เล่าเรื่องผ่านภาพแห่งความทรงจำ: Queen Elizabeth II

39 13

The Early Life
เจ้าหญิงผู้มีดวงตาสีฟ้าสดใสนามว่า Elizabeth Alexandra Mary   หรือที่เหล่าคนใกล้ชิดเรียกว่า Lilibet ได้เติบโตขึ้นมาในครอบครัวสูงศักดิ์ที่ใช้ชีวิตอย่างเงียบสงบ ไม่ได้ดึงดูดความสนใจจากสื่อมวลชนเทียบเท่าเสด็จลุง Edward  เจ้าชายแห่งWales หรือมกุฎราชกุมารผู้ทรงเสน่ห์ที่ถูกจับตามองในฐานะว่าที่กษัตริย์พระองค์ใหม่       แต่หลังจากที่พระองค์ขึ้นครองราชย์เป็นเวลา  326 วัน  โชคชะตาที่พลิกผันได้ทำให้ราชวงศ์อังกฤษต้องผลัดเผลี่ยนผู้ครองบัลลังก์    เจ้าชายAlbertพระบิดาของเจ้าหญิงที่เคยมีบรรดาศักดิ์เป็นดยุคแห่ง York ต้องรับหน้าที่ประมุขคนใหม่ของราชวงศ์ Windsor  ส่งผลให้เจ้าหญิงน้อยวัยเพียงสิบชันษากลายมาเป็นเจ้าหญิงรัชทายาท  เริ่มต้นเรียนรู้การปกครองราชวงศ์และกรณียกิจเพื่อปวงประชา    

ท่ามกลางยุคสมัยที่หมุนเวียนไป แผ่นดินผลัดเปลี่ยนผู้นำปกครองประเทศมาหลายคน  เจ้าหญิง Elizabeth ในวันนั้นได้กลายมาเป็นสมเด็จพระราชินีที่ครองราชย์นานที่สุดในสหราชอาณาจักร    ได้รับการเชิดชูจากผู้คนมากมายจากจริยวัตรอันสง่างาม รวมถึงภาพลักษณ์เสาหลักที่สร้างความมั่นคงให้กับราชวงศ์อังกฤษ    คงไม่น่าแปลกใจว่าหลังจากที่พระองค์จากไปอย่างสงบเมื่อวันก่อน  สังคมจะคอยจับจ้องสถาบันแห่งนี้ว่าจะมีทิศทางแปรเปลี่ยนไปทางใด


เมื่อครั้งที่พระองค์ยังเป็นเจ้าหญิงได้ส่งจดหมายขอบคุณไปถึงเด็จย่าหรือสมเด็จพระราชินี Mary ที่ได้ประทานบ้านตุ๊กตาให้กับพระองค์ และลงท้ายจดหมายด้วยนาม Lilibet ที่แสนน่ารัก   มีรายงานว่า ที่มาของชื่อเล่นอันนี้มาจากการออกเสียงที่ไม่ชัดของพระองค์เมื่อยังทรงเยาว์วัยนั่นเอง

ผู้คนในยุคปัจจุบันอาจจะจิตนาการความสัมพันธ์ของสมเด็จพระราชินี Elizabeth กับเจ้าหญิง Margaret จากบทซีรีส์ The Crown ที่เขียนขึ้นจากจินตนาการ และข่าวลือมากมายจากสื่อแทบลอยด์ แต่เพื่อนสนิทของเจ้าหญิงพระองค์น้องได้ยืนยันว่า ทั้งสองติดต่อกันทางโทรศัพท์แทบทุกวัน ทั้งgossipและหัวเราะร่วมกันอย่างสนุกสนาน มีทั้งความรัก มิตรภาพ และขัดแย้งกันบ้างไม่ต่างจากพี่น้องคนอื่น


