เรื่องที่เคยถูกปล่อยผ่านในอดีต แต่ตอนนี้กลายมาเป็นชนวนจุดกระแสโจมตีในวงการบันเทิง

35 11

ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา หลายคนน่าจะสังเกตถึงความเคลื่อนไหวในสังคมออนไลน์ เมื่อผู้คนพยายาม cancel คนดังแบบคิดบัญชีย้อนหลัง จากการตั้งข้อกล่าวหาเรื่องพฤติกรรมยอดแย่เกินรับ เกิดเป็นแรงกดดันดันจนคนดังต้นเรื่องต้องออกมาขอโทษผู้คนที่พวกเค้าสร้างความขุ่นเคืองใจในอดีต

ดังกรณีของ


  •  Justin Timberlake ที่ถูกกดดันให้ขอโทษ Britney Spears และ Janet Jackson จากเรื่องอื้อฉาวเกือบยี่สิบปีก่อน  แม้ว่าในอดีต เขาถูกมองว่าเป็นศิลปินที่ประสบความสำเร็จระดับขวัญใจมหาชน  โดยที่เสียงตำหนิจากแฟนของ Britney  และ  Janet ไม่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของเขาแต่อย่างใด   แต่เมื่อมีการเผยแพร่สารคดี Framing Britney Spears   ชาวเน็ทก็ขุดคุ้ยพฤติกรรมของเขาในยุค 2000s  จนกลายเป็น viral  และตามมาด้วยการขอโทษ superstar สาวทั้งสองคนในที่สุด

  • ผู้สร้าง Friends ที่ประกาศวา ได้ใช้เวลาเรียนรู้มานานกว่ายี่สิบปีจนในที่สุดก็เข้าใจถึงเสียงวิจารณ์เรื่องซีรีส์ดังไม่สนับสนุนหลากหลายจากcasting นักแสดงผิวขาวมารับบทนำยกกลุ่ม ส่วนนักแสดงสมทบ race อื่นก็มีไม่มากนัก    เมื่อตระหนักรู้ถึงความเหลื่อมล้ำ เธอจึงตัดสินใจบริจาคเงินสี่ล้านดอลลาร์เพื่อสนับสนุนภาควิชา African and African American ในมหาวิทยาลัย  ซึ่งในอดีต เธอเคยตอบโต้ข้อกล่าวหาเรื่องนี้มาตลอด

  • การประกาศขอโทษของ Jimmy Fellon ในเรื่องพฤติกรรม Blackface ระหว่างการแสดงรายการ  SNL ปี2000 หลังจากมีผู้ปล่อยภาพดังกล่าวใน social media จนทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก  ซึ่งในอดีต  เขาอาจจะถูกตำหนิอยู่บ้าง แต่ก็ไม่ถูกโจมตีรุนแรงถึงขั้นที่ทำให้ชื่อเสียงเสียหายเหมือนในยุคนี้


ดราม่าที่ว่ามาอาจจะทำให้คนรุ่นใหม่ หรือแม้แต่ผู้ที่ทันเหตุการณ์รู้สึกข้องใจว่า   หากสังคมไม่สามารถยอมรับกับพฤติกรรมเหล่านี้    แต่เพราะอะไร เมื่อหลายปีที่ผ่านมา   คนวงการบันเทิงจึงไม่ต้องถูกกดดันด้วย  cancel culture หรือไม่เล็งเห็นว่าได้ทำผิดพลาดไปจนต้องประกาศขอโทษ?


ประเด็นแนวทางการปฏิบัติตนภายใต้ pc (political correctness) ยังสร้างข้อถกเถียงให้ผู้คนหลายกลุ่ม เมื่อบรรดาคนดังต้องเผชิญกับดราม่าหนักหน่วง เมื่อถูกชาวเน็ทพิพากษาการกระทำว่าขัดต่อแนวคิดอันดีงามซึ่งก่อให้เกิดความกระทบกระเทือนใจ และเป็นแบบอย่างที่เลวร้าย ที่ผ่านมา สังคมอาจจะปล่อยผ่านพฤติกรรมเหล่านี้จนทำให้หลายคนย่ามใจว่านี่เป็นเรื่องที่ยอมรับกันได้ทั่วไป แม้ดูเป็นสิ่งที่ขัดหูขัดตาแต่ก็ไม่ได้ร้ายแรงจนต้องถูก cancel แตกต่างจากสังคมในปัจจุบันที่ขับเคลื่อนไปข้างหน้า ทุกคนต้องเรียนรู้ว่า พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่เคยถูกปล่อยผ่านในอดีตได้กลายมาเป็นเรื่องต้องห้าม

