[Jeban's Talk]ทำความรู้จักกับครีมกันแดด

15 11
Beauty Tips:สิ่งสำคัญที่หนุ่มๆสาวๆควรรู้เกี่ยวกับ "ครีมกันแดด"

 
**คำเตือนหากใครขี้เกียดอ่านคำอธิบายแบบวิชาการซึ่งมีความยาว(มาก) แนะนำให้ลงไปอ่านสรุปย่อๆด้านล่างค่ะ**


ก่อนที่จะเข้าเรื่อง จริงจัง เราก็ต้องเกลิ่นนำก่อเนอะ....ส่วนใหญ่แล้วหนุ่มๆสาวๆเลือกซื้อกันแดดยังไง เอ่ย? คงน่าจะดูกันที่เลขของ SPF ซินะคะ? งั้นแพมขอถามนิดนึงว่า...ทราบไหมเอ่ยว่า SPF จริงๆแล้วคืออะไร? ต้องอยู่ในปริมาณที่เยอะมากๆถึงจะยิ่งดีจริงๆหรอ?........สำหรับคนที่รู้ อยู่แล้วก็ดีค่ะ...ทำการบ้านเกี่ยวกับผิวพรรณตัวเองดีมาก....สำหรับคิดที่ ยังไม่รุ้ลองอ่านดูนะคะเผื่อจะได้รับประโยชน์จากหัวข้อนี้ไปไม่มากก็น้อยนะ คะ ^.^//
 
ก่อน ที่จะไปรู้จักกับอาวุธที่ต้องใช้ในการรบ...เราก็ต้องรู้จักศัตรูของเราให้ดี เสียก่อน จริงไหมคะ ^.^ งั้นแพมจะอธิบายสั้นๆเกี่ยวกับ รังสี "UV" ที่เป็นศัตรูอย่างแท้จริงของมวลมนุษย์อย่างพวกเรา ชาวกลัวผิวคล้ำเสียเหี่ยวย่นหย่อนยาน*..*
 
รังสี ยูวีคือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าค่ะ ซึ่งปกติแล้ว คนส่วนใหญ่มักจะชินกับแสงแดด และ แดดจะมีความยาวคลื่น 400-700 นาโนเมตรค่ะ ส่วนเจ้าวายร้ายที่มีชื่อว่า รังสี UV มีความยาวคลื่นอยู่ใน ระหว่าง 200-400 นาโนเมตร
 
 
รังสี UV มีทั้งหมด 3 ชนิดด้วยกัน
 
1. UV-A -ความยาวคลื่นยาวที่สุดเลยค่ะ
2. UV-B - ความยาวคลื่นอันดับ2
3. UV-C - ความยาวของคลื่นรังสีจะสั้นที่สุดใน3ชนิด
 
 
ว่าแต่....ความยาวคลื่น คืออะไรหล่ะ!!! 
 
ความยาวของคลื่นรังสีจะเป็นตัวบ่งบอกความรุนแรงของรังสีึ้ค่ะ
พูดง่ายๆเลยก็คือ รังสี UV-C จะมีพลังงานมากที่สุด หรือ อีกนัยนึงก็คือ ความยาวคลื่นยิ่งสั้นพลังงานยิ่งสูงนั่นเอง....รังสี UV-A = พลังงาน ต่ำกว่า รังสี UV-B.....ซึ่งรังสี UV-A สามารถทะลุผ่านผิวหนังน้อยกว่ารังสี UV-B    เช่น....

รังสี UV-A = ทำให้ผิวหนังเหี่ยวย่น
รังสี UV-B = ทะลุลงลึกไปถึงบริเวณชั้นผิวหนังแท้และทำให้เกิดอาการแดงและผิวไหม้ ที่เราเรียกๆกันว่า"แดดเผา" (sunburn) หรือ แดดเลีย นั่นเอง.....
 
 
โห...ถ้ารังสี UV-B ทำได้ขนาดนี้, รังสี UV-C ไม่ทะลุไปถึงสมองเลยรึไง..!!??
 
