PHA สารผลัดผิวฉบับอ่อนโยน ที่คนแพ้ง่ายใช้ได้ | Jeban x SkinX

by

DaisyOfficial

PHA คืออะไร?

PHA หรือ Polyhydroxy acids เป็นอนุพันธ์ของ AHA แต่แตกต่างด้วยมีขนาดโมเลกุลที่ใหญ่กว่า มีความสามารถในการละลายน้ำน้อยกว่า AHA แต่ช่วยลดการระคายเคืองได้เป็นอย่างดี

PHA ช่วยแก้ปัญหาผิวอะไรได้บ้าง ?

PHA ช่วยผลัดเซลล์ผิวสำหรับคนผิวบอบบาง แพ้ง่าย โดยไม่ก่อให้เกิดอาการผื่นผิวหนังอักเสบ (Contact Dermatitis) และมีการไวต่อแสงแดด (Photosensitise) ที่น้อยกว่าสารผลัดผิวชนิดอื่นๆ

PHA เหมาะกับใคร?

PHA เป็นสารธรรมชาติที่เหมาะกับผิวแพ้ง่ายมากที่สุด เพราะไม่ทำปฏิกิริยามากเกินไป แต่ยังมีความสามารถในการผลัดเซลล์ผิวออกมาได้ดี คล้ายกับกรดผลไม้ชนิดอื่น

PHA มีการทำงานกับผิวยังไง?

PHA จะทำปฏิกิริยากับเซลล์ผิวชั้นนอก ช่วยในเรื่องผลัดเซลล์ผิวด้วยคุณสมบัติในการละลายน้ำที่น้อยกว่าตัว AHA

แม้ประสิทธิภาพในการผลัดเซลล์ผิวอาจจะไม่ได้เก่งเหมือนกับ AHA แต่การระคายเคืองจะน้อยกว่า ข้อดีคือไม่มีปฏิกิริยามากเกินไป แต่ยังมีความสามารถในการผลัดเซลล์ออกมาได้เหมือนกัน

สภาพผิว และปัญหาผิวแบบไหนควรเลี่ยง PHA

  • PHA ใช้ได้กับทุกสภาพผิว
  • หากเป็นคนผิวธรรมดา การใช้ PHA อาจจะอ่อนไป จนอาจจะเห็นผลลัพธ์ที่เกิดกับผิวได้น้อย ผิวธรรมดาจึงอาจจะเหมาะกับ AHA มากกว่าเพราะช่วยให้การผลัดเซลล์ผิวทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วิธีการใช้ PHA

สำหรับคนที่ผิวบอบบางแพ้ง่าย มักเกิดอาการแดง ผด คัน ที่หน้าตลอดเวลา วิธีทดสอบง่ายๆ ให้ทาครีมไว้ที่หลังมือ หรือบริเวณท้องแขนทิ้งไว้ 20-48 ชั่วโมง เพื่อทดสอบดูว่ามีผื่นแดงเกิดขึ้นหรือไม่ เพราะในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้แพ้ตัวสารในเครื่องสำอาง แต่อาจจะแพ้ส่วนผสม เช่น สารกันบูด พาราเบน น้ำหอม ที่ทำให้เกิดอาการแพ้ได้เหมือนกัน

PHA สามารถใช้ หรือควรใช้ควบคู่กับส่วนผสม (ingredient) อื่นๆ ตัวไหนบ้าง?

PHA คืออนุพันธ์ของ AHA ที่ถูกลดระดับความเข้มข้นลงมาอยู่ที่ 60-70 % จากตัวปฏิกิริยาที่ค่อนข้างจะน้อยกว่า AHA หรือว่าผลัดเซลล์ผิวได้น้อยกว่า แต่ก็ยังเป็นส่วนผสมที่แนะนำสำหรับคนผิวแพ้ง่ายเป็นหลัก เพราะข้อดีคือช่วยการผลัดเซลล์ผิวแบบอ่อนๆ และมีผลข้างเคียงต่อผิวที่น้อยมาก

PHA ควรหลีกเลี่ยงใช้คู่กับส่วนผสม (ingredient) ตัวใดบ้าง?