ในขณะเดียวกัน ก็ยังมีกลุ่มคนจำนวนไม่น้อยที่เห็นต่าง พวกเค้ากล่าวโทษ wokeness หรือการตระหนักรู้ของเหล่าSocial Justice Warriors ว่าไม่ต่างจากเทรนด์ของคนรุ่นใหม่ที่ใช้ความเคลื่อนไหวแบบ 'ล่าแม่มดออนไลน' เพื่อโค่นล้มบุคคลที่แสดงพฤติกรรมไม่ถูกใจ และยังมองว่า การจับผิดคนอื่นที่ไม่ได้เดินตามกรอบ political correctness ทุกกระเบียดนิ้ว เป็นความเหมกมุ่นเกินควบคุมของพวกที่มีความ'เปราะบาง' มากเกินไป ดาราศิลปินในวงการบันเทิง (โดยเฉพาะวงการ comedy) บางคนได้ออกมาต่อต้าน PC อย่างเปิดเผย ด้วยความเชื่อว่า เรื่องpc จะทำลายศิลปะอันสร้างสรรค์ เพราะคนบันเทิงแทบจะขยับตัวแตะต้องประเด็น sensitive แทบไม่ได้ เพราะหวั่นเกรงจะถูก cancel หมดทางหากิน





นี่ยังเป็น topic ที่สร้างความขัดแย้งจนไร้ที่สิ้นสุดจนทำให้หลายคนเชื่อว่า เราไม่สามารถเดาถึงความเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้เลย คำพูดหรือการแสดงออกที่สังคมยังมองว่า OK ในยุคปัจจุบันนี้ แต่อีกสิบปีข้างหน้า มันก็อาจจะกลายเป็นเรื่องต้องห้ามที่ทำให้คนรอบข้างมองมาด้วยสายตาพิพากษา

ดังดราม่าที่เกิดขึ้นกับคนดังเหล่านี้...





การใช้ คำว่าSpaz ในเนื้อเพลง

สำหรับคนอเมริกันจำนวนมากมาย นี่เป็น slang ที่ใช้กันทั่วไปตามรูปแบบ African-American Vernacular English (AAVE ภาษาอังกฤษพื้นถิ่นของชาวแอฟริกัน-อเมริกัน) และแม้มันจะไม่ได้มีนิยามความหมายที่ดูสวยงาม เพราะใช้บรรยายกิริยาบ้าบอสุดเหวี่ยง สับสนวุ่นวาย จิตใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว พลังงานล้นจนควบคุมตัวเองไม่อยู่ และไม่ได้ใช้กับคนมีชีวิตเท่านั้น แต่ยังถูกนำไปพูดถึงสิ่งของ เช่น computer ก็ spaz กันได้ (ระบบค้างหรือเจ๊ง) ยังมีความหมายอื่นๆ เช่น คนที่ดูทึ่ม ซุ่มซ่าม หรือแม้แต่ใช้ทักทายเพื่อนแบบสัพยอก แต่หลายคนก็มองว่า นี่ไม่ใช่คำพูดที่เกิดจากเจตนาเหยียดหยามใคร เป็นเพียง slang ที่ใช้แทนคำกริยาเท่านั้น




แต่อีกในอีกแง่หนึ่ง spaz ยังถูกใช้เป็น slur ที่เหยียดผู้มีความผิดปกติทางร่างกาย ซึ่งมีที่มาจากโรคสมองพิการชนิดหดเกร็งประเภท spastic diplegia    และเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ออกมาเรียกร้องให้เลิกใช้คำนี้เป็น slang แบบสนุกๆ เพราะมันได้สร้างความเจ็บปวดให้กับผู้พิการ    (เราเคยพบคำนี้ในหนังที่ฉากผู้พิการถูกล้อเลียน โดยมีคำบรรบายเป็นไทยว่า 'ง่อย') 
Lizzo และ Beyoncé ก็ไม่รอดการโจมตี ต้องเปลี่ยนเนื้อเพลงใหม่
หลังจากที่มีชาวเน็ท call out ศิลปินสาวเชื้อสายแอฟริกันชื่อดังทั้งสองคนที่ใช้คำ spaz ในเนื้อเพลง  พวกเธอจึงตัดสินใจถอดคำเจ้าปัญหาออกไป  โดยเฉพาะ Lizzo ที่ใช้ social media เปิดเผยความรู้สึกว่า  หลังจากที่เธอได้รับการตักเตือนถึงการใช้ถ้อยคำที่สะเทือนจิตใจผู้อื่น  เธอยืนยันว่า ไม่ได้มีเจตนาทำร้ายใคร และนำเสนอเพลงที่ปรับเป็นเวอร์ชั่นใหม่ เพราะจากประสบการณ์ที่เป็นสาวเชื้อสายผิวดำร่างใหญ่ เธอก็ต้องถูกเหยียดหยามด้วยถ้อยคำรุนแรงมาหลายครั้ง   เธอจึงมุ่งมั่นใช้ชื่อเสียงความเป็นศิลปินเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความเปลี่ยนแปลง

