอ้านโดยไม่มีร่องรอยของเศษขยะ  หนูตัวอวบอ้วนชวนสะพรึง หรือการขีดเขียน graffiti   ทำให้สื่อฝรั่งเศสบางเจ้าประกาศว่า   คนฝรั่งเศสอาจจะจำ Paris จากเรื่องนี้แทบไม่ได้!

การก้าวเข้าสู่วงการ influecner เหมือนเป็นเรื่องกล้วยๆ ...

จากผู้คิดตาม 48 คน ก้าวมาเป็น 25000 แบบชิลๆของ Emily โพสต์ selfie ตอนกิน pain au chocolat ภาพสุนัขตอนกำลังขับถ่าย ผู้หญิงฝรั่งเศสสูบบุหรีหน้า gym ประโยคโดนใจ (?)ดึงดูดความสนใจจากคนดังและกลายเป็น influencer ที่ทำให้ลูกค้ายอมทุ่มเงินจ่ายให้กับบริษัท marketing

แต่นั่นทำให้ชาวเน็ทรวมถึง influencer ตัวจริงตั้งข้อกังขาว่า   content  ของเธอมีความโดดเด่นเพียงพอจนเป็น viral ได้จริงหรือ  ?    เพราะในเวลาต่อมา เธอก็ยอมรับเต็มปากเต็มคำว่าเป็นพวกตามกระแส  (ringarde )  เธอไม่ได้มีความแปลกใหม่จนต้องว้าว    ภาพที่ปรากฏบน Instagramของ Emily  ไม่ได้แตกต่างจาก millennial  คนอื่นๆ  จำนวนผู้ติดตามที่พุ่งมากขึ้นไม่หยุดยั้งถูกเปรียบเทียบว่าเหมือนโลกแฟนตาซีที่ทุกอย่างเกิดขึ้นได้โดยไม่ต้องอาศัยเหตุผล



นำเสนอstereotype ความเป็นฝรั่งเศสอย่างผิวเผินและเต็มไปด้วยอคติ



Beret, Baguette And Cheese สามสหายที่มักจะโผล่ขึ้นมาเมื่อมีผู้สร้างต่างชาติสร้างหนังและซีรีส์เกี่ยวกับฝรั่งเศส หมวกเบเรต์ของ Emily ดูสวยเก๋พอๆกับ Blair Waldolf นาง้อกนำจาก Gossip Girl ที่คลั่งความเป็นฝรั่งเศสเข้าสายเลือด แต่คนดูจากฝรั่งเศสบางคนอาจจะกลอกตาหรือมกับอธิบายอย่างเพลียๆว่า แม้จะดูเป็นสไตล์ที่จงใจจัดเต็มมาเพื่อเมืองใหญ่ที่เป็นศูนย์กลางแฟชั่นโดยเฉพาะ แต่ชาวฝรั่งเศสไม่ได้อินกับหมวดเบเรต์ขนาดนั้น และอาจจะเป็นอีกเหตุผลที่ Emily ถูกเจ้านายนผู้เย่อหยิ่งจิกเรียกว่า"ยายเฉิ่ม" เพราะมันดู try hard จนกระอักกระอ่วนนั่นเอง

แน่นอนว่าแฟชั่นของ Emily ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อสร้างความกลมกลืนกับชาว Parisienne  ที่จริงแล้ว  สไตล์ของเธอน่าจะใกล้ Carrie Bradshaw เวอร์ชั่นวัยสาว   แต่การใส่หมวกเบเรต์นั่งคาเฟ่โด่งดัง  สลับมื้อเช้า กลางวัน เย็น  ดูจะขัดกับชีวิตชาวเมืองและดูเหมือนนักท่องเที่ยวที่จงใจแต่งตัวเข้ากับสูตรสำเร็จของฝรั่งเศสตามสายตาชาวต่างชาติ       
คนฝรั่งเศสใน Emily In Paris  มีหลายคนมีลักษณะตรงกัน