สารในกลุ่มที่ควรเลี่ยงเมื่อใช้ PHA อยู่ จะเป็นกลุ่มสารกลุ่มวิตามิน A, Ratinoid และวิตามิน C หรือกลุ่มที่ใช้ AHA บางตัวที่มีระดับความเข้มข้นสูง ดังนั้นหากมาใช้คู่กับ PHA อีก คนที่มีผิวบอบบางอาจจะรับไม่ไหวจนเกิดการระคายเคืองได้

PHA ใช้นานแค่ไหนถึงจะเห็นผล?

ปริมาณการใช้ PHA จะคล้ายกับ AHA แต่เวลาอาจจะนานกว่า เพราะประสิทธิภาพของ PHA จะลดลงมาอยู่ที่ 60-70 % จากตัวปฏิกิริยาที่ค่อนข้างจะน้อยกว่า หรือว่าผลัดเซลล์ผิวได้น้อยกว่านั่นเอง

ข้อดีของการผลัดเซลล์ผิวแบบอ่อนๆ คือผลข้างเคียงจะมีน้อยมาก การใช้ในครั้งแรกควรเริ่มที่ความเข้มข้นต่ำๆ ก่อน หลังจากใช้ไปสัก 2 อาทิตย์ จึงค่อยๆ เพิ่มความเข้มข้นขึ้นได้

ผลข้างเคียงของการใช้ PHA

ผลข้างเคียงของการใช้ PHA จะน้อยกว่ากรดผลไม้ชนิดอื่น เพราะ PHA โมเลกุลค่อนข้างใหญ่ กลุ่มอาการ Contact Dermatitis หรืออาการแห้ง แดง แสบ คัน จากผื่นผิวหนังอักเสบจึงเกิดขึ้นได้น้อย แล้วอาการที่เรียกว่า Photosensitise หรือการไวต่อแสงแดด ที่มักเจอในส่วนผสมที่เป็นกรดผลไม้ก็จะเกิดอาการได้น้อยกว่าด้วย

วิธีการเก็บรักษา?

วิธีการเก็บรักษาเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของ PHA ใช้วิธีการเก็บรักษาคล้ายกับกรดผลไม้ตัวอื่น คือเก็บได้ในอุณหภูมิห้อง และไม่จำเป็นต้องแช่ในตู้เย็น

ข้อแตกต่างของ PHA กับส่วนผสม (ingredient) ที่คุณสมบัติใกล้เคียง

  • PHA เหมาะกับคนผิวบอบบางแพ้ง่าย
  • BHA ที่เหมาะกับคนที่หน้ามัน ต้องการกระชับรูขุมขน
  • AHA เหมาะสำหรับคนผิวธรรมดา ช่วยเรื่องหน้าใส ลดฝ้า ลดกระ และลดริ้วรอยหย่อนคล้อยเล็กๆ
  • PHA เหมาะกับผิวแพ้ง่ายมากที่สุด
  • ข้อดีคือช่วยผลัดเซลล์ผิวแบบอ่อนๆ จึงเหมาะสำหรับคนผิวบอบบาง ผลข้างเคียงจะมีน้อยมาก ไม่ก่อให้เกิดอาการผื่นผิวหนังอักเสบ และการไวต่อแสงแดด
  • การใช้ในครั้งแรกควรเริ่มที่ความเข้มข้นต่ำๆ ก่อน หลังจากใช้ไปสัก 2 อาทิตย์ จึงค่อยๆ เพิ่มความเข้มข้นขึ้นได้ หากไม่มั่นใจให้ทดสอบทาครีมไว้ที่หลังมือ หรือท้องแขนทิ้งไว้ 20-48 ชั่วโมง เพื่อดูว่ามีผื่นแดงเกิดขึ้นหรือไม่
  • ไม่ควรใช้ PHA ร่วมกับสารในกลุ่มวิตามิน A, Ratinoid และวิตามิน C ที่มีความเข้มข้น เพราะผิวที่บอบบางอยู่แล้วอาจจะรับไม่ไหว

มีเรื่องผิวกวนใจ ปรึกษาปัญหาด้านผิวหนัง ได้ทุกเรื่อง ได้ทุกที่

กับคุณหมอผู้เชี่ยวชาญ SkinX แอปพบแพทย์ผิวหนังออนไลน์

daisy-skinx.png

ขอบคุณข้อมูล :
แพทย์หญิงชวพร สุดโนรีกุล แพทย์ผิวหนังโรงพยาบาลสมิติเวช