แต่ดราม่านี้ยังไม่จบ เพราะยังมีผู้ที่ตั้งข้อสงสัยว่า นี่เป็น slang ที่ใช้กันมาเนิ่นนานหลายปี และปรากฏทั้งในเนื้อเพลงและบทหนังมาแล้ว แต่ก็ไม่เคยถูกจับมาเป็นประเด็นโจมตีใหญ่โต  N.E.R.D.ตั้งชื่อเพลงด้วยคำนี้ และมันก็ถูกเลือกเป็นดนตรีประกอบวีดีโอเกมชื่อดัง  ต่อมา Kid Cudi ก็นำมา sample  เป็นผลงานใหม่ชื่อว่า Cudi Spazzin  และดูเหมือนว่า ที่ผ่านมานั้น ผู้คนไม่ได้ใส่ใจถึงความหมายในแง่เหยียดคนพิการของคำนี้จนกระทั่งมีคนโวยว่าเพลงของ Lizzo และ Beyonce ทำร้ายจิตใจกลุ่มคนพิการ   ดังที่เห็นได้จากสื่อต่างๆที่เพิ่งนำเสนอบทความเพื่ออธิบายว่า เหตุใดศิลปินทั้งสองจึงถูก call out  โดยที่ก่อนหน้านี้ไม่ได้จับมาเป็นประเด็น pc เหมือนกับเรื่องอื่นๆ     ชาวเน็ทอีกจำนวนมากยังยืนยันว่า พวกเค้าไม่ได้เห็นความเสียหายจากการใช้คำนี้  เพราะบรรดาคนฟังต่างก็เข้าใจว่า   context  ในเพลงไม่ได้สื่อถึงการเหยียดคนพิการแม้แต่น้อย      และคนรับสารก็ควรจะแยกแยะให้ได้  ไม่ต่างจากการใช้ศัพท์บางตัวของชาวอเมริกันกับชาวอังกฤษ  แม้ว่าจะสะกดเหมือนกัน ออกเสียงเหมือนกัน แต่มีความหมายที่แตกต่าง

กระแสโจมตีครั้งนี้อาจจะทำให้ spaz เริ่มหายไปจากเนื้อเพลงของศิลปินดังที่ต้องการรักษาภาพลักษณ์อันเป็นแบบอย่างที่ดีไว้ แต่ก็ยังมีแฟนดนตรีที่เชื่อว่า ศิลปิน hip hop ที่เคยใช้คำนี้ในเนื้อเพลงอย่าง Future, Nicki MInaj, Migos, 2 Chainz และอีกหลายคนก็ไม่น่าจะกระโดดเข้าร่วมความเปลี่ยนแปลงในเร็วๆนี้




นักแสดงที่ใส่ fat suit เพื่อรับบทคนร่างใหญ่

บางคนอาจจะสงสัยว่า fat suit หรือชุดที่มีไว้สำหรับนักแสดงที่มีรูปร่างเพรียวสมส่วนใช้รับบทคนร่างใหญ่นั้นเป็นเรื่องไม่เหมาะสมเช่นไร? fat suit ยังปรากฏในวงการหนังและซีรีส์ นักแสดงระดับ A List หลายคนก็ใส่มันรับบทที่ดูแตกต่างกับตัวจริงจนจำกันแทบไม่ได้มาแล้ว แต่กระแสวิจารณ์ในประเด็นนี้แรงมากพอที่ทำให้พวกเค้าบาวคนต้องออกมาชี้แจง หรือแม้แต่ต้องประกาศว่า 'ไม่น่าเลย'





