ผิวแบบเรา ต้องใช้อะไรล้างหน้า I Beauty 101

71 17
 "อยากซื้อโฟมล้างหน้า คลีนซิ่งสักอัน ทำไมมันยากจัง" มีตั้งหลายแบบหลายชนิด ไหนจะเนื้อเจล เนื้อโฟม แล้วถ้าผิวแห้ง ,ผิวมันใช้แบบไหนดีนะ เลือกไม่ถูก!

สาวๆ ไม่ต้อง งง ไปนะคะ การเลือกโฟมและคลีนซิ่ง ไม่ได้ยุ่งยากอย่างที่คิด เพราะเราได้สอบถามจากอาจารย์ที่ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มาแล้วเลยมีข้อมูลเด็ดๆ มาแชร์กัน แค่อ่านกระทู้นี้ สาวๆ ก็เข้าใจเรื่องนี้ได้แบบง่ายๆ เลยล่ะค่ะ
การล้างหน้าหลักๆ มี 2 ขั้นตอน คือ ล้างเครื่องสำอาง (Cleansing) และ โฟมล้างหน้า (Cleanser)  ทั้ง 2 อย่างมีหลายสูตร หลายเนื้อ เราจะอธิบายแยกให้สาวๆ เข้าใจง่ายนะคะ
Cleansing คือ ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเครื่องสำอาง สำหรับสาวๆ ที่แต่ง ลงรองพื้น บีบีครีม ปัดแก้ม ทาลิปสติก หรือใช้เช็ค สิ่งสกปรก ความมัน ก็ได้ มีทั้งหมด 8 ชนิดด้วยกันคือ

1. Water (น้ำ) : คลีนซิ่งเนื้อน้ำ ที่เห็นสีใส คล้ายน้ำเปล่าแต่มีความเข้มข้นกว่า ใช้คู่กับสำลี แล้วเช็ดจนกว่าสำลีจะสะอาด
2. Gel (เจล) : เจลสีขุ่นหรือใส ที่ไม่มีฟอง บางแบรนด์เมื่อโดนน้ำเปลี่ยนเป็นน้ำนม
3. Oil (ออย) : เนื้อน้ำมันใสๆ มีสีต่างกันไปแล้วแต่แบรนด์ เช่น เหลือง หรือ ไม่มีสี เมื่อโดนน้ำจะเปลี่ยนเป็นน้ำนม
4. Milk (นม) : เนื้อเหมือนโลชั่นเหลว ใช้วิธีการนวดและเช็ดตามด้วยสำลีหมาดๆ
5. Cream (ครีม) : เนื้อครีมเข้มข้น ที่ทำความสะอาดได้ดี ใช้วิธีนวดและล้างออกด้วยน้ำเปล่า ส่วนใหญ่แพคเกจจะเป็นกระปุก
6. Wipe (กระดาษทิชชู่) : เป็นซองเหมือนทิชชู่เปียก แต่มีคลีนซิ่งผสมอยู่ เป็นชนิดที่ใช้สะดวกที่สุด
7. Remover : คลีนซิ่งที่แยกชั้นระหว่างน้ำกับน้ำมัน ใช้สำหรับเช็ดตาและปาก เครื่องสำอางกันน้ำ
8. Balm บาล์ม : เนื้อแวกซ์ ที่ช่วยละลายเครื่องสำอาง โดยใช้การนวด และเปลี่ยนเป็นน้ำนมเมื่อโดนน้ำ
Cleanser คือ ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดหน้า "โฟมล้างหน้า" ถึงชื่อเรียกคือโฟม แต่ก็ไม่ได้มีแต่โฟม เพราะ Cleanser มีทั้งหมด 5 ชนิด และแต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติแตกต่างกัน

1. Soap (สบู่ก้อน) : สบู่ก้อนที่รูปร่างหน้าตาคล้ายกับสบู่ที่ใช้กับตัว แต่สบู่สำหรับผิวหน้านั้น ต่างกันที่ค่ากรด-ด่าง ส่วนใหญ่จะใช้กับผิวบอบบาง
2. Gel (เจล) :เจลสีใสหรือขุ่น เวลาถูบนหน้าจะไม่มีฟอง ซึ่งบางแบรนด์อาจมีเม็ดสครับผสมอยู่ด้วย
3. Powder (ผง) : เป็นผงสีขาว ที่นำไปเทใส่ถ้วยและใช้หน้าจุ่มลงไปตามเวลาที่กำหนดและล้างออกด้วยน้ำเปล่า
4. Cream (ครีม) : เนื้อครีมสีขาว เข้มข้น มีฟอง ส่วนใหญ่จะใช้กับผิวมัน
5. Foaming (มูส หรือ หัวปั้มฟอง) : โฟมล้างหน้าแบบน้ำที่อยู่ในขวดปั้ม เมื่อปั้มออกมาจะเป็นเนื้อมูส ฟองหนานุ่ม
 
