ช็อคโลกHigh Fashion: Virgil Ablohแห่งLouis Vuittonและ Off-Whiteเสียชีวิต

44 12
โลกต้องพบกับความสูญเสียอีกครั้ง เมื่อมีการยืนยันว่า ดีไซน์เนอร์หนุ่มอเมริกัน Virgil Abloh  ได้จากโลกนี้ไปด้วยวัย 41 ปี    นอกจากจะสร้างชื่อเสียงจากตำแหน่ง artistic director แห่ง Louis Vuitton และก่อตั้งแบรนด์ Off-White   ยังได้รับการยกย่องให้เป็นคนรุ่นใหม่ทรงอิทธิพล   ด้วยความมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมแฟชั่นด้วยอุดมการณ์ที่อยู่นอกกรอบเดิมๆ สร้างความประทับในให้กับโลกแฟชั่นเป็นดีไซน์เนอร์คนโปรดของเหล่า trendsetter   น่าเศร้ายิ่งนักเมื่อไม่นานหลังจากที่ได้ก้าวเข้ามานำทัพ Louis Vuitton ในฐานะดีไซน์เนอร์เชื้อสายผิวดำแอฟริกันคนแรกของแบรนด์  เขาก็ได้รับการวินิจฉัยทางการแพทย์ว่าพบเนื้อร้ายที่หัวใจซึ่งเป็นมะเร็งชนิดหายาก และเลือกรักษาตัวอย่างเงียบๆ ไม่ให้ภายนอกรับรู้ ในขณะที่เดินหน้าทำงานอย่างสุดกำลัง


เชื่อได้ว่า แฟนๆแฟชั่นจำนวนมากจะต้องช็อคกับข่าวนี้ เพราะเมื่อไม่กี่สัปดาห์ก่อน เขายังเดินทางไปยังเมือง Doha ประเทศ Qatar เพื่อเปิดนิทรรศการ Figures of Speech  เพื่อนของเขายังเผยข้อความแชทเฮาฮาที่ดีไซน์เนอร์หนุ่มส่งมาคุยเมื่อไม่กี่วันก่อน  โดยที่ไม่มีสัญญาณใดๆบ่งบอกถึงข่าวร้ายนี้

จากเส้นทางสถาปนิกสู่วงการแฟชั่นระดับโลก


โพรไฟล์การศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมโยธาและปริญญาโทสถาปัตยกรรมอาจจะฟังดูแตกต่างจากดีไซน์เนอร์จากห้องเสื้อชั้นสูงคนอื่นๆ  แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าเขาทิ้งประสบการณ์ของสถาปนิกเพื่อเบนสายมาเป็นดีไซน์เนอร์อย่างเดียว  แต่เป็นการผสมผสานความรู้ที่สั่งสมมาเป็นงานที่โดดเด่นต่างหาก

"เราสามารถใช้การคิดแบบถาปนิกสร้างอะไรขึ้นมาได้มากมาย  ไม่ใช่ว่าจะทำงานตรงสายเท่านั้น"

"ผมสร้างแบรนด์ตัวเองขึ้นมาเพื่อเสาะหาด้านที่เป็นสถาปัตยกรรมในรูปแบบของตัวเอง"




การนำ streetwear สู่ luxury fashion


เพราะอะไรดีไซน์เนอร์หนุ่มอเมริกันจึงก่อตั้งแบรนด์Off-Whiteในเมืองมิลาน ศูนย์กลางแห่งแฟชั่นอิตาลีและยุโรป?

เมื่อพูดถึงเสื้อผ้าคุณภาพสุดเนี้ยบและความหรูหราล้ำสมัย มิลานอาจจะเป็นเป้าหมายที่ตรงใจคุณ และหากใครบางคนวางเป้าหมายจะทำเสื้อฮู้ดและเสื้อยืดในราคาสูงลิบไม่ต่างจากสินค้า luxury brand ชื่อเสียงเก่าแก่จากยุโรป ก็อาจจะเริ่มต้นเหมือนกับVirgil ที่มุ่งหมายสร้างผลงานที่โดดเด่นจากสไตล์อเมริกันในอิตาลีที่ขึ้นชื่อลือชาเรื่องคุณภาพของแฟชั่นชั้นสูง