เมื่อสื่อได้เผยแพร่ภาพของ Renée Zellweger ระหว่างถ่ายทำหนัง The Truth About Pam ที่เธอสวมใส่ fat suitเพื่อให้เข้ากับบทบาท Pamela Hupp ฆาตกรคดีดังที่มีรูปร่างใหญ่ท้วม ก็มีเสียงวิจารณ์จากนักเคลื่อนไหวด้าน body-positive ว่าการ รับบท plus size แล้วใช้ fat suit เปลี่ยนลุคให้ดูแตกต่างจากความเพรียวบางตามปกตินั้นได้สร้างความเสียหายต่อกลุ่มคน plus size สื่อให้เห็นอาการรังเกียจคนอ้วน และดูเหมือนว่า เธอจะไม่ได้เห็นอกเห็นใจผู้ที่มีน้ำหนักเกิและสร้างรอยแผลให้พวกเค้ารู้สึกย่ำแย่กับตัวเอง และยังโจมตีนักสร้างหนังที่ไม่เปิดโอกาสให้กับนักแสดง plus size ที่มีพรสวรรค์ทางการแสดง แต่กลับเลือกผู้ที่มีรูปลักษณ์ห่างไกลกับต้นฉบับของบท แล้วสร้างความความอ้วนแบบปลอมๆ ที่ดูเหมือนกกำลังเยาะเย้ยกัน


Renee ไม่ได้แสดงท่าทีเสียใจกับเสียงวิจารณ์นี้ เธอยืนยันว่า นี่เป็นสิ่งจำเป็นที่ทำให้เธอเข้าถึงบทบาท แต่นักแสดงดังที่ออกมายอมรับภายหลังว่า นึกเสียดายที่ตัวเองไม่ได้ไตร่ตรองให้เต็มที่ก่อนที่จะรับบทที่ต้องใส่ fat suit คือ Sarah Paulson เพราะเธอเห็นด้วยว่าจะต้องให้ความสำคัญกับปัญหา fat phobia และการปลอมตัวให้ดูอ้วนก็ไม่เป็นผลดี แต่ในฐานะนักแสดง เธอก็อยากจะเชื่อมั่นว่า ตัวเองมีความสามารถที่แสดงบทนี้ได้


Sarahเพิ่มน้ำหนักจริงๆประมาณ 13 kg แต่ก็ดูตัวใหญ่ไม่พอจะรับบท Linda Tripp กุญแจสำคัญที่ร่วมเปิดโปงสัมพันธ์สวาทระหว่างประธานาธิบดี Bill Clinton'และ with Monica Lewinsky นำไปสู่มติเสนอเพื่อถอดถอนเขาออกจากตำแหน่ง





 สำหรับคอหนังหวานยุค 2000s น่าจะคุ้นเคยกับ Shallow Hal  ที่ Gwyneth Paltrow รับบทสาวร่างใหญ่น้ำหนัก 136 kg ด้วยการใส่  fat suit   รายได้หนังที่พุ่งไปเกิน  140 ล้านดอลลาร์ในยุค 2000s นั้นดูไม่ได้ขี้ริ้วขี้เหร่  แม้จะมีนักเคลื่อนไหวที่ให้สัมภาษณ์สื่อว่า  หนังดำเนินไปพร้อมกับการล้อเลียนคนอ้วนทั้งเรื่อง  ตอกย้ำให้ยิ่งรู้สึกท้อแท้ใจเรื่องรูปร่างตัวเอง   หากจะมองว่าตัวผู้สร้างจะพยายามส่งสารถึงผู้ชมให้มองถึงความงามภายในมากกว่ารูปร่างหน้าตาเปลือกนอก   แต่มันคล้ายกับการถูกตบหัวแล้วลูบหลัง ไม่ได้สร้างพลังใจให้รักตัวเองแต่อย่างใด    

Gwyneth ถูกโจมตีเรื่องการให้สัมภาษณ์ว่า หลังจากลอง fat suit และเสื้อผ้าที่ฝ่าย costume จัดให้ก็ทำใหรู้สึกอับอาย เมื่อลองเดินไปล็อบบี้ก็ไม่มีใครอยากสบตาเพราะเธอดูอ้วน จากปกติแล้วใครๆต่างรุมจ้องมองเพราะความเป็นคนดัง และค้นพบว่า เสื้อผ้าสำหรับคนอ้วนนั้นดูเฉิ่มเชยมาก ทำให้รู้สึกว่าผู้คนปฏิเสธเธอ และเมื่อวันเวลาผ่านไปจนเข้าสู่ยุคsocial media เธอก็ได้เปิดใจว่า นี่คือผลงานที่เธอชอบน้อยที่สุด และถือเป็นหายนะเลยทีเดียว



ยังมีหนังดังเรื่องอื่นที่นักแสดงดังใส่ fat suit เช่น

Murphy ใน The Nutty Professor และ Norbit
John Travolta ใน Hairspray
Julia Roberts ใน America's Sweethearts
Tom Cruise ใน Tropic Thunder
Martin Lawrence ใน Big Momma's House
Ryan Reynolds ใน Just Friends

และมันน่าจะทำให้แฟนๆบางคนสงสัยว่า หากวันหนึ่ง พวกเค้าตกลงใจรับบทเดิมอีกครั้ง จะยอมเปลี่ยนลุคด้วย fat suit หรือไม่?