ไม่ต้องห่วงนะคะว่าสมองจะเป็นฝ้าหรือกระ เพราะว่า.....
รังสี UV-C ส่วนใหญ่จะมาไม่ถึงผิวโลกเพราะถูกดูดกลื่นโดยชั้นบรรยากาศไป ซะก่อน (พูดง่ายๆเลยคือรังสี UV-C มันนู๊บ 555+) ดังนั้นบริเวณพื้นโลกจะมีแค่ รังสี UV-A กับ รังสี UV-B เท่านั้นแหละค่า...หนุ่มๆสาวๆไม่ต้องตกใจไป......(แล้วแกจะพูดถึง UV-C ให้เค้าตกใจกันเล่น ตั้งแต่แรกทำไมล๊าา)
 
 
 
แล้วเกี่ยวอะไรกับSPF??
 
อ่าว...แน่นอนว่าเรา รุ้จักกับศุตตรูของมวลมนุษย์แล้ว ก็ต้องหาอุปกรณ์ในการรบราฆ่าฟันกับมันเพื่อที่เราจะได้เป็นผู้อยู่ รอด......สืบทอดต่อไป.....(I'm a survivor...I'm gonna make it...I'm a survivor.....people survivor......)
 
 
อ่ะ..กลับเข้าเรื่อง ต่อ.....ในเมื่อศัตรูเรามี2ตัว....และทั้ง2ตัวมีความสามารถแตกต่างกัน.... เราก็ต้องมีอาวุธที่สามารถจะต่อกรกับศัตรูแต่ละตัวได้่...ถึงจะชนะศึกครั้ง นี้ >w<~b และหนึ่งในนั้นก็คือ เจ้าตัวที่เรียกว่า SPF นั่นเอง (^[]^/// แต่นแตนแต๊นนนน!!!!)
 
ก่อนที่จะไปสู้รบปรบมือกับศัตรูเรา ก็ต้องฝึกปรือ...ขัดเกลาความรุ้และความสามารถที่จะให้อาวุธแต่ละอย่างให้คล่องแคล่วซะก่อน...เราจะได้วางแผนการรบอย่างแนบเนียน....เรามาทำความรุ้จักกับเจ้า SPF กันเลยดีกว่า
 
Profile: SPF
ชื่อจริง = Sun Protection Factor แปลเป็นไทยก็คือ...ตัวเลขที่แสดงถึงประสิทธิภาพของครีมกันแดด
ความส่มารถพิเศษ = ป้องกันอาการแดง (sunburn) ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดจาก รังสี UV-B ถ้าค่า SPF ยิ่งสูงจะสามารถป้องกันอาการแดงได้ยิ่งดี
 
   
วิธีใช้: 
- ทากันแดดก่อนออกแดด ประมาณ 20 -30 นาที เพื่อให้สารกันแดดซึมเข้าสู่ผิวหนัง  เข้าไปประจำที่ก่อนรบนั่นเอง 
- และ ควร ทาซ้ำหลังจาก ว่ายน้ำ หรือ อกกำลังกาย ซึ่งมีเหงื่อออกมาก เพราะครีมบางตัวถึงจะกันน้ำแต่ไม่ไม่ได้ระบุไว้ว่ามันก็ลอกได้เหมือนกัน นะเอ๊อออ!!!!!
- ควรทาบริเวณที่ไม่มีเสื้อผ้าปกปิดด้วย.....ไม่ใช่ทาเฉพาะใบหน้าเท่านั้น...ไม่งั้นตัวดำหน้าขาวแล้วจะกลุ้มใจ...เอิ๊กๆๆ
- ทาทุกครั้งที่ออกแดด ไม่ใช่แค่เฉพาะเวลาเล่นกีฬา หรือ ถูกแดดเยอะๆ....ไม่ทำแล้วผิวเสียมาว่ากันไม่ได้นะจ้ะ 
- ปริมาณที่ทา ก็มีความสำคัญต่อประสิทธิภาพของกันแดดมากกก เนื่องจากกค่า SPF ของครีมกันแดดจะใช้ปริมาณ 2 มิลลิกรัมต่อตารางเซนติเมตร แต่พบว่าคนทั่วไปทาแค่ 0.5 ถึง 1 มิลลิกรัมต่อเนื้อที่ผิวหนัง 1 ตารางเซนติเมตรเท่านั้น เพราะ กลัวว่าทาเยอะแล้วจะ หน้ามัน และแลดูไม่สวย......ทำให้ค่า SPF ลดลงไปมากกว่า 50% แหนะ.....ทาแบบนี้ซื้อ SPF 25 แล้วโบกเต็มๆ ก็เท่ากับ SPF 50 ที่โบกบางๆ(แถมราคาถูกกว่า SPF 50เยอะด้วย)
- สำหรับกันแดดชนิดWater resistant(ละลายน้ำได้น้อย) หมายถึงการหาค่า SPF หลังอยู่ในน้ำ 40 นาที และ Waterproof (กันน้ำ) หมายถึงการหาค่า SPF หลังอยู่ในน้ำ 80 นาที...(สงสัยจะต้อง อ่านฉลากภาษาอักฤษดูบ้างแล้ว เพราะส่วนใหญ่ภาษาไทยไม่ว่าจะ resistant หรือ waterproof เค้าก็เขียนกันสั้นๆ...ว่า "กันน้ำ" เหมือนกันหมด)
 