และเขาทำได้สำเร็จในระยะเวลาเพียงไม่นาน





ในอดีต Virgil ถูกมองว่าเป็นดีไซน์เนอร์หนุ่มที่ออกแบบเสื้อยืดสุดเจ๋งสำหรับคนรัก streetwear แต่เพียงไม่กี่ปี ความสามารถที่เปล่งประกายก็ได้ถูกตาถูกใจแบรนด์ยักษ์ใหญ่จนมี collaboration กันหลายครั้ง ส่วนแบรนด์ Off-White ที่เขาก่อตั้งขึ้นมาไมถึงสิบปีก็ได้รับความนิยมในหมู่คนดัง โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่มีผู้ติดตามจำนวนมหาศาล ในที่สุด เมือ luxury brand ที่ขึ้นชื่อเรื่องความclassic อย่าง Louis Vuitton ปรารถนาจะดึงดูดคนรุ่นใหม่จึงแต่งตั้งให้ Virgil ทำหน้าที่ creative director เพื่อนำ streetwear ขึ้นแท่นเป็น luxury streetwear อย่างเต็มรูปแบบ




หากเป็นในอดีต ผู้คนอาจจะจินตนาการไม่ออกว่า ดีไซน์เนอร์ที่โด่งดังผลงานเสื้อฮู้ดขายดิบขายดีจะก้าวมาเป็นหัวเรือให้กับ Menswear ของ Louis Vuitton ได้เช่นไร แต่ถึงทุกวันนี้ สื่อยักษ์ใหญ่หลายเจ้ายกย่องให้เขาเป็นดาวเด่นที่พลิกโฉมวงการแฟชั่น แต่วันเวลาอันเรืองโรจน์ของเขากลับแสนสั้นจนทำให้หลายคนเจ็บปวด


พบกับ Kanye West



บางคนอาจจะไม่เคยได้ยินมาก่อนว่า กว่าที่จะได้สร้างแบรนด์ Yeezy จนขึ้นแท่นเป็นมหาเศรษฐีพันล้าน Kanye West (หรือที่เปลี่ยนชื่อเป็น Ye อย่างเดียว) เคยฝึกงานกับ Fendi ในปี 2009 และนั่นทำให้เขาได้พบกับ Virgil Abloh แม้ว่าฝ่ายหนึ่งจะเป็น superstar และอีกฝ่ายเพิ่งจะจบปริญญาโทและยังไม่ได้สร้างชื่อเสียงจากผลงาน streetwearในวงกว้าง (พวกเค้าได้ค่าตอบแทนเดือนละ 500 ดอลลาร์จาก Fendi เท่ากัน!) แรงดึงดูดของชายผู้รักในแฟชั่นทั้งสองทำให้พวกเค้าสร้างความสนิทสนมจนร่วมสร้างผลงานมายาวนานหลายปี Kanye เสนอตำแหน่ง creative director แห่ง Donda อันเป็นบริษัทที่เขาก่อตั้งขึ้นมา งานนี้ครอบคลุมถึงการออกแบบเวที, music videosและงานอาร์ทหน้าปกอัลบั้ม

หากถามว่าสนิทกันแค่ไหน?  ก็น่าจะพิสูจน์ได้เมื่อ Kanye ตอบรับคำเชิญมาร่วมชมโชว์ Louis Vuitton ผลงานของ Virgil เมื่อได้พบหน้า ทั้งคู่โผเข้ากอดด้วยความซาบซึ้งจนกลั้นน้ำตาไม่อยู่เลยทีเดียว

ด้วยความอาลัยในเพื่อนผู้วายชนม์   Ye ได้เผยแพร่การร้องประสานเสียงใน Donda Live Sunday Service   ด้วยเพลงรักใจสลาย  Easy On Me จาก Adele  

