เอาความรู้เรื่อง SPF & PA มาฝากค่ะ

4 6
  ค่า SPF 
 

เมื่อวานไปเรียนพิเศษภาษาอังกฤษมาค่ะ  ทุกคนอาจสงสัยว่ามันเกี่ยวอะไร 55

คือเรื่องที่เรียนเมื่อวาน เป็น readind ค่ะ ให้อ่าน passage แล้วเรื่องที่ได้อ่าน

มันเกี่ยวข้องกับเรื่องครีมกันแดด หรือ ยากันแดด แล้วแต่คนจะเรียก

ออกตัวก่อนว่าไม่มีความรู้วิทยาศาสตร์อะไรขนาดนั้นนะคะ  ถือว่าเป็นการแปลบทความ

และเอาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตมาอ้างอิงบ้าง เพื่อความชัวร์นะคะ 

เล่าง่ายๆภาษากันเอง ไม่วิชาการมากเนอะ

ถ้าใครมีความรู้เพิ่มเติม ช่วยเอามาแชร์กันได้นะคะ  งั้นเริ่มเลย !!


*--------------------------------------------------------------------------------------------------------*





 
 



ก่อนอื่น เรามารู้จักเจ้าศัตรูที่ทำให้ผิวเราหมอง คล้ำ กระด่างกระดำกันก่อน
รังสีอัลทาไวโอเล็ตจากดวงอาทิตย์ สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท
- UVA
- UVB
- UVC
 
UVC  เป็นรังสีที่อันตรายมากที่สุดในบรรดาญาติพี่น้อง เพราะเป็นคลื่นรังสีสั้น ซึ่งในความคิดเรา ถ้าจำไม่ผิด 
อาจจะหมายถึงมีอำนาจการทะลุทะลวงได้ดีกว่า  แต่ก็ไม่ต้องกังวลค่ะ  เพราะชั้นบรรยากาศของเราไปสกรีนมันออกไปแล้ว
 
ที่นี้เหลือ สองตัวที่ลอยนวลมาประชันกับเรา ...
 
UVB   เป็นรังสีที่ไม่น่ารักอีกตัวเลย เพราะมันนี่แหละทำให้เราปวดแสบปวดร้อน  ผิวไหม้  และเป็นสาเหตุให้เกิดมะเร็งผิวหนัง 
 
UVA    น้องเอเนี้ยเคยถูกเชื่อว่ามันร้ายแรงน้อยกว่าน้องบีนะ  แต่สรุปว่าทั้งสองมันก็ร่วมมือให้เราเกิดมเร็งผิวหนังเหมือนกัน
แถมทั้งสองยังมาทำให้ผิวเราแก่ก่อนไวด้วย  แย่ที่สุด T^T
 
 
คุณครูเล่าให้ฟัง ว่า  ลองนึกภาพตามนะคะ  น้องบีเนี้ย เค้าจะมากระทบผิวเรา แล้วเหมือนมันไม่ได้ แทรกลงไปเหมือนเอ
เราเลยแสบๆผิว  แต่น้องเอเนี้ย มันลงไปใต้ชั้นผิวเพื่อปรับสีเมลานีนของเรา  เราเลยดำขึ้นด้วยประการฉะนี้
 
ฝรั่งที่เค้าไปนอนอาบแดดในตู้ ที่มีหลอดไปเยอะๆ ใครนึกไม่ออก ไปหาหนังเรื่อง Final Destination 3 มาดูนะคะ มันส์มาก
(อินี่แอบจิต!!)  ตู้นั้นจะแผ่รังสีน้องเอมาค่ะ  เผื่อปรับสีผิว แต่จะไม่แสบแต่อย่างใดนะจ๊ะ   แถมยังมีแบบเข้าไปในห้องแล้ว
เหมือนพ่นสีใส่ให้แทน ซึ่งจะติดอยู่ได้ 2 สัปดาห์  ซึ่งเราที่พยายามหลบแดดขนาดนี้  ก็ไม่มีวันอยากไปลองหรอก ฮ่าฮ่า
 