 
การใช้กันแดดตามค่า SPF นี้มักดูตามลักษณะของสีผิว:
 
1. ถ้าผิวไหม้แดดง่าย โดยผิวเปลี่ยนเป็นสีแทนยาก ใช้ค่า SPF 20-30 (Ultra high)
2. ถ้าผิวไหม้แดดง่าย โดยผิวอาจมีสีแทนนิดหน่อย ใช่ค่า SPF 12-20 (Very high)
3. ถ้าผิวไหม้แดดปานกลาง และผิวค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีแทนใช้ค่า SPF 8-12 (High)
4. ถ้าผิวไหม้แดดได้น้อย และผิวเปลี่ยนเป็นสีแทนได้เสมอ ใช่ค่า SPF 4-8 (Moderate)
5. ถ้าผิวไหม้แดดยากมาก และผิวเปลี่ยนเป็นสีแทนได้อย่างมาก ใช้ค่า SPF 2-4 (Minimal)
 
 
ถ้า ดูตามนี้จริงๆ แล้ว อย่างชาว African จัดว่าอยู่ในกลุ่มที่ 5 คือโดนแดดยังไงก็ไม่ไหม้แน่นอน จะมีก็แต่ผิวคล้ำขึ้น ก็ควรจะใช้ SPF แค่ 2-4 เท่านั้นเอง, ส่วนฝรั่งอย่างชาว Europe หรือ US ก็จะจัดอยู่ในอันดับแรกเลย เพราะแค่โดน 15 นาที ก็แดงยังกับมะเขือเทศที่พร้อมจะระเบิดได้ทันทีถ้าไปแตะโดน
 
 
 
ดูจากค่า SPF และปริมาณการดูดซับรังสีUV-B พบว่า:

ค่า SPF เท่ากับ 2 จะดูดซับ UVB ได้ 50%
ค่า SPF เท่ากับ 4 จะดูดซับ UVB ได้ 75%
ค่า SPF เท่ากับ 8 จะดูดซับ UVB ได้ 87.5%
ค่า SPF เท่ากับ 15 จะดูดซับ UVB ได้ 93.3%
ค่า SPF เท่ากับ 20 จะดูดซับ UVB ได้ 95%
ค่า SPF เท่ากับ 30 จะดูดซับ UVB ได้ 96.7%
ค่า SPF เท่ากับ 45 จะดูดซับ UVB ได้ 97.8%
ค่า SPF เท่ากับ 50 จะดูดซับ UVB ได้ 98%
 
ก็หมายถึง กัน แดดค่า SPF 15 สามารถดูดซับ UVB ได้ 93.3% ซึ่งถ้าเพิ่ม SPF ขึ้นจะเพิ่มประสิทธิภาพขึ้นได้ไม่มาก และยากันแดดที่มีค่า SPF สูงมักมีปัญหาด้านความงาม(ส่งผลต่อการขึ้นของสิวเนื่องจากจะอุดตันง่าย สำหรับผิวแพ้ง่ายก็อาจจะมีโอกาศแพ้ได้ง่ายกว่า SPF ที่ต่ำกว่า) และมีราคาแพง จากมุมมองนี้อาจไม่จำเป็นต้องใช้ SPF สูงนัก
 
แต่....มันก็มีปัจจัยอะไรหลายๆอย่างเช่น...กันแดดไม่ได้สักยันต์...ไม่ได้มีตะกรุด...ท่องคาถาไม่เป็น....เพราะฉนั้น....กันแดดมันไม่ได้หนังเหนียว...กันแดดสามารถเปลี่ยนแปลงไปได้ และ มีผลต่อการออกฤทธิ์ของยากันแดด เช่น การทา การสวมใส่เสื้อผ้า เหงื่อออก ลม ฝน การว่ายน้ำ ฯลฯ
 