ในตอนนั้นอาจจะมีคนที่ออกโรงต่อต้านหนังที่เชิดชูมุกตลกล้อเลียนคนอ้วนเป็นจุดขาย  แต่กระแสต่อต้านจากการใช้ fat suit เพื่อนำเสนอเรื่องราวของคนอ้วนผ่านนักแสดงที่มีรูปร่างผอมในชีวิตจริงอาจจะดูไม่แพร่หลายเหมือนกับปัจจุบัน จะเป็นไปได้ว่า ในอดีต พวกเรายังไม่ได้ใช้ social media เพื่อเข้าถึงสื่อและหรือเรียนรู้จากกรณีตัวอย่างความขัดแย้งในโลกออนไลน์

fat suit สร้างความเสียหายและเป็นเรื่องล้าสมัยจริงหรือ?   เราเริ่มได้ยินข้อถกเถียงนี้มากขึ้นเรื่อยๆ    จนถึงปัจจุบัน นักแสดงชื่อดังก็แปลงโฉมด้วยวิธีนี้กันอยู่    แต่หลายคนก็ต้องรับมือกับคำครหาเรื่องล้อเลียนคนอ้วนและขโมยโอกาสจากนักแสดงที่เป็นตัวแทนของ plus size community  อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้


นักแสดง straight รับบทLGBTQ

"นักแสดงcisgender*ควรรับบทบทเพศทางเลือกหรือไม่ แล้วเหตุผลสนับสนุนคืออะไร?"

สำหรับเราแล้ว นี่คือหนึ่งในหัวข้อ debate ที่มีความเห็นแตกแยกกันมากที่สุดในวงการบันเทิง แม้แต่ความเห็นจากกลุ่มนักแสดง LGBTQ เองก็ไม่ได้มีความเป็นเอกฉันท์


ผู้ที่ต่อต้าน casting นักแสดง cisgender มารับบทที่ไม่ตรงอัตลักษณ์ทางเพศหรือเพศวิถีได้ชี้ว่า ด้วยอคติจากการแสดงตัวตนแบบ queer ที่ปลูกรากฝังลึกในสังคมส่งผลให้วงการบันเทิงปิดกั้นไม่ให้นักแสดงเพศทางเลือกได้ไขว่คว้าหาความสำเร็จ ส่วนนักแสดง straight ที่มักจะคว้าบทโดดเด่นไปก็ไม่สามารถสื่อถึงแก่นแท้ของเพศทางเลือก แม้จะพยายามเข้าถึงบทบาทด้วยการเรียนรู้จากต้นแบบ แต่มันก็ไม่เป็นธรรมที่พวกเค้าเบียดชิงเอาโอกาสของนักแสดงเพศทางเลือกไป แทนที่เพศทางเลือกจะได้ทำหน้าที่ตัวแทนเป็นปากเป็นเสียงให้กับพวกเดียวกัน แต่ทำได้แค่มอง cisgender กอบโกยความสำเร็จด้วยการแสดงเป็นพวกเค้า


*ผู้ที่มีอัตลักษณ์ทางเพศสอดคล้องกับเพศสรีระ



แต่ยังมีผู้คนอีกมากมายที่เห็นต่างไป  ด้วยความเชื่อว่า  นักแสดงที่เก่งกาจย่อมนำเสนอทักษะด้วยบทท้าทายทุกรูปแบบ   ไม่ว่าจะอัตลักษณ์ทางเพศเช่นใดก็ต้องชักจูงใจผู้ชมให้อินไปกับการแสดงที่ดูสมจริงที่สุด      หลายทศวรรษที่ผ่านมา มีทั้งผู้เข้าชิงและผู้ชนะจากเวที  Oscar ด้วยบทบาทเพศทางเลือกกันมากมาย   ไม่น่าแปลกใจที่นักแสดงเหล่านี้จะโชว์ฝีมือกันสุดตัวเพื่อสร้างความสำเร็จโดยที่ไม่ต้องจำกัดตัวเองว่า  ตัวตนในชีวิตจริงจะต้องตรงกับสิ่งที่ปรากฏที่หน้าจอ    ไม่เช่นนั้นแล้วจะเรียกว่าการแสดงได้อย่างไร? 

