บอกเล่าสู่กันฟัง: ตัวตนของ Queen Elizabeth ในชีวิตจริง

39 13

ทัศนคติในการมองโลกในแง่ดี
นอกจากการมุ่งมั่นต่อหน้าที่รับใช้ประชาชน  หลายฝ่ายเห็นพ้องต้องกันว่า scandal ที่โหมกระหน่ำราชวงศ์บริทิชซ้ำแล้วซ้ำเล่าถือเป็นภาระหนักหนาสำหรับสมเด็จพระราชินีที่พยายามประคับประคองสถาบันให้ขับเคลื่อนไปสู่ความรุ่งเรือง หลีกเลี่ยงความมัวหมองที่จะก่อให้เกิดกระแสต่อต้านจากสาธารณชน  ในขณะที่ท่านยังคงครองภาพของราชินีผู้ไร้ที่ติได้ตลอดช่วงเวลาการครองราชย์ แต่ก็ไม่เคยห่างหายไปจากข่าว กอสสิปที่ปรากฏบนแทบลอยด์   ทุกครั้งที่เชื้อพระวงศ์ต้องเผชิญแรงกดดันจากข้อกล่าวหาพฤติกรรมผิดศีลธรรมหรือปมความขัดแย้งต่างๆ ผู้คนจำนวนไม่น้อยก็มีทีท่าเรียกร้องให้ท่านแสดงความรับผิดชอบในฐานะประมุขราชวงศ์  และนั่นทำให้มีการจินตนาการภาพของราชินีผู้เต็มไปด้วยความเคร่งเครียด   ชีวิตคู่ที่ตกเป็นข่าวฉาวโฉ่ของเจ้าชายและเจ้าหญิงผู้เป็นทายาท ก็เคยทำให้ท่านเผยความรู้สึกออกอย่างเป็นทางการในปี 1992 ว่านี่เป็น Annus Horribilis หรือเป็นปีที่ย่ำแย่  และนั่นทำให้หลายคนเกิดมุมมองใหม่ต่อสมเด็จพระราชินี เมื่อท่านยอมรับตรงๆว่า รู้สึกทุกข์ใจเพราะวิกฤติปัญหาครอบครัว  จากที่ครองภาพลักษณ์ผู้นำราชวงศ์ที่แข็งแกร่ง แต่ก็มีโมเมนท์ที่รู้สึกว่า 'จนมุม' เช่นกัน
แม้สื่อจะล้ำเส้นถึงขนาดดักฟังโทรศัพท์เชื้อพระวงศ์ชั้นสูงเพื่อนำข้อมูลมาจุดประเด็นฉาวให้ใหญ่โตระดับโลก  แต่สมเด็จพระราชินีก็เพียงแต่แนะว่า  การวิพากษ์วิจารณ์ช่วยให้เกิดผลดีต่อบุคคลและสถาบันที่ดำเนินไปท่ามกลางสายตาสาธารณชน ไม่ว่าจะเป็นบ้านเมืองหรือราชวงศ์ใดก็ตาม ก็ไม่ควรจะมีข้อยกเว้นเพื่อหลบเลี่ยงการตรวจสอบจากผู้คน

"แต่เราต่างก็เป็นส่วนหนึ่งในสังคม การจ้องโจมตีจะเกิดประสิทธิผลขึ้นมาได้ หากวิจารณ์ด้วยความละมุนละม่อมสักันกนิด ใช้อารมณ์ขัน และวิจารณ์ด้วยความเข้าใจกัน"


ผ่านเข้าสู่ปี 2022 พายุข่าวฉาวก็ยังโหมกระหน่ำราชวงศ์บริทิชไม่หยุดหย่อน ทั้ง sex scandalของเจ้าชาย Andrew (ซ้ำร้ายยังมีเสียงร่ำลือมานานว่าเป็นเป็นโอรสคนโปรดของท่าน) และความร้าวฉานภายในที่ทำให้เจ้าชาย Harryและชายาถอนตัวออกจากราชวงศ์ ตามมาด้วยการให้สัมภาษณ์เปิดใจกับสื่ออเมริกันจนสังคมวิจารณ์อื้ออึง แต่มีผู้ที่เชื่อว่า ด้วยประสบการณ์ที่ท่านต้องรับมือกับแรงกดดันหลายด้านได้หล่อหลอมให้เกิดความเยือกเย็นในการแก้ไขปัญหา แม้จะไม่สามารถลบความมัวหมองไปได้หมดก็ตาม

หลายสื่อฟันธงว่า ต้นเหตุของความทุกข์ร้อนของท่านล้วนแต่เกิดจากพฤติกรรมของทายาททั้งสองรุ่น แต่หลายคนก็ยอมรับว่า ท่านใช้ชีวิตที่ยืนยาวอย่างเต็มที่จริงๆ เพียงไม่กี่วันก่อนที่ท่านจะจากโลกนี้ไป นักบวชที่ได้เข้าเฝ้าก็ได้พรรณนาถึงท่าทางที่เต็มไปด้วยความสดใสมีชีวิตชีวา