ความผูกพันของผู้สูงศักดิ์ทั้งสองมีมากมายแค่ไหน? ย้อนไปเมื่อปี 2002 หลังจากเจ้าหญิง Margaret ได้จากโลกนี้ไปด้วยโรคหลอดเลือดสมอง สมเด็จพระราชินี Elizabeth ก็ได้หลั่งน้ำตาด้วยความโศกาอาดูรในพิธีฝังศพเจ้าหญิงผู้น้องที่รัก และภาพนี้ได้สร้างความตกตะลึงให้กับผู้คนมากมายที่คุ้นเคยกับการวางองค์ด้วยความนิ่งเฉยสำรวม  แม้ในสถานการณ์แห่งความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ก็มิได้เปิดเผยความรู้สึกที่แท้จริงภายใน  แต่นี่อาจจะเป็นข้อยกเว้นที่ยากจะได้เห็น

Royal  makeup

เพียงน้อยครั้งที่เราจะได้เห็นสมเด็จพระราชินี  Elizabeth  ในลุค glamorous ด้วย makeup จัดเต็ม แต่โฟกัสที่การนำเสนอ natural beauty      เมื่อได้ก้าวสู่วัย  20 เต็มตัว ก็ทรงเผยถึงเทรนด์การแต่งหน้าในยุค 40s  

อีกด้านเลิศหรูของเจ้าหญิงรัชทายาท เจ้าหญิง Elizabeth กำลังเต้นรำกับนักการหนุ่มผู้หล่อเหลาจาก South Africa ใน party เฉลิมฉลองครบ 21ชันษาระหว่างเยือนเมือง Capetown ภาพนี้ดูงดงามราวกับฉากในซีรีส์พีเรียดเลยทีเดียว



The Royal Bride

เรื่องราวรักแรกและรักเดียวของสมเด็จพระราชินี  Elizabeth  นั้นสร้างความประทับใจผู้คนมาแล้วมากมาย  จะมีสักกี่ครั้งที่เราจะได้เห็นเชื้อพระวงศ์ชั้นสูงที่ตกหลุมรักกันตั้งแต่ยังเป็นวัยแรกแย้มและเฝ้าฟันฝ่าอุปสรรคจนได้ครองคู่ยาวนาน ? 

พิธีเสกสมรสของเจ้าหญิงรัชทายาทผู้งดงามนั้นดึงดูดความสนใจจากสังคมจนเรียกได้ว่าเป็นปรากฏการณ์ แม้จะเป็นยุคสมัยที่ไร้ social media แต่เรื่องวิวาห์ของเจ้าชายเจ้าหญิงที่โด่งดังที่สุดในโลกก็สร้างความตื่นเต้นให้กับผู้คนถึงขั้นที่มีผู้ประพันธ์นิยายเจาะลึกเรื่องชุดเจ้าสาว!

แต่การตัดเย็บชุดเจ้าสาวงามวิจิตรในช่วงยุติสงครามโลกไปได้เพียงสองปีนั้นไม่ใช่เรื่องที่เสกกันง่ายดายเพราะความสูงศักดิ์ของเจ้าบ่าวเจ้าสาว รัฐบาลได้จัดสรรพันธบัตรสงครามหรือคูปองปันส่วน 200 ใบให้กับเจ้าหญิง Elizabeth เพื่อจัดซื้อผ้าและค่าใช้จ่ายสำหรับเนื้อผ้าอาภรณ์ชั้นดีสำหรับชุดเจ้าสาวและเพื่อนเจ้าสาว แต่ผู้หญิงอังกฤษจำนวนมากที่แสนจะยินดีปรีดากับพิธีมงคลเช่นนี้มองว่า มันอาจจะไม่เพียงพอที่จะสร้างสรรค์ชุดเจ้าสาวที่งดงามอลังการ จึงส่งคูปองของตัวเองเพื่อสมทบเพิ่มงบประมาณขึ้นไปอีก แต่การส่งต่อคูปองให้ผู้อื่นเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย คูปองเหล่านั้นจึงถูกส่งกลับพร้อมกลับโน้ตขอบคุณ แต่นั่นก็ชี้ชัดว่าประชาชนทั้งตื่นเต้นและปรารถนาจะมีส่วนร่วมกับ royal wedding มากมายแค่ไหน