แต่กระแสโจมตีนักแสดง cisgender ได้สร้างแรงกดดันมากขึ้นเรื่อยๆ ดังกรณีของ Lukas Gage  นักแสดงดาวรุ่งที่รับบทเกย์มาแล้วสี่ครั้ง    เรื่องนี้ทำให้ชาวเน็ทรายหนึ่งตำหนิเขาว่า    สำหรับนักแสดงที่ไม่ได้เป็นเกย์จริงๆ  ครั้งเดียวก็เกินพอแล้ว      เขาจึงเตือนแบบเบาๆว่า  หากไม่รู้อักษรย่อของเขา (อักษรที่ระบุอัตลักษณ์ทางเพศ) ก็อย่าด่วนวิจารณ์   แต่ชาวเน็ทรายนั้นไม่ยอมลดละ  จี้ให้เขาประกาศตัวตนกับชาวโลกว่าเป็นเพศทางเลือกหรือไม่    ดึงดูดให้ชาวเน็ทจำนวนมากเข้ามาร่วม tweet ตอบโต้เพื่อปกป้องฝ่ายพระเอกว่า   ไม่ว่าใครก็ไม่มีสิทธิ์บีบบังคับให้คนอื่นเปิดเผยอัตลักษณ์ทางเพศหากเจ้าตัวไม่ยินยอมพร้อมใจ      เขาไม่จำเป็นจะต้องประกาศว่าตัวเองเป็นเกย์เพื่อได้รับการเห็นชอบจากคนแปลกหน้าในโลก internet   

นักแสดง cisgenderชั้นนำที่รับบทเพศทางเลือกแทบทุกคนจะถูกป้อนคำถามเหตุผลที่ตัดสินใจรับบทนี้ และมีความเห็นเช่นไรกับกระแสต่อต้าน? ไม่ว่าจะเป็น Cate Blanchett, Eddie Redmayne, Colin Firth, Ewan McGregor และอีกหลายคนต้องเลือกใช้คำพูดอย่างระมัดระวังเพื่อชี้แจงตัวเอง แต่พวกเค้าก็ไม่ได้รับแรงกดดันมากเท่ากับ Scarlett Johansson ที่ชาวเน็ทกลุ่มหนึ่งพยายามจะ cancel เธอหลังจากที่ถูกวางตัวให้แสดงเป็นชายข้ามเพศ ในที่สุดเธอก็ต้องถอนตัวออกจาก project นั้นไป (เรื่องราวแบบเดียวกันเกิดขึ้นกับ Halle Berry)


แม้บทเกย์ฆาตกรในThe Assassination Of Gianni Versace จะทำให้ Darren Criss คว้ารางวัล Emmy และ Golden Globe แต่เมื่อได้พบเรับรู้ประเด็นขัดแย้งมานาน เขาจึงยืนยันออกสื่อว่า จะไม่รับบทเกย์อีกต่อไป เนื่องจากรู้สึกไม่สบายใจในเรื่องนี้


นักแสดงอีกคนที่เปลี่ยนแปลงมุมมองต่อการรับบทเกย์คือ Tom Hanks ตำนาน Hollywood ที่คว้ารางวัล Oscarจากบทเกย์ใน Philadelphia มาแล้ว เมื่อไม่นานมานี้ เขาชี้ว่า เราได้ก้าวข้ามยุคสมัยแบบนั้นไปแล้ว ผู้คนในยุคใหม่ไม่สามารถเปิดใจรับผู้ชาย straight ในบทบาทเกย์ได้อีกต่อไป

Eddie Redmayne เป็นพระเอก A List อีกคนที่ถูกวิจารณ์ในแง่ลบยาวนานจากการรับบทผู้หญิงข้ามเพศใน The Danish Girl แม้จะเป็นผลงานที่ทำให้เขาได้เข้าชิง Oscar แต่ในปีที่แล้ เขาก็ยอมรับว่า นี่เป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาด และหากได้รับการยื่นข้อเสนอให้แสดงเป็น trans ในวันนี้ เขาก็จะปฏิเสธไป






เรียกผู้หญิงที่รูปร่างไม่ใหญ่ว่า Plus size

Tyra Banks เข้าร่วมสมาคมคนถูก cancel ย้อนหลัง เมื่อ America's Next Top Model ถูกจับนำมาออนแอร์ใหม่ แม้เรื่องที่เธอถูก call out จะมาจากสาเหตุเดิมที่ถูกพูดถึงมาหลายปีแล้ว แต่เมื่อชาวเน็ทส่งต่อคลิปรายการจนกลายเป็น viral ภาพลักษณ์ของผู้หญิงเก่งที่มีจุดเด่นเรื่องการ empower ก็แทบจะหายวับไป แล้วแทนที่ด้วยข้อกล่าวหาเรื่องใช้อำนาจ bully ผู้เข้าแข่งขันรายการ มันทำให้ผู้คนต่างโจษจันว่า สังคมในตอนนั้นเพิกเฉยต่อการกระทำของ Tyra ได้อย่างไร?