และ มี ความจริงที่ว่า...กันแดดที่มีค่า SPF สูงนั้น จะมีประสิทธิภาพในการกันแสงแดดในช่วงยูวีเอ โดยเฉพาะยูวีเอ II ที่ดีขึ้น ซึ่งรังสีตัวนี้ทำให้เกิดการเสื่อมของผิวหนังได้มาก นอกจากนั้นการหาค่า SPF จะเป็นการหาค่าในห้องทดลอง ซึ่งเมื่อนำยากันแดด มาใช้ในชีวิตจริงจะพบว่ามีค่า SPF น้อยกว่าที่ระบุเสมอ ทั้งนี้เพราะมีปัจจัยต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลง
 
จึงแนะนำว่าควร ใช้ยากันแดดค่า SPF สูง (15 ขึ้นไป) ในกรณีที่ต้องตากแดด เป็นเวลานานติดต่อกันและใช้ค่า SPF ต่ำ ในกรณีที่โดนแดดเป็นครั้งคราวระหว่างวันค่ะ
 
 
 
 
ถ้า SPF กัน  UV-B แล้ว   UV-A หล่ะ??
 

อย่างที่หลายๆคนอาจจะเคยเห็นหรือได้ยินคำว่า PA ที่อยู่บนขวดกันแดดยี่ห้อต่างๆของญี่ปุ่น นั่นแหละคือเจ้าตัวนี้...
 
 
Proflie: PA
 
ชื่อจริง = Protection of UV-A หรือแปลเป็นไทยคือ ค่าการวัดการปกป้องรังสี UV-A
ความสามารถพิเศษ = วัดการเปลี่ยนแปลงของเม็ดสีในผิว skin pigmentation หรือวัดความ ดำของผิวที่เปลี่ยนแปลงไป หลังจากสัมผัสกับ UV-A
 
โดยตัวบ่งชี้ค่าของการวัดการปกป้องของผลิตภัณฑ์แต่ละตัวจะเป็นช่วง ตั้งแต่ 1 - 8
โดยค่า 1 หมายถึงมีการปกป้องน้อยที่สุด และ 8 มากที่สุด
 
ประเทศญี่ปุ่นเป็นผู้ริเริ่มนำ ค่า PA มาใช้และแพร่หลายอยู่ในเอเชีย ค่า PA จะสัมพันธ์กับเครื่องหมาย + ค่ะ

PA+     =     1-3

PA++    =     4-5

PA+++   =     6-8
 
 
**PA ไม่ใช่ค่ามาตรฐานทั่วไป ดังนั้นคุณจะพบ PA ได้ในกันแดดที่มาจากญี่ปุ่น หรือว่าจากบางประเทศในแถบเอเชียเท่านั้นค่ะ***
 
 
 
 
สรุปบทความ

อ่านกันมายาวๆอาจจะงงกันเอาสั้นๆง่ายๆละกันเน้อะ.....
 
สรุป แ้ล้วก็คือ ในกรณีที่ทากันแดดอย่างทั่วถึง (ในความหนา 2 มิลลิกรัมต่อพื้นที่ผิวหนังหนึ่งตารางซม.)
 
จะต้องใช้เวลาตากแดดเพิ่มขึ้นถึง 15 เท่า จึงจะทำให้ผิวไหม้แดง......เช่น
ใน ความเป็นจริงจริง ถ้าอยู่กลางแสงแดดจัด เวลาเที่ยง บริเวณชายทะเลในเวลาประมาณ 15 นาที จะทำให้ผิวหนังแดงได้......ถ้าทากันแดดที่มีค่า SPF 15 อย่างทั่วถึง จะใช้เวลาเพิ่มขึ้น 15 เท่า ผิวถึงจะเกิดอาการไหม้แดง = 15x15 คือ 225 นาที หรือ 3 ชม. 45 นาที.......แต่
 
เนื่อง จากในการทดสอบกันแดดทำขึ้นในห้อง LAB โดยใช้หลอดไฟเลียนแสงอาทิตย์ซึ่งมีการควบคุมอุณหภูมิ, ความชื้นและการเคลื่อนไหวของผู้ทำการทดสอบ ทำให้ค่าที่ทดสอบได้มักจะสูงกว่าการใช้จริง ดังนั้นในความเป็นจริงอาจจะเป็นเวลาแค่ 2/3 ของเวลาที่ทดสอบ คือประมาณ 2 ชม.
 