ชุดเจ้าสาวแห่งประวัติศาสตร์นี้ประดับด้วยไข่มุกที่สั่งตรงจาก America ถึงหมื่นเม็ด  ช่างตัดเย็บช่วยกันปักไขมุกเป็นลายบุปผชาติบนผ้าไหมจีน ซึ่งดีไซน์นี้ได้ถือเป็นสัญลักษณ์ของการถือกำเนิดใหม่และการเจริญเติบโตของสหราชอาณาจักรหลังสงครามจบสิ้น    แต่การจัดการบริหารเวลากลับกระชั้นชิดมากถึงขั้นที่เจ้าสาวได้ลองชุดในตอนเช้าก่อนพิธีสกสมรสเพียงไม่กี่ชั่วโมง


ชุดเจ้าสาวงามวิจิตรอาจจะถือเป็นภาพที่สร้างความตื่นจาตื่นใจ แต่สิ่งที่ยังตราตรึงใจหลายคนคือชีวิตคู่ที่ยาวนาน 73 ปีของพวกท่าน   แม้ความตายที่เป็นสัจธรรมจะทำให้ทั้งคู่ต้องพรากจากกัน  และในเวลานี้พวกเราก็ต่างจินตนาการถึงภาพของการกลับมาพบกันอีกครั้ง...


The Motherhood
หนึ่งในแรงกดดันที่รัชทายาทจะต้องเผชิญมาหลายยุคสมัยคือการให้กำเนิดทายาทสืบต่อราชวงศ์   แต่พิธีเสกสมรสผ่านไปได้เพียงหนึ่งปี เจ้าหญิง Elizabethในวัย 22 ชันษาก็ให้กำเนิดเจ้าชาย Charles สร้างความยินดีปรีดาให้กับผู้สนับสนุนราชวงศ์ Windsor     และยังมีการยกกฎเกณฑ์หนึ่งที่เคยยึดถือปฏิบัติกันมา  นั่นคือการกำหนดนักการเมืองระดับสูงเพื่อมาทำหน้าสักขีพยานในการให้กำเนิดเชื้อพระวงศ์ (ว่ากันว่าเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการสับตัวทารก)  และมีรายงานว่า แม้นี่จะเป็นการให้กำเนิดทายาทที่จะเป็นลำดับต่อไปในการครองราชบัลลังก์  แต่สมเด็จพระเจ้าGeorgeที่ 6 คือผู้เปลี่ยนแปลงกฏนี้เพราะไม่ปรารถนาให้ราชธิดาทั้งสองต้องปฏิบัติตามธรรมเนียมโบราณ



เจ้าชาย Charles ที่มีวัยเพียง 3 ชันษาได้กลายมาเป็นมกุฎราชกุมารเมื่อเจ้าหญิง  Elizabeth ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระราชินีในปี 1952     การสวรรคตของพระองค์ทำให้เจ้าชาย Charles ครองสถานะรัชทายาทเวลานานที่สุดก่อนจะขึ้นครองราชย์ในประวัติศาสตร์ราชวงศ์อังกฤษ

และนี่คือถ้อยคำปิดท้ายการไว้อาลัยจากกษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักรพระองค์ใหม่

"ถึงท่านแม่อันเป็นที่รักของข้าพเจ้า เมื่อท่านได้เริ่มต้นการเดินทางครั้งสุดท้ายเพื่อไปร่วมกับท่านพ่อผู้ล่วงลับ   ข้าพเจ้าต้องการจะบอกเพียงว่า ขอบคุณ"