สิ่งแรกที่สำคัญที่สุดสำหรับการเลือกผลิตภัณฑ์ล้างหน้า คือ "สภาพผิว" ถ้าสาวๆ ไม่รู้จักผิวตัวเอง ต่อให้ซื้อโฟมล้างหน้าที่มีรีวิวบอกว่าดี มาใช้ก็อาจจะไม่ได้ผล เผลอๆ อาจจะแพ้ เป็นสิว ปัญหาผิวตามให้กังวลใจอีก

วิธีเช็คก็ไม่ยาก แค่ล้างหน้าด้วยน้ำเปล่า เช็ดให้แห้ง รอ 10 นาที แล้วสังเกตความแห้ง ความมัน
  • บริเวณหน้าผาก จมูก และคาง มีความมัน และแก้มแห้ง = ผิวผสม
  • หน้ามันทั่วทั้งใบหน้า เมื่อมือสัมผัสมีน้ำมันเกาะ = ผิวมัน
  • รู้สึกหน้าแห้ง หยาบกร้าน เมื่อมือสัมผัสรู้สีกสาก = ผิวแห้ง
  • ส่วนผิวบอบบางแพ้ง่าย ถ้าใช้อะไรก็แพ้ ผด ผื่นแดง หรือ เป็นสิวบ่อยๆ
เฉพาะฉะนั้นเราจะแบ่งชนิดของ Cleansing , Cleanser ตามผิว เผื่อให้สาวๆ จะได้เข้าใจง่ายขึ้นนะคะ Save เก็บไว้เวลาไปเลือกซื้อโฟมล้างหน้า เป็นตัวช่วยที่ดีเลยล่ะค่ะ

ผิวมัน : คือผิวที่มีความเงามันวาวทั้งหน้า ไม่ว่าจะส่วนไหนก็มีความมัน รูขุมขนกว้าง เหตุที่หน้ามันเพราะผิวมีการสร้างน้ํามัน (Sebum) ออกมามากเกินไป ทำให้อาจมีสิวอุดตัน สิ้วเสี้ยน ขึ้นบ่อย แต่ข้อดีของสาวผิวมันคือผิวจะเหี่ยวช้ากว่าผิวประเภทอื่น และยิ่งถ้าเราบาลานซ์ให้ถูก จะส่งผลดีต่อผิวค่ะ

Cleansing (ล้างเครื่องสำอาง)
ควรทำความสะอาดเครื่องสำอางด้วย Cleansing แบบน้ำ เช่น Micella ,  Cleansing บางแบรนด์มีสูตร Oil Control ก็มีค่ะ หรือจะเป็นแบบ Wipe ที่เป็นเหมือนทิชชู่เช็ดเครื่องสำอางก็ใช้ได้เหมือนกัน เพียงแค่เช็ดให้สะอาดจนกระดาษเป็นสีขาวสะอาดก็พอค่ะ

Cleanser (ล้างหน้า)
ผิวมัน ก็ต้องควบคุมความมัน! สาวๆ ต้องมองหาคำว่า "Oil Control""Oil free" เป็นอย่างแรกเลยค่ะ ซึ่งสูตรนี้หาซื้อได้ง่าย ส่วนใหญ่เป็นเนื้อโฟมหรือมูส ที่มีฟอง เพราะฟองจะช่วยขจัดสิ่งสกปรกได้ล้ำลึก และถ้าใครที่หน้ามันมากๆ ให้มองหาคำว่า "Deep" เพิ่มเลยค่ะ เพราะจะทำความสะอาดได้ล้ำลึกยิ่งกว่า

ผิวผสม : คือผิวที่มีการผลิตน้ำมันบริเวณ T-zone คือ หน้าผาก จมูก และ คาง และ ส่วนที่แห้งคือบริเวณโหนกแก้มและข้างแก้ม ปัญหาหลักๆ ที่ต้องรับมือคือ การดูผิวทั้งสองส่วนให้บาลานซ์กัน

Cleansing (ล้างเครื่องสำอาง) 
ผิวผสมสามารถใช้คลีนซิ่งได้แบบทุกแบบขึ้นอยู่กับว่าแต่งหน้าจัดแค่ไหน แต่หลักๆ ที่เป็นที่นิยม และใช้งานสะดวกคือ Cleansing Micella ,  Cleansing oil , Cleansing Wipe เลือกสูตร Moisturizer ยิ่งดีค่ะ เพราะผิวชุ่มชื่นดีกว่าผิวแห้งอยู่แล้ว