"สำหรับบุคคลในวัยขนาดท่าน ทั้งมีความทรงจำเป็นเลิศและสามารถหัวเราะได้จากใจจริง ใช้เวลากับครอบครัวอย่างสำราญใจ ท่านเป็นมิตรสหายที่ยอดเยี่ยม"


บาทหลวง Iain Greenshield ได้รับฟังเรื่องราวต่างๆจากสมเด็จพระราชินี ทั้งความรักผูกพันกับปราสาทBalmoral, เสด็จพ่อและเสด็จแม่ของท่าน, เจ้าชายPhilip, ม้าหลายตัว(รวมถึงตัวที่ท่านเป็นเจ้าของเมื่อสี่สิบปีก่อน) และพูดคุยออกรสถึงเรื่องศาสนจักรและความเป็นไปในประเทศชาติ นั่นก็หมายความว่า สถานะบุคคลแห่งสาธารณชนอาจจะทำให้ท่านต้องรู้สึกเหน็ดเหนื่อยกับการกรับมือกับปัญหาครอบครัว แต่เมื่อเข้าใกล้สู่วันสุดท้ายของชีวิต ท่านก็ยังคิดคำนึงถึงช่วงเวลาดีงาม และให้ความสำคัญกับสิ่งที่เป็นปัจจุบัน

"เมื่อสุภาพสตรีที่ดูเปราะบางผู้นี้ได้ก้าวเข้ามา แต่ท่านก็ยังคงไว้ซึ่งตัวตนเดิมที่เคยเป็น และทำให้คุณรู้สึกผ่อนคลายได้ทันที ท่านกระตือรือร้นในการสร้างบทสนทนาและส่งรอยยิ้มที่สดใส ท่านมีคุณสมบัติทุกอย่างที่คุณจะคาดหวังจะได้พบเห็นจากกษัตริย์"

หนึ่งในกลุ่มคนที่รู้สึก shock กับความสูญเสียครั้งนี้คือ Boris Johnson  อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษที่เพิ่งจะได้สนทนากับสมเด็จพระราชินีเพียง 48 ชั่วโมงก่อนจะที่ท่านจะจากโลกนี้ไป  เพราะแม้ว่าสุขภาพของท่านจะดูเปราะบางลงไปอย่างเห็นได้ชัด  แต่ท่านก็มีท่าทางเบิกบานและใส่ใจอย่างแรงกล้าในทุกประเด็นสังคมที่สำคัญ  พวกเค้าแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องภูมิศาสตร์การเมืองโลก การเมืองอังกฤษ และท่านยังยกคำพูดของรัฐบุรุษจากยุค 50sมาประกอบบทสนทนา    และทำให้เขาเชื่อว่า ท่านสามารถเผยถึงความแจ่มใสถึงเพียงนี้ ทั้งที่สุขภาพร่างกายได้ทรุดโทรมลงตามอายุขัยใกล้จนถึงวันสุดท้ายของชีวิต เป็นสิ่งที่เกิดจากความมุ่งมั่นต่อหน้าที่ของท่านนั่นเอง





ราชินีผู้เปี่ยมไปด้วยอารมณ์ขัน

ภาพลักษณ์ของสมเด็จพระราชินี Elizabeth ที่ปรากฏต่อสาธารณชนนั้นเต็มไปด้วยความสำรวมและมีออร่าความสง่างามแบบสตรีทรงอิทธิพลของโลก เรามักจะได้ยินเสียงครหาว่าท่านเก็บรักษาอารมณ์ความรู้สึกที่แท้จริงไว้ภายในจนดูเย็นชาและส่งรอยยิ้มแบบนักการทูตมากหลายครั้งหลายครา มันอาจสร้างความประหลาดใจให้กับหลายคนหากได้ค้นพบว่า Miss Piggy คือชื่อเล่นที่สมเด็จพระราชินีชื่อก้องโลกได้เลือกใช้ล้อเลียนตัวเอง และมันกลายเป็นมุกตลกสำหรับวงในรั้วพระราชวังมาหลายทศวรรษ ยืนยันได้จากอดีตสารถีรถม้าที่เล่าเหตุการณ์ที่เหล่าสต๊าฟฟ์จากคอกม้าของราชวงศ์ได้ร่วมกันลงชื่อในการ์ดอวยพรวันประสูติครบห้ารอบของท่านด้วยการบรรยายถึง Miss Piggy (ตัวละครดังจาก the Muppets) พวกเค้าได้รอคอยด้วยใจตุ้มๆต่อมๆว่าสมเด็จพระราชินีจะ'อิน' กับ ่joke วงในนี้หรือไม่ แต่ก็โล่งไปหมดเมื่อพบว่าแม้ว่าจะอยู่ระหว่างการนั่งรถม้าไปตามถนนใน Windsor ท่ามกลางการจ้องจับตามองจากผู้คน ท่านหัวเราะชอบใจกับการ์ดอวยพรนี้ไปตลอดทาง