"ขอบคุณสำหรับความรักและการอุทิศตนให้กับครอบครัว และทำหน้าที่เพื่อประชาชาติที่อย่างมุ่งมั่นทุ่มเทมาเนิ่นานหลายปี   ขอให้การเดินทางแห่งเหล่าทูตสวรรค์ได้ขับขานบทเพลงกล่อมให้ท่านพักผ่อนด้วยเถิด"



  The Shocking Loss
ราชวงศ์อังกฤษอาจจะผ่านมรสุมที่สั่นคลอนภาพลักษณ์ความน่าเชื่อถือและความนิยมจากมวลชนมาแล้วหลายครั้ง แต่หนึ่งในเหตุการณ์นับเป็นขั้นวิกฤติคือ  โศกนาฏกรรมช็อคโลกจากอุบัติเหตุที่คร่าชีวิตเจ้าหญิงDiana  ทิ้งไว้ซึ่งความสับสนและเจ็บปวดจนบานปลายไปถึงการไล่เรียงกล่าวหาผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการบีบคั้นจิตใจเจ้าหญิงที่เพิ่งถอนตัวจากราชวงศ์หลังการหย่าร้างกับเจ้าชาย Charles ได้เพียงไม่นาน    แน่นอนว่า ผู้เป็นประมุขแห่งราชวงศ์ย่อมไม่สามารถหลีกเลี่ยงการกล่าวโทษจากผู้คนที่รู้สึกเจ็บแค้นไปได้เลย   สื่อต่างกระหน่ำโจมตีราชสำนักว่าเมินเฉยต่อความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่  รวมถึงวิพากษ์วิจารณ์สมเด็จพระราชินี Elizabeth ว่าปฏิบัติต่อเจ้าหญิง Diana อย่างเย็นชาทั้งก่อนและหลังเสียชีวิต เมื่อไม่ได้รีบเสด็จจากปราสาทBalmoral มายัง London เพื่อแสดงความไว้อาลัยต่อเจ้าหญิงผู้วายชนม์ และไม่ได้ส่งสารไว้อาลัยอย่างเป็นทางการในทันที


แรงกดดันมหาศาลจากมวลชนพุ่งตรงไปสู่สมเด็จพระราชินี และในที่สุดก็มีถ่ายทอดการให้ไว้อาลัยต่อเจ้าหญิงผู้ล่วงลับ ทั้งยังชี้แจงถึงการใช้เวลาในการช่วยเหลือเยียวยาจิตใจเจ้าชาย William และเจ้าชาย Harry ที่ต้องทุกข์ทนจากการสูญเสียเสด็จแม่ผู้เป็นที่รักไป สมเด็จพระราชินียังเสด็จไปประตูทางเข้า Buckingham Palace เพื่อเยี่ยมชมสถานที่ที่ผู้คนรวมตัวกันเพื่อวางดอกไม้ไว้อาลัยให้กับเจ้าหญิง Diana จนดูเหมือนทะเลดอกไม้สุดลูกตา ผู้ที่เป็นหนึ่งเข้าร่วมในเหตุการณ์จริงได้บรรยายว่า ปฏิกิริยาตอบรับจากฝูงชนนั้นเต็มไปด้วยความไม่พึงพอใจ แม้จะมีเสียงปรบมือต้อนรับตอนเสด็จลงจากพาหนะ แต่บรรยากาศดูกร่อยแตกต่างกับในอดีตที่จะมีเสียงปรบมือและร้องต้อนรับอย่างกึกก้อง ยายหลานที่หยิบยื่นดอกไม้ให้กับสมเด็จพระราชินียืนยันว่า พระองค์ดูไม่แน่ใจด้วยซ้ำว่าพวกเค้าต้องการมอบดอกไม้ให้กับพระองค์ เพราะได้ตรัสถามว่า อยากจะฝากวางดอกไม้รวมกันกับดอกไม้ที่วางอยู่เต็มลานหรือไม่? และเมื่อได้รู้ว่าพวกเค้าต้องการมอบดอกไม้เพื่อเป็นกำลังใจให้ หัสต์ของพระองค์ก็สั่นไหวเหมือนกับกำลังสะเทือนใจ ทำให้พวกเค้าตระหนักว่า สังคมไม่ได้ให้ความเป็นธรรมกับสมเด็จพระราชินีที่อุทิศชีวิตให้กับประเทศเท่าใดนัก  จากนั้นกระแสความไม่พึงพอใจต่อราชวงศ์ที่พลุ่งพล่านก็เริ่มสงบลง