Cleanser (ล้างหน้า)
ผิวผสมสามารถใช้ได้ทั้ง Cleansing Micella, Gel , Cream และ Foaming Face Wash แบบมีฟอง เพราะผิวผสมเน้นการบำรุงผิวให้สมดุลมากกว่าการล้างหน้าได้ค่ะ ขอแค่ล้างให้สะอาดก็พอ
 
ผิวแห้ง : เป็นสาวผิวแห้งคงรู้อยู่แล้วว่าปัญหาหลักๆ ของผิวคือหน้าลอก ถ้าไม่บำรุง หรือล้างหน้าด้วยโฟมจนแห้งเอี้ยด! ก็จะรู้สึกได้ทันทีว่าผิวหยาบขึ้น รู้สึกว่าผิวไม่ยืดยุ่น นั้นก็เป็นเพราะผิวผลิตน้ำมันได้น้อยและไม่เก็บกักน้ำไว้ใต้ผิว ทำให้ผิวไม่แข็งแรงค่ะ

Cleansing (ล้างเครื่องสำอาง) 
ผิวแห้งควรใช้ผลิตภัณฑ์ล้างหน้าที่มีความชุ่มชื้นและอ่อนโยน เช่น Cleansing milk , Cleansing Cream , Cleansing Gel หลีกเหลี่ยง Cleansing ที่มีส่วนผสมของ Alcoholic เพราะสารตัวนี้จะทำร้ายผิว และทำให้ผิวแห้งไปกว่าเดิมค่ะ

Cleanser (ล้างหน้า)
ถ้าผิวแห้งอยู่แล้ว เวลาล้างหน้าก็ไม่ควรใช้อะไรที่ทำให้ผิวแห้งเพิ่มขึ้น Cleanser ควรเลือกแบบไม่มีฟอง และไม่ขัดถูหน้าแรงๆ ศัพท์ที่ต้องจำเวลาเลือกซื้อโฟมล้างหน้านั้นก็คือคำว่า "เซราไมด์ (Ceramides)" และ ไฮยาลูรอน ที่ช่วยให้ผิวชุ่มชื้น และยืดยุ่น เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ชนิด Gel (เจล) จะดีที่สุดค่ะ

ผิวบอบบางแพ้ง่าย : เป็นผิวที่ไม่ว่าอะไรๆ ก็แพ้ มีผื่นแดง มีผดขึ้นที่หน้าผาก ผิวแดงง่าย เป็นสิวบ่อย ผิวบอบบาง มีทั้งหน้ามันและหน้าแห้ง ไม่ควรซื้อใช้เอง สาวๆ ต้องปรึกษาแพทย์หรือเภสัช และควรใช้ผลิตภัณฑ์เวชสำอางเท่านั้น

Cleansing (ล้างเครื่องสำอาง)

จริงๆ แล้ว ถ้าผิวบอบบางก็ไม่ควรแต่งหน้าจัดหรือใช้เครื่องสำอางแบบสาวๆ ทั่วไป แต่ถ้าจำเป็นต้องแต่งจริงๆ ควรล้างเครื่องด้วยผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยนไม่ทำร้ายผิว อย่าง Cleansing milk หรือ Cleansing Gel

Cleanser (ล้างหน้า)
ผิวบอบบางแพ้ง่าย ควรใช้ Cleanser ที่ไม่ระคายเคืองผิว เช่น Face Wash Gel ที่เป็นแบบ Alcohol-free และไม่ควรถูหรือสครับผิวหน้าบ่อยเกินไป อาจทำให้ผิวบางลง และแพ้ง่ายขึ้นด้วยค่ะ


ย้ำกันอีกรอบว่าการล้างหน้า มีแค่ 2 ข้อที่เราต้องจำ คือ รู้สภาพผิวตัว และ เลือกผลิตภัณฑ์ล้างหน้าให้ตรงกับผิว แค่นี้เองค่ะ สาวๆ ต้องให้เวลากับการล้างหน้าให้มากขึ้นนะ ล้างหน้าให้สะอาดและถูกวิธี ผลที่ได้คือ ผิวสวยๆ ไม่มีสิวแล้ว ง่ายขนาดนี้ใครกันจะไม่ทำ!

สนับสนุนข้อมูลโดย


natiprada

natiprada

FULL PROFILE