- หัวสูง เหยียดหยามคนต่างชาติต่างวัฒนธรรม
- ไม่เป็นมิตร ตั้งแต่ผู้ดูแลอพาร์ทเมนท์ ป้าขายเบเกอรี่ ไล่ไปจนถึงพนักงานต้อนรับ
- ไม่แคร์เรื่องศีลธรรม แม้อีกฝ่ายจะมีเจ้าของก็ไม่มีปัญหา แม้แต่ผู้หญิงระดับบอสก็เป็นเมียน้อยออกหน้าออกตาได้ชิลๆ


น่าจะเป็นการอธิบายได้ชัดเจนแล้ววว่า เหตุใดชาวฝรั่งเศสจึงจิกกัดซีรีส์เรื่องนี้จนเพิ่มกระแสฮือฮามากขึ้นไปกว่าเดิม คงมีไม่กี่คนที่ประกาศว่าภาคภูมิใจกับภาพลักษณ์ที่ไร้มารยาท กีดกันทางเชื้อชาติ และชอบเป็นชู้กับชาวบ้าน มีการส่งคำยืนยันว่า นี่เป็น stereotype ที่เกินจริงและตอกย้ำแนวคิดในด้านลบกับคนฝรั่งเศส


แล้วคนฝรั่งเศสหยิ่งเกินเบอร์เหมือนกับในซีรีส์รึเปล่า ?


ที่ฝรั่งเศส ถึงกับมีการบัญญัติสำนวนคล้องจองมาใช้จิกกัดชาวปารีเซียงเย่อหยิ่งหัวสูงว่า Parisien tête de chien, Parigot tête de veau    ถึงขั้นที่คนร่วมชาติยังต้องแซะ  
แล้วนิสัยเสียแบบฝรั่งเศสที่เลื่องลือนั้นแตกต่างกับสิ่งที่ได้เราได้เห็นใน Emily In Paris รึเปล่านะ


Fari นักแสดงตลกเดี่ยวไมโครโฟนชื่อดังได้จิกกัดเรื่องEgo สูงลิบลิ่วของคนชาติเดียวกันว่า ไม่รู้คนฝรั่งเศสจะเอาอะไรมาหยิ่งนักหนา แม้กระทั่งตอนเดินทางในอเมริกาก็ยังรู้สึกรำคาญที่คนอื่นไม่ยอมพูดภาษาตัวเอง! แต่ถึงที่สุดแล้ว การเหมารวมว่าคนส่วนใหญ่ในชาติจะต้องหัวสูงและเหยียดคนอื่นเป็นกิจวัตรก็ไม่ใช่เรื่องเหมาะสมแต่อย่างใด แน่นอนว่ายังมีคนที่ให้ความสำคัญกับมารยาทและปฏิบัติกับคนอื่นอย่างสุภาพ ความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมของตัวเอง ไม่ได้แสดงออกมาในรูปแบบของการเหยียดหยามในวัฒนธรรมที่แตกต่างเสมอไป หรือพูดอีกทางก็คือ ในสังคมย่อมจะมีทั้งคนนิสัยดีและคนชอบเหยียดอยู่ปะปนกัน ไม่ต่างจากประเทศอื่น แต่เพราะเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับธรรมเนียมดั้งเดิมและข้อปฏิบัติเรื่องมารยาทอย่างเคร่งครัด จึงอาจจะถูกมองว่าเป็นพวกยกตัวจนไม่เห็นหัวใครนั่นเอง

ตัวอย่างที่ได้เห็นชัดเจนจากซีรีส์คือความภูมิใจในภาษาของตัวเองของคนฝรั่งเศส ธรรมเนียมที่มีมาแต่เดิมคือ ชาวฝรั่งเศสจะพอใจมากกว่าหากคู่สนทนาจากต่างชาติพยายามพูดภาษาฝรั่งเศสด้วยและจะได้รับการปฏิบัติที่ดีขึ้น แต่ในปัจจุบัน คนรุ่นใหม่ก็เรียนรู้จนพูดภาษาอังกฤษได้มากกว่าเดิมและไม่มีอคติต่อคนที่เลือกจะติดต่อสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ

อย่างไรก็ตาม นักวิจารณ์จากสื่อต่างๆ ก็แสดงความสับสน เมื่อ Emily พูดภาษาฝรั่งเศสได้น้อยมาก แต่กลับทำงานเป็นที่ปรึกษาด้าน social media ของฝรั่งเศส ผ่านไปแล้วสิบตอน ทักษะของเธอก็ไม่ได้กระเตื้องขึ้นมาในระดับของการทำงานติดต่อผู้คนมากมาย จนเกิดภาพที่ไม่สมจริง เมื่อคนอื่นๆในเรื่องรัวภาษาอังกฤษเป็นไฟ แม้จะเป็นฉากสนทนาของคนฝรั่งเศสด้วยกันก็ตาม




คนฝรั่งเศสไร้มารยาท?

Philippe Thureau-Dangin เจ้าของสำนักพิมพ์ Exils ให้สัมภาษณ์หับ The New York Times ว่า

" มันมีมุกเดิมๆเยอะมากจริงๆครับ และเป็นการจงใจอัดเรื่องพวกนี้เข้าไปเยอะราวกับจะจับเรื่องขำขันมาโปะใส่กันให้เวิ่นเวอเกินจริงในแบบของพวกเค้า บางทีผู้สร้างอาจจะพยายามทำตาม Molière ซึ่งจุดเด่นของ Molière ก็คือการเขียนบอกเล่าเรื่องราวที่ไม่สมจริงเพื่อให้มันออกมาตลกโปกฮา"

เขายังมีข้อสังเกตเล็กๆน้อยๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของตัวละครอย่างการจูบทักทาย ( la bise) ว่า

" ในสถานที่ทำงาน มืออาชีพเค้าไม่ทักทายคนที่เจอกันเป็นครั้งแรกแบบนั้นหรอกครับ แบบนั้นมันออกจะมั่นหน้าไปสักหน่อยมั้ย ส่วนผู้บริหารก็สูบบุหรี่ในออฟฟิศโดยที่ไม่ออกปากขออนุญาตก่อนเนี่ยนะ มันไม่มีอะไรแบบนั้นนะครับ โดยเฉพาะตอนนี้ฝรั่งเศสก็ไม่อนุญาตให้สูบบุหรี่กันในออฟฟิศได้แล้วด้วย"










พล็อทแบบ American Savior
นักวิจารณ์คนหนึ่งได้แสดงความเห็นประชดประชันไว้ว่า

"ซีรีส์เรื่องนี้เป็นการรวบรวมเอาแนวคิดเดิมๆเกี่ยวกับคนฝรั่งเศสมายำใส่กัน   เย่อหยิ่ง   สกปรกและใจดำ   Emily คือสาวอเมริกันที่เดินทางมาเพื่อชี้นำให้พวกเค้าเรียนรู้ชีวิต "


 Emily เป็นสาวที่เปี่ยมไปด้วยพลังงานและความสร้างสรรรค์ถูกรายล้อมไปด้วยคนฝรั่งเศสผู้เย่อหยิ่ง แม้แต่คนที่อยู่ในระดับเจ้านายและลูกค้าก็แสดงความล้าหลังใยเรื่องแนวคิดเรื่องความเท่าเทียมจนเธอไม่สามารถรับได้      เธอยกเอาเรื่อง political correctness มาสู้กับลูกค้าที่ตีค่าเรือนร่างของผู้หญิงไม่ต่างจากสิ่งของ  และแสดงจุดยืนชัดเจนว่า หากเป็นในอเมริกา ความคิดเหยียดเพศเช่นนี้ขายไม่ได้แน่นอน