Paving the way for new queen consort

สำหรับผู้ที่ยังฝังใจกับ scandal เขย่าราชวงศ์ในยุค 90s ดูเหมือนว่าไม่ใช่เรื่องง่ายนักที่จะลบอคติในตัว Camilla ดัชเชสแห่ง Cornwall ชายาแห่งเจ้าฟ้าชาย Charles ไปได้หมดจด แม้จะเสกสมรสเข้าสู่ราชวงศ์Windsor ตั้งแต่ปี 2005 เสียงครหาที่เกิดจากความค้างคาใจเรื่อง 'ความคู่ควร' กับอิสริยยศอัครมเหสีเมื่อได้เริ่มต้นยุคสมัยของกษัตริย์พระองค์ใหม่ก็ยังไม่เงียบหายไป และในที่สุด เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมานี่เองที่สมเด็จพระราชินีได้ประกาศสนับสนุนดัชเชสแห่ง Cornwall ในฐานะราชินีคนต่อไปอย่างเป็นทางการ และยังได้ร้องขอให้ประชาชนส่งแรงสนับสนุนโอรสองค์โตและชายาดุจที่พระองค์ได้รับมาโดยตลอด

นั่นได้ปลดล็อคความคลางแคลงใจที่เกิดขึ้นจากข่าวลือเรื่องความสัมพันธ์ในของประมุขราชวงศ์และสะใภ้หลวง   หลังจากที่มีเสียงร่ำลือมายาวนานว่า พระองค์ไม่ยอมรับในตัวดัชเชส Camilla ที่จะอยู่เคียงข้างกษัตริย์องค์ใหม่ด้วยอิสริยยศที่สูงส่ง   กษัตริย์ Charles ที่ 3 เพิ่งจะประกาศให้ชายาผู้ใช้ชีวิตคู่มา 15  ปีเป็นสมเด็จพระราชินีอย่างเป็นทางการ  
หลายคนเชื่อว่า  นี่คือกำลังใจที่มีความหมายล้นเหลือที่พระองค์ได้ทิ้งไว้ให้กับโอรสผู้ได้ขึ้นครองราชย์    ชีวิตคู่ที่มั่นคงสม่ำเสมอตลอดระยะเวลาหลายปีรวมกับภาพกรณียกิจของเชื้อพระวงศ์ชั้นสูงนั้นทำให้ภาพลักษณ์ที่ถูกนำเสนอในด้านเสื่อมเสียนั้นจางหายไปกับกาลเวลา   แน่นอนว่าในอนาคตข้างหน้าจะมีความท้าทายรอทั้งคู่อยู่     หลังจากผ่านช่วงไว้อาลัยไปแล้ว หลายฝ่ายย่อมหันมาโฟกัสกับบทบาทของกษัตริย์ Charles และราชินี Camilla   ด้วยการเปรียบเทียบกับสมเด็จพระราชินีผู้สมบูรณ์แบบที่เพิ่งจากไป