SPF บอกค่ากันรังสียูวีบี ไม่ได้บอกว่ากันแดดนั้นสามารถกันรังสียูวีเอได้แต่ประการใด
PA บอกค่ากันรังสียูวีเอ แต่ว่าถ้าไม่ได้เขียนไว้ก็ไม่ได้หมายความว่ากันแดดนั้นจะไม่ดี เพียงแต่หมายความว่าผู้ซื้อต้องมีความรู้เพียงพอในการที่จะเลือกดูกันแดดที่ สามารถกันรังสียูวีเอได้ โดยต้องอ่านจากสารประกอบสำคัญที่เขียนไว้ที่ฉลาก
 
 ถึง จะมีกันแดดที่มีค่า SPF หรือ PA สูงๆ ก็ไม่ได้หมายความว่าจะดีเสมอไป....เพราะว่าถ้าทาน้อยกว่าปริมาณที่ควร มันก็กันได้น้อยกว่าตัวเลขที่กำหนดไว้อยู่ดี
 
อย่างที่บอกว่า.....กันแดดไม่ได้สักยันต์...ไม่ได้มีตะกรุด...ท่องคาถาไม่เป็น....เพราะฉนั้น....กันแดดมันไม่ได้หนังเหนียวเพราะ ฉนั้นข้อเสียอีกประการนึงของการที่มีค่า SPF สูง ๆ คือว่าทำให้คนใช้กันแดดนั้นๆ หลงผิด คิดว่ามันกันแดดได้ยาวนาน โดยไม่คำนึงถึงว่ากันแดดมีการหลุดออกจากผิว เพราะเหงื่อ และการเสียดสีของผิว ดังนั้นการใช้กันแดดที่มีค่า SPF สูงๆอาจจะส่งผลเสียให้ผิวเสียได้เนื่องจากว่าผู้ใช้มั่นใจเกินไป ไม่ยอมทาซ้ำ มีรายงานจากหลายประเทศระบุค่อนข้างชัดเจนว่า ผู้ใช้ที่ใช้กันแดดค่า SPF สูงมากๆนั้นมักจะเข้าใจผิด และทำให้อยู่กลางแดดนานเกินควร ซึ่งส่งผลให้ผิวเสียและเป็นมะเร็งผิวหนังได้ (เนื่องจากความเข้าใจผิด คิดว่ากันแดดเป็นโล่ป้องกันแสงได้ ซึ่งไม่จริงเลย มันเสื่อมสลายได้) กันแดดไม่ใช่กาว ทาแล้วก็หลุดลอกได้บ้าง ดังนั้นควรทาซ้ำทุกๆ 1- 2 ชม ถ้าคุณต้องออกกลางแดดนานๆ
 
 
สำหรับ ข้อมูลนี้ส่วนหนึ่งมาจากการประชุมของสมาคมศิษย์เก่าสถาบันโรคผิวหนัง โดยมีอาจารย์จิโรจ สินธวานนท์ เป็นผู้บรรยาย..และ..ข้อมูลหลักโดยบทความจาก นพ.ประวิตร พิศาลบุตร


Kapukluky

Kapukluky

ชื่อ แพม นะคะ

ยินดีที่ได้รุ้จักชาว Jeban ทุกๆท่าน และ ฝากตัวด้วยนะคะ...มีอะไรช่วยชี้แนะด้วยค่ะ

Add แพมมาในเ Facebook ได้นะคะ แต่รบกวน message มาบอกแพมนิดนึงว่าเป็นชาว jeban ค่ะ เพราะบางทีเจอมาโพสอะไรก็ไม่รุ้ไว้หน้า profile เต็มไปหมด

Blog: แพมจะใช้แต่ชื่อ Kapukluky อย่างเดียวนะคะ....ถ้าเจอคนแอบอ้าง รบกวนบอกมาบอกแพมนิดนึงเน้อะ

Exteen : http://kapuklukyme.exteen.com

Facebook :
/http://www.facebook.com/kapukluky

https://www.facebook.com/pages/Cosme-Bunny/526006684101243

Twitter : @kapukluky

FULL PROFILE