 
 
 
 
 
**นอกเรื่องอีกนิด**

คุณครูถามว่า  รู้มั้ยคะ? ว่าทำไมฝรั่งถึงชอบผิวแทน  แล้วเอเชีย จีนๆอะไรพวกนี้จะชอบผิวขาว...
ไม่มีใครตอบได้ หรือไม่ก็ไม่กล้าตอบกันนี่แหละ   เราก็ไม่รู้ รู้แต่ค่านิยมความขาวมันฝังมานาน 555
 
คุณครูบอกว่า "ประเทศไทย ส่วนใหญ่คนจนผิวจะสีอะไร"

นักเรียน  "ดามมมมม (วิบัติเพื่อเสียงเฉยๆนะค้า)"

คุณครู  "นั้นแหละ  มันเหมือนเป็นการบ่งบอกฐานะว่ารวยมั้ย?  พวกฝรั่งบ้านเค้าเป็นเมืองหนาว 
แสงแดดก็ไม่ได้แรงเหมือนเรา  แต่การที่เค้ามีผิวที่แทนได้  แสดงว่าเค้าไปนอกประเทศ  นอกสถานที่เค้ามา
ก็หมายถึงว่าเค้ามีตังค์จะไปเที่ยวต่างประเทศ  เค้าถึงนิยมไปให้ตัวเองดำขึ้น"

นักเรียน  "อ่อออออออออออ"
 
 
เลยสรุปได้ว่า นานาจิตตัง  สวยเรา ไม่สวยเค้า  สวยเค้า ไม่สวยเรา  แต่ถ้าไม่อยากเปลืองตังค์ จงพอใจในสิ่งที่ตนมี ฮี่ฮี่!!






 
กลับมาเข้าเรื่องใหม่
 
SPF ย่อมาจาก Sun Protection Factor ซึ่งหมายถึง ความสามารถในการปกป้องผิว 
ไม่ให้ไหม้เกรียมจากแสงแดด (Sun burn) 

การใช้ยากันแดด  ค่าที่เพอร์เฟค ที่สุด  ใครเลยจะรู้ว่ามันคือ SPF 15
เพียงแค่ 15 เท่านั้น  อิชั้นใช้ 50 มาตลอด กร๊ากกกกก
 
เพราะว่าถึง SPF จะเป็นตัวที่คอยป้องกันผิวจาก UVB  แต่การปกป้อง ในระดับ SPF 15
จะสามารถช่วยปกป้อง UVA  and UVB  ในอัตราที่เท่ากัน เหมือน 50/50
แต่ถ้าเราเลื่อนค่า SPF ให้สูงขึ้น  กราฟการปกป้องจะเปลียนไป อาจเป็น  60/40  (สมมตินะคะ)
 
 
เมื่อดูจากค่า SPF และปริมาณการดูดซับรังสียูวีบี พบว่า

    • ค่า SPF เท่ากับ 2 จะดูดซับ UVB ได้ 50%

    • ค่า SPF เท่ากับ 4 จะดูดซับ UVB ได้ 75%

    • ค่า SPF เท่ากับ 8 จะดูดซับ UVB ได้ 87.5%

    • ค่า SPF เท่ากับ 15 จะดูดซับ UVB ได้ 93.3%

    • ค่า SPF เท่ากับ 20 จะดูดซับ UVB ได้ 95%

    • ค่า SPF เท่ากับ 30 จะดูดซับ UVB ได้ 96.7%

    • ค่า SPF เท่ากับ 45 จะดูดซับ UVB ได้ 97.8%

    • ค่า SPF เท่ากับ 50 จะดูดซับ UVB ได้ 98%
       

     

จากข้างบน จะเห็นได้ว่า เมื่อเราเพิ่มค่า SPF ผลที่ได้นั้นแตกต่างกันไม่กี่เปอร์เซ็นต์เอง
แถม ยิ่ง SPF สูง  เล่นล่อเอาซะแทบหมดตัว  แพงไปไหนคะคุณ!!
 