หลายคนน่าจะได้ยินปัญหา body shaming ในวงการนี้มาบ้างแล้ว คุณอาจจะจำฉากจากหนัง The Devil Wears Prada ที่นางเอกถูกมองเหมือนมนุษย์ต่างดาวเมื่อบอกว่าตัวเองใส่ชุดsize 8 หรือคำบอกเล่าจากนางแบบสาวรูปร่างสูงเพรียวว่า หากน้ำหนักขึ้นเพียงเล็กน้อยก็ถูกเอเจนซี่กดดันว่า จะถูกจัดให้อยู่กลุ่มนางแบบ plus size หลายปีที่ผ่านมา เนื้อหนังที่มีส่วนเว้าส่วนโค้งและตัวเลขที่ใหญ่กว่า sample size (ไม่เกินsize 4) ดูจะไปกันไม่ได้กับโลก fashion จนกระทั่งระยะหลังที่เราจะได้เห็นการเปิดรับความหลากหลายเพื่อตอบสนองกับแนวคิด body positivity แม้แต่ luxury brand ก็ได้คัดเลือกนางแบบรูปร่างอวบมาเดินใน fashion show ให้เห็นกันจนไม่ใช่เรื่อง surprise ต่อไป



แต่เมื่อมีการแชร์วีดีโอที่ Tyra และกลุ่มกรรมการคัดเลือกนางแบบร่วมวิจารณ์ Robin ผู้เข้าแข่งขันว่าที่ถูกบรรยายว่าเป็นสาว plus size คนแรกของรายการ โดยเฉพาะ Janice Dickinson ที่ใช้น้ำเสียงเกรี้ยวกราดฟาดฟันว่า เธอรูปร่างใหญ่โตที่ดูยังไงก็ไม่สามารถก้าวสู่ความเป็นtop model ส่วน Tyra ก็ติที่เธอมีช่วงล่างใหญ่แบบ plus size ไม่แมทช์กับส่วนบนของร่างกาย ลงท้ายผู้เข้าแข่งขันคนนี้ก็ต้องแพคกระเป๋ากลับบ้าน เพราะไม่สามารถเปิดเผยเนื้อหนังโพสหน้ากล้องด้วยความมั่นใจได้ ปฏิกิริยาตอบรับจากชาวเน็ทในยุคนี้เรียกจะลุกเป็นไฟเลยทีเดียว เพราะหลายคนมั่นใจว่า หญิงสาวในภาพไม่ได้มีความใกล้เคียงกับคำว่า plus size แต่เป็นรูปร่างสมส่วนสวยงาม ถึงแม้ว่าเธอจะไม่ได้ผอมบางเหมือนกับนางแบบ high fashion แต่ตัว Tyra เองที่ให้เหตุผลว่า ต้องการให้เธอก้าวมาเป็นผู้แข่งขันที่เป็นตัวแทนของผู้หญิงอเมริกันส่วนใหญ่ (ที่ไม่ได้มีรูปร่างผอมบาง) ในทางปฏิบัติกลับสวนทางกัน เพราะเธอปล่อยให้มีเรื่อง body-shaming ในการตัดสิน ราวกับจงใจจะขายดราม่าเพื่อกระตุ้นเรตติ้งให้พุ่งปรี๊ด



Tyra เคยออกมายอมรับว่า ทางรายการได้ทำผิดพลาดไปจริงๆ และเห็นด้วยกับคำวิพากษ์วิจารณ์ว่า บางครั้งก็มีการแสดงคำพูดที่ไร้ความเห็นอกเห็นในคนอื่น แต่ในขณะนั้น เธอยังทำงานนางแบบไปด้วยและยังเป็นนักผลิตรายการมือใหม่ และมีจุดที่ต้องพูดจาที่ดูล้ำเส้นออกไป แต่ที่จริงมีเจตนาดีต่อผู้ร่วมแข่งขัน เพราะได้ถูกกดดันมาจาก agency นางแบบว่า หากพวกเธออยากจะมีอนาคตในวงการfashion ก็ต้องยอมเปลี่ยนรูปลักษณ์บางอย่าง แต่เมื่อมองย้อนกลับไปก็เชื่อว่า แทนที่ใช้คำวิจารณ์กันแรงๆว่าต้องเปลี่ยนอะไรบ้าง เธอควรจะให้กำลังใจเด็กสาวเหล่านั้นด้วยการชื่นชมความงามของพวกเธอ