The Last Service

การสวรรคตของสมเด็จราชินี Elizabeth ถือเป็นเรื่อง surreal ต่อผู้คนมากมาย แม้ว่าพวกเราจะได้ยินถึงข่าวคราวเรื่องพระพลานามัยที่เปราะบางลงไปตามกาลเวลา และพระองค์ได้ลดกรณียกิจลงไปจนทำให้เกิดกระแสวิตกกังวล แต่ก็ทรงเข้าร่วมงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปีที่ยิ่งใหญ่เมื่อไม่กี่เดือนก่อน และยังเสด็จเยี่ยมเยียนประชาชนในบางวาระโอกาส เพียงไม่กี่วันมานี้ก็ได้เปิดปราสาท Balmoral เพื่อแต่งตั้ง Liz Truss ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ แต่การออกนอกกรอบธรรมเนียมที่เคยแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีที่พระราชวัง Buckingham ใน London มาตลอดระยะเวลาที่ครองราชย์ก็เปรียบเหมือนกับสัญญาณที่ทำให้ผู้คนฉุกคิดถึงสุขภาพที่ถดถอยลงไปของพระองค์

ถึงจะเป็นเช่นนั้น  รอยยิ้มต้อนรับนายกรัฐมนตรีคนที่ 15ในรัชสมัยของพระองค์ก็กลายเป็นภาพประวัติศาสตร์กรณียกิจครั้งสุดท้ายที่ผู้คนมากมายได้หวนระลึกอย่างใจหาย


The Fearless Queen

Justin Welby อาร์ชบิชอปแห่ง Canterbury อัครมุขนายกและผู้นำหลักของคริสตจักรแห่งอังกฤษ ได้รำลึกถึงความรู้สึกจากการเข้าเฝ้าสมเด็จพระราชินีเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาว่า

"นี่คือผู้ที่ไม่หวาดหวั่นต่อความตาย จากความตระหนักรู้ถึงสถานะของตัวเอง และนั่นได้กลายมาเป็นพลังให้กับพระองค์"

"คุณจะรู้สึกเหมือนกับว่าได้เห็นประวัติศาสตร์ดำเนินไปอยู่เบื้องหน้า แต่เป็นประวัติศาสตร์ที่มาพร้อมกับดวงตาสีฟ้าคมกริบเจิดจ้า รอยยิ้มพิมพ์ใจที่แสนวิเศษและความเพลิดเพลินใจจากอารมณ์ขันที่แยบคาย"




ส่วน Rev. Iain Greenshields ศาสนาจารย์แห่งแห่งคริสตจักร Scotland ได้บอกเล่าประสบการณ์ที่ได้รับเชิญให้รับประทานอาหารกลางวันร่วมกับสมเด็จพระราชินีเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า  พระองค์ยังเต็มไปด้วยความมีชีวิตชีวา  มีความทรงจำที่ดีเยี่ยมจากการเล่าเรื่องราวสมัยที่ยังเป็นเจ้าหญิงน้อย และยังเล่าเรื่องม้าทรงเลี้ยงตั้งแต่สี่สิบปีก่อน  ทั้งเรื่องราวของผู้คนและสถานที่น่าสนใจ  ทรงหัวเราะได้อย่างเต็มที่และเป็นคู่สนทนาที่สนุกสนาน สามารถดึงดูดทุกคนให้เข้าร่วมวงพูดคุยในหัวข้อหลากหลาย ทำให้เขาประทับใจเป็นอย่างยิ่ง   นั่นทำให้รู้สึกช็อคได้ทราบว่าพระองค์ได้จากไปเนื่องจากพระพลนามัยทรุดลงอย่างรวดเร็วในวันพฤหัสบดี


การจากไปของสมเด็จพระราชินี Elizabeth ทำให้ผู้คนย้อนมองถึงประวัติศาสตร์อันน่าทึ่ง และยังเฝ้าติดตามว่า legacy ของพระองค์ที่ถูกส่งต่อมาถึงคนรุ่นหลังจะทำให้ราชวงศ์จะขับเคลื่อนไปในทิศทางใด สถาบันแห่งนี้จะคงไว้ซึ่งความเรืองโรจน์หรือก้าวเข้าสู่การพลิกโฉมครั้งใหญ่?



The End


candy

candy

ติดตาม Mouth On The Web แล้วอย่าลืม Mouth On The Face นะคะ ^ ^

FULL PROFILE