 
แต่ว่ามันก็ขึ้นอยู่แล้วแต่ละปัจจัยด้วยนะคะ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า ลม เหงื่อ หรือไปว่ายน้ำมา
และค่า SPF ที่เอามาโชว์ให้เราเห็นเนี้ย  มันมาจากห้องทดลอง เวลาใช้จริงมันก็ลดลงไปเสมอ
เพราะฉะนั้นใครที่ต้องทำงานตากแดดนานๆ  หรือทำกิจกรรมอะไรที่รุนแรงกับผิวหน่อย
ก็เลือก SPF ที่สูงขึ้นมาดีกว่า ค่า 15 ไว้ทาชิวๆละกัน  ไม่เปลืองตังค์ด้วย
 
 
ซึ่งการเลือกค่า SPF ที่เหมาะกับตัวเรานั้น  เราก็สามารถคำนวณได้ด้วยค่ะ
โดยปกติของคนไทยจะสามารถทนอยู่กลางแดดได้ 20-30 นาที  ถึงจะเกิดอาการไหม้เกรียม
(แต่ละคนจะไม่เท่ากันนะคะ  ขึ้นอยู่กับแต่ละคน)
เราสามารถ นำค่า SPF มาคูณกับ จำนวนนาทีที่เราได้ไปออกแดด
 
e.g.  ทากันแดด SPF 15 ไปเดินประตูน้ำ ครึ่งชั่วโมง จะเท่ากับ
         15 * 30 = 450 นาที  หรือ ราวๆ 7 ชั่วโมง  (ดูเยอะเนอะ)

 


สำหรับเรา คิดว่า เลือกที่ประมาณ SPF 30 ก็น่าจะโอเคนะคะ แล้วควรเลือกแบบเนื้อบางๆด้วยก็ดี
เพราะถ้าเลือกสูงมากๆ หรือหนักมากๆ  เมื่อล้างหน้าไม่เกลี้ยง  สารตกค้าง  นังสิวมายึดครองพิ้นที่แน่นอน
 
 
 


 
 
 
ส่วนค่า PA  
 
 
PA ที่มีคุณสมบัติปกป้องผิวจาก ยูวีเอ
ค่า PA ที่มักจะมีให้เห็น อาทิ PA+, PA++, PA+++ 
 
สำหรับความหมายของ + ที่ติดมากับค่า PA คือ ความสามารถปกป้องผิวจากยูวีเอแบบเท่าตัว 
กล่าวคือ เครื่องหมายบวกเดียว เท่ากับการป้องกันยูวีเอ 2 เท่า เครื่องหมายบวกสองตัว คือ 
ปกป้อง 4 เท่า และสามบวก คือ ป้องกันยูวีเอ 8 เท่า
 
 
 
ตอนแรกเพื่อนเราที่เรียนเภสัชมันบอกว่า เวลาซื้อ ครีมกันแดด เลือกดู PA เอาบวกเยอะๆ ไม่ดำๆ
ก็เชื่อๆมันไปงั้น  แต่พอได้มาศึกษา  ได้อ่านบทความจริงจัง  ถึงรู้ที่มาที่ไปว่า UV ตัวไหน ทำลายผิวยังไงบ้าง
 
 
หลังจากหมดกันแดด ที่ใช้อยู่ (SPF 50)  คงได้ซื้อ SPF 30 PA+++ ไม่แพง มาแทนแหละ
ยาวไปหน่อย  แต่หวังว่าจะมีประโยชน์นะคะ
 
 
 

 
 
 
 
 
Credit 
written  by  RomioS

Special Thank
นพ.ประวิตร พิศาลบุตร  (https://www.hommdesign.com)
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ (https://www.thaihealth.or.th)
 
yawaiam@guru.google.co.th
 

 


RomioS

RomioS

FULL PROFILE