การวางตัวให้สงบนิ่งได้ทุกสถานการณ์ถือเป็นหนึ่งในธรรมเนียมปฏิบัติสำคัญของราชวงศ์อังกฤษมาเนิ่นนาน  แม้จะไม่มีถ้อยแถลงเป็นทางการจากสมเด็จพระราชินี Elizabeth แต่ผู้เชี่ยวชาญเรื่องประวัติศาสตร์ราชวงศ์หลายคนก็มักจะยกคติที่ว่า Never complain, never explain มาบรรยายถึงวิถีการวางตนของท่านอยู่เสมอ   แต่เมื่อใดก็ตามที่ท่าได้เผยด้านที่แตกต่างจาก motto นี้ก็จะมีคนตาไวชี้ให้เห็นเป็น amazing moment   ดังกรณีของพิธีเสกสมรสของเจ้าชาย Charles (ปัจจุบันคือกษัตริย์ Charles)กับเจ้าหญิง Diana  ในขณะที่วาทยากรกำลังเพริดแพร้วไปกับบทเพลงอันเปี่ยมไปด้วยอารมณ์ซาบซึ้งและอินจนเหวี่ยงมือไปชนกับโคมไฟสีแดงล้มคว่ำต่อหน้าเชื้อพระวงศ์ชั้นสูงทั้งหลาย  กล้องจับภาพความเหวอนั้นไว้ไม่ทัน แต่กลับซูมไปที่สมเด็จพระราชินีที่พยายามกลั้นหัวเราะไว้อย่างเต็มที่และแทบจะหลุดขำออกมาแล้ว

อย่างไรก็ตาม  ฉายา stiff upper lip  ที่สื่ออังกฤษมักจะใช้เปรียบเทียบกับภาพลักษณ์องค์ราชินีมาตลอดหลายสิบปีนั้นดูสวนทางกับท่าทางของท่านในช่วงหลังๆ   และทำให้หลายฝ่ายเชื่อว่า   นี่คือการปิดฉากธรรมเนียมแห่งการวางเฉยในทุกกรณี  แม้ว่าราชวงศ์อังกฤษจะเผชิญกับดราม่าเข้าขั้นวิกฤติความนิยมเสื่อมถอย  แต่ภาพของสมเด็จพระราชินีที่ถ่ายทำหนังสั้นกระโดดจากฮ.ร่วมกับสายลับ 007 สู่พิธีเปิดLondon 2012 Olympics    และดื่มชากับหมีPaddington เพื่อฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี หรือแม้แต่ตอนที่ท่านแสดงความตื่นเต้นเมื่อได้เห็นวัวตัวเป็นๆในขบวนแห่เฉลิมพระชนมพรรษาครบ 90 พรรษาก็กลายเป็น  viral ที่พิสูจน์ว่า   ท่านไม่ได้เย็นชาตามเสียงเล่าลือ   สอดคล้องกับคำพูดของเจ้าชาย William  รัชทายาท gen ใหม่ที่ได้ประกาศไว้ว่า ธรรมเนียม stiff upper lip  หรือการเก็บกดความรู้สึกไว้ภายในได้หมดสมัยไปแล้ว     
ย้อนไปในการเยี่ยมเยียนเครือจักรภพที่New Zealand เมื่อปี 1986  บรรยากาศอันอบอุ่นจากฝูงชนที่มารวมตัวต้อนรับสมเด็จพระราชินีและพระสวามีถูกแทนที่ด้วยความความช็อคเมื่อผู้ต่อต้านราชวงศ์ถลาเข้ามาปาไข่ใส่จนโค้ทของท่านเปรอะเปื้อน   ท่านดูตื่นตะลึงไปชั่วขณะแต่ก็รวบรวมสติได้ในทันที    ผู้นำประเทศ New Zealandได้ประกาศเป็นตัวแทนพรรคแรงงานและประชาชนเพื่อขออภัยต่อสิ่งที่เกิดขึ้น  และหาตัวผู้ทำผิดมาลงโทษได้อย่างรวดเร็ว  แต่คงไม่มีใครคาดคิดว่าในงานเลี้ยงต้อนรับยามเย็น  สมเด็จพระราชินีจะ'โต้กลับ'เหตุการณ์นี้ด้วยอารมณ์ขัน

"เห็นได้ชัดเจนว่า New Zealand มีชื่อเสียงเรื่องผลิตภัณฑ์นมเนย แต่ถึงกระนั้น เราต้องขอบอกว่า เราชื่นชอบไข่จาก New Zealand สำหรับมื้อเช้ามากกว่า"