แต่แท้จริงแล้ว ฝรั่งเศสพยายามพัฒนาเรื่องสิทธิหญิง แม้ในโลกแฟชั่นจะมีดราม่าเรื่องการ ชแต่ก็ไม่ได้แตกต่างจากในประเทศมหาอำนาจอื่นๆ แม้แต่อเมริกาก็มีแบรนด์ที่ถูกโจมตีในเรื่องเดียวกัน คนที่ทำงานในแวดวงการตลาดเช่นเดียวกับ Emily ได้ยืนยันกับ New York Times ว่า ฉากนางแบบเปลือยกายบนสะพานเป็นอะไรที่ล้าหลัง หากมีโฆษณาแบบเดียวกันในเวลานี้ ย่อมเกิดกระแสต่อต้านเป็นไฟลุก มันไม่ใช่แนวคิดของการตลาดฝรั่งเศสแบบสมัยใหม่เลย




แต่นั่นแหละ Emily คือนางเอกสุดเริ่ด แม้จะมีอุปสรรคไปซะทุกตอน แต่ลงท้ายแล้วเธอหยิบจับอะไรก็ปังไปหมด สไตล์การทำงานแบบอเมริกันทำให่้ project ต่างๆของบริษัทประสบความสำเร็จ และเจ้านายที่โหดหินกับเธอก็ยอมรับในความสามารถในที่สุด


ผู้สร้างซีรีส์ยอมรับว่าปลาบปลื้มวัฒนธรรมฝรั่งเศสมากและเปรียบเทียบว่าเป็นผลงานที่เสมือนจดหมายรักถึง Paris แต่เสียงตอบรับกลับเต็มไปด้วยความคิดในด้านลบ ไม่ใช่ความภาคภูมิใจที่รับความรักรูปในแบบนี้




แต่เสียงวิพากษ์วิจารณ์ไม่ได้ส่งผลต่อความสำเร็จของ Emily In Paris แต่อย่างใด  มีการเปิดเผยถึงทิศทางของ season 2  ออกมาแล้ว       แฟนๆที่ชื่นชอบต่างเห็นพ้องต้องกันว่า      ดูรวดเดียวจบโดยไม่รู้สึกรำคาญหรือขัดใจ  ด้วยความที่ไม่ได้คาดหวังบทที่ล้ำลึกและองค์ประกอบที่สมจริงไปหมด     เพียงแค่อยากจะเสพความสนุกสนานของ rom-com ที่เป็นสูตรสำเร็จชวนฟินแบบอเมริกัน  แม้แต่ในฝรั่งเศสก็มีผู้ชมสูงพุ่งสู่ระดับ top บน Netflix    ผู้ชมฝรั่งเศสหลายคนดูด้วยความสนุกสนานโดยไม่คิดจับผิดว่าภาพที่ได้ชมแตกต่างจากความเป็นจริงมากแค่ไหน
Darren Star ได้อธิบายความมุ่งมั่นในการทำงานของ Emilyว่า
" เธอไปฝรั่งเศสด้วยแนวคิดสุดแสนอเมริกันว่า ชั้นพูดภาษาอังกฤษไม่ได้ แต่ชั้นพร้อมไขว่คว้าโอกาสในการงาน เธอพร้อมกับความเป็นตัวของตัวเองและความสามารถ แมว่าคนรอบข้างจะไม่เห็นด้วยนัก"

" Emily มีความปรารถนาอย่างแรงกล้าในการก้าวไปสู้ความสำเร็จ ไม่ได้หมายความคนฝรั่งเศสจะไม่กระตือรือร้นเพื่อประสบความสำเร็จนะครับ แต่เป็นสไตล์การทำงานที่แตกต่างกัน"








แม้จะถูกแซะแล้วแซะอีก  การตั้งใจนำเสนอ cliche เยอะๆได้นำความสำเร็จมาสู่ Emily In Paris ตามความคาดหวังของผู้สร้าง       คุณล่ะคะ  อยากจะชม season 2  กันแล้วรึเปล่า ?
The End


candy

candy

ติดตาม Mouth On The Web แล้วอย่าลืม Mouth On The Face นะคะ ^ ^

FULL PROFILE