ชาวเน็ทไม่ได้ต่อต้านการแสดงทัศนคติเรื่องสาว plus size ในรายการนี้ไปหมดทุกคน ยังมีผู้ที่มั่นใจว่า Tyra ไม่ได้แสดงพฤติกรรมร้ายกาจ แต่เป็นเรื่องความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย ย้อนไปราวๆยี่สิบปีก่อน คนวงการ fashion ก็นางแบบ plus size ก็คือคนที่มีรูปร่างใหญ่กว่านางแบบ high fashion นางเอกที่ไม่ผอมหลายคนออกมาพูดตรงกันว่า เคยถูกแบรนด์ดังเมินไม่ให้ยืมเสื้อผ้าออกงานเพราะตัวใหญ่เกินเสื้อผ้า sample size แม้กระทั่งทุกวันนี้ ยังมีเอเจนซี่ที่จัดให้นางแบบsize 8-12 รับงาน plus size ไม่น่าแปลกที่สาวรูปร่างดีในสายตาชาวเน็ทในปัจจุบันจะถูกวิจารณ์ว่าตัวใหญ่เกินไปที่จะเป็นนางแบบในยุคนั้น แต่รายการ America's Next Top Model ก็ได้มีพัฒนาการในการสนับสนุน inclusivity มากขึ้นจนมีผู้ชนะเป็นนางแบบ size12 ในปี 2008



การนำเสนอนิยามของสาว plus size ได้กลายมาเป็นประเด็นร้อนแรงอีกหลายครั้ง ดังกรณีของ Myla Dalbesio ที่ถูกเรียกว่านางแบบ plus size คนแรกของ Calvin Klein ทั้งๆที่ในโพรไฟล์ของเธอระบุไว้ว่าใส่เสื้อผ้า size 10 เท่านั้น(บางสื่อมองว่าน่าจะเป็นไซส์ 8 มากกว่า) ภาพรูปร่างสวยงามและไลน์หน้าท้องน่าอิจฉาของเธอได้สร้างความข้องใจว่า ตรงไหนของเธอที่ดู plus? บางคนยังกล่าวหาแบรนด์ดังว่า มอมเมาความคิดให้ผู้หญิงยึดติดกับความผอมจนเสี่ยงเป็นโรคปฏิเสธอาหาร

อย่างไรก็ตาม  มีการชี้แจงตามมาว่า Calvin Klein ไม่ได้เป็นผู้ที่เรียกเธอว่านางแบบ  plus size คนแรกของแบรนด์  เพียงแต่คัดเลือกเธอมาร่วมแคมเปญ Perfectly Fit กระแสโจมตีเกิดขึ้นจากการพาดหัวเรียกร้องความสนใจจากสื่อ หลังจากมีผู้ค้นพบว่า เธอเคยรับงานถ่ายแบบเสื้อผ้า plus size มาก่อน  ซึ่งเธอได้อธิบายไว้ว่า  วงการ fashion ไม่ได้มีพื้นที่สำหรับนางแบบที่มีรูปร่างที่อยู่กึ่งกลางมากนัก เธอไม่ได้ผอมเหมือนนางแบบ sample size และตัวเล็กกว่า plus size  แต่ถูกประเมินตามมาตรฐานของวงการfashion ทำให้ถูกจัดเข้าอยู่กลุ่มนางแบบplus size โดยอัตโนมัติ 

.ในยุคสมัยที่มีการรณรงค์ให้ผู้คนหันมาชื่นชม real size beauty อย่างแพร่หลาย แต่หากให้คำจำกัดความเรื่อง size ไม่ตรงกับมาตรฐานที่ใช้ในชีวิตจริงก็อาจจะสร้างความขุ่นเคืองใจ เหมือนกับ Amy Schumer ที่รู้สึกไม่ดีเมื่อรู้ว่านิตยสาร Glamour เรียกเธอว่าสาว plus size เพราควรจะนับเริ่มต้นที่ size 16 ในอเมริกา แต่เธอใส่เสื้อผ้าไซส์ 6- 8 แม้เธอจะไม่ได้รู้สึกว่าผู้หญิง plus size เป็นเรื่องเสียหายตรงไหน แต่มันคือการชี้นำให้เด็กสาวเข้าใจไปว่า body typeแบบเธอคือ plus size ซึ่งเธอมองว่ามันไม่เริ่ดเอาซะเลย





candy

candy

ติดตาม Mouth On The Web แล้วอย่าลืม Mouth On The Face นะคะ ^ ^

FULL PROFILE