สถานะ global icon ของสมเด็จพระราชินี Elizabeth ที่ถูกถ่ายทอดผ่านผลงาน animation มักจะเป็นภาพของสตรีสูงศักดิ์ที่เปี่ยมไปด้วยอารมณ์ขันเจ็บๆแสบๆ   และมีเสียงเลื่องลือมาเนิ่นนานว่า  เบื้องหลังจริยวัตรงามสง่า    ท่านได้สร้างความครื้นเครงให้กับเหล่าคนสนิทและผู้ที่มีโอกาสได้เข้าเฝ้าด้วยความขำขันที่คนนอกคาดไม่ถึง   ดังที่มุขมนตรี Ian Paisley   ยืนยันว่า สมเด็จพระราชินีสามารถเลียนแบบท่าทางการพูดของเขาได้เหมือนเป๊ะ หรือจะเป็นอนุศาสนาจารย์ Michael Mann ผู้ล่วงลับที่เผยประสบการณ์ว่า  ท่านทำเสียงเครื่องบิน Concordeในขณะร่อนลงจอดได้ตลกอย่างที่สุด

Rowan Williams อดีตอาร์ชบิชอปแห่งCanterbury (ผู้นำหลักของคริสตจักรแห่งอังกฤษ) ได้บรรบายความรู้สึกที่มีต่อสมเด็จพระราชินีไว้ว่า

"ท่านเป็นผู้ที่มีความเป็นมิตร และมีความเป็นกันเอง เบื้องหลังท่านตลกอย่างล้นเหลือ ไม่ใช่ทุกคนที่รู้ว่าท่านมีความตลกได้มากแค่ไหน ท่านเป็นได้ทั้งฝ่ายที่หยอกเย้าคนอื่นและรับมือกับการถูกล้อเลียนได้สบายๆ"




หลังจากที่สมเด็จพระราชินีสวรรคต เหล่าคนสนิทรวมไปถึงประชาชนที่เคยเข้าเฝ้าก็ร่วมแชร์ประสบการณ์แสนประทับใจในหัวข้อเดียวกัน นั่นคืออารมณ์ขัน  แม้จะเป็นอีเวนท์เป็นทางการ ท่านสามารถปรับเปลี่ยนบรรยากาศให้ผ่อนคลายด้วยคำพูดหยอกล้อเรียกเสียงหัวเราะจากคนรอบข้าง   แตกต่างไปจากชื่อเสียงราชินีผู้แสนเย็นชาที่สื่อเคยวิจารณ์ไว้อย่างชัดเจน

ครั้งหนึ่ง สมเด็จพระราชินีได้เสด็จจากปราสาท Balmoral พร้อมกับบอดี้การ์ดเพื่อเดินเล่นในบริเวณใกล้ๆแล้วพบกับนักท่องเที่ยวอเมริกันสองคน แต่พวกเค้ากลับจำท่านไม่ได้ แต่คิดว่าเป็นสุภาพสตรีสูงอายุธรรมดา พแล้วเริ่มบทสนทนาด้วยการไถ่ถามว่า บ้านของท่านอยู่แถวนี้หรือที่ไหน? ท่านได้ตอบกลับไปว่า ท่านอาศัยที่ London แต่มีบ้านพักตากอากาศที่ชายเขาซึ่งท่านได้แวะเวียนมาพักตั้งแต่ยังเป็นเด็กหญิง แต่ไม่ได้ขยายความว่า บ้านพักที่ว่าคือปราสาท Balmoralอันโด่งดังแห่ง Aberdeenshire และเมื่อได้รับรู้ว่าท่านพักอยู่แถวนี้เป็นประจำ นักท่องเที่ยวจึงถามต่อไปว่า "เคยเห็นสมเด็จพระราชินีตัวจริงหรือเหล่า?" และได้รับคำตอบอย่างฉับไวว่า 'ไม่เคยเห็นนะ แต่ Dick(บอดี้การ์ด)พบเธอเป็นประจำ" ไม่เพียงเท่านั้น นักท่องเที่ยวทั้งสองยังยื่นกล้องให้ท่านถ่ายรูปให้พวกเค้าเป็นที่ระลึกอีกด้วย! บอดี้การ์ดจึงอาสาถ่ายรูปให้พวกเค้าร่วมกับสมเด็จพระราชินี ท่านยังเคยเปรยกับเขาว่า
"หากโชว์ภาพนี้ให้เพื่อนๆอเมริกาดู หวังว่าคงมีใครสักคนบอกนักท่องเที่ยวสองคนนี้ว่าเราคือใครนะ"







The End


candy

candy

ติดตาม Mouth On The Web แล้วอย่าลืม Mouth On The Face นะคะ ^ ^

FULL PROFILE