อุดมการณ์ที่ชัดเจน ไม่วิ่งตามกฎของใคร



ใช่ว่าเส้นทางสู่โลก luxury fashion ของ Virgil จะสวยงามแบบไร้ดราม่า เมื่อไม่กี่ปีก่อน  มีชาวเน็ทนำภาพทีมงาน Off-White ที่เต็มไปด้วยหนุ่มสาวผิวขาวมาโจมตีว่าเขาไม่จ้างศิลปินผิวดำด้วยกันมาทำงาน และกล่าวหาทำเสื้อผ้ามาขายวัยรุ่นผิวขาวผู้ร่ำรวยเท่านั้น   บางคนแสดงความผิดหวัง ทั้งๆที่เขาเป็นหนึ่งในดีไซน์เนอร์ผิวดำไม่กี่คนที่ประสบความสำเร็จในวงการแฟชั้นชั้นสูง   อย่างไรก็ตาม  การกระทำมีพลังกว่าคำพูดเสมอ  มีคำชี้แจงว่า ภาพstaffผิวขาวที่ตกเป็นประเด็นร้อนคือทีม local ที่ร่วมงานกันใน Milan   แต่ทีมดีไซน์ของเขามีความหลากหลายทางเชื้อชาติ รวมถึงนายแบบและช่างภาพ    ในขณะที่ถูกโจมตีว่า   'ทำดีเพื่อชุมชนคนผิวดำไม่พอ'    เขาได้สนับสนุนเงินทุนการศึกษาจำนวน1 ล้านเหรียญให้กับนักเรียนแฟชั่นผิวดำเพื่อปูทางสู่ความสำเร็จดังที่เขาเคยทำไว้ได้
 เขาให้ความสำคัญกับตัวตนที่ถูกหล่อหลอมขึ้นมาจากชีวิตหนุ่มอเมริกัน generation ที่ 2  ที่พ่อแม่อพยพมาจากกาน่า    จากผลงานการออกแบบชุดฟุตบอลให้กับMelting Passes ทีมนักฟุตบอลผู้ลี้ภัยที่อาศัยในแพรีส  และสนับสนุนการก่อสร้างskate parkให้กับเยาวชนผู้รักการเล่น skateboard ในกาน่า   ทั้งยังบริจาคเงินเพื่อซ่อมแซมสวนสารธารณะและสวนสนุกสำหรับเด็กๆในชิคาโก  

ไม่น่าแปลกใจว่า  เมื่อชาวเน็ทพุ่งโจมตีเขาด้วย cancel culture  ทั้งเพื่อนฝูงและดีไซน์เนอร์ผิวดำ Samuel Ross  ได้ออกโรงปกป้องเขาเต็มตัว  และชี้ว่า ทีมงานหลักของเขามี POC (people of color หรือเชื้อชาติที่ไม่ใช่ผิวขาว) ในสัดส่วนถึง 4ใน 5  


Diversity ไม่ใช่เทคนิคการตลาด

โลกแฟชั่นจะเปิดกว้างกับความหลากหลายโดยปราศจากอคติหรือไม่   Virgilเคยแสดงความเห็นไว้ว่า

"มันจะต้องใช้เวลาครับ และคงอีกนาน  แต่เราจะต่อสู้เพื่อเปิดโอกาสให้คนที่ต้องคอยหลบซ่อนออกมามีปากมีเสียง   และในที่สุด ระบบเศรษฐกิจก็จะเผยให้เห็นถึงโลกที่เป็นจริง  ความหลากหลายทางแฟชั่น ไม่ใช่เทคนิคการตลาด"

เขายังได้เผยกับนิตยสาร GQ กับการนำเสนอความหลากหลายผ่านนางแบบนายแบบไว้ว่า

"ผมทำงานกับนายแบบนางแบบโดยมองว่าพวกเขาเป็นมนุษย์ ไม่ได้เป็นเพียงร่างที่ช่วยให้เสื้อผ้าของผมดูดี  ไม่ใช้แค่ว่าพวกเค้ามีผิวสีเข้ม  แต่เป็นเพราะว่าพวกเค้าคือศิลปินและเพื่อน"

"ในตอนนี้ผมมีสถานะที่จะช่วยเปลี่ยนแปลงวงการด้วยผลงาน ดังนั้นผมควรจะทำมัน นี่ไม่ใช่ความลับซับซ้อนอะไร พวกเราคือดีไซน์เนอร์ พวกเราสามารถสร้างเทรนด์ พวกเราสามารถชี้คนให้เห็นถึงปัญหาต่างๆได้ เราสามารถดึงดูดให้ผู้คนจำนวนมากหันมาให้ความสนใจต่อบางสิ่งบางอย่าง หรือแม้กระทั่งเรียกร้องความสนใจมายังตัวเรา แต่ผมจะไม่ทำแบบนั้น ผมอยากจะใช้ฐานะที่เป็นหนึ่งในดีไซน์เนอร์อเมริกันเชื้อสายแอฟริกันของแบรนด์ใหญ่เพียงไม่กี่คนในวงการเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวในรูปแบบของการประพันธ์ สำหรับผม สิ่งแรกที่คิดถึงนายแบบและนางแบบคือความเป็นศิลปิน ไม่ได้มองว่าพวกเขาเป็นคนผิวดำ"


ฉายาเจ้าชายแห่งงาน collaboration  


เมื่อพูดถึงผลงาน collaboration  ของ Virgil ก็อาจะทำให้คุณนึกถึงรองเท้า Nike x Off-Whiteที่ขึ้นชื่อบือชาว่าหาซื้อยากจนทำให้มีคนยอมควักกระเป๋าซื้อต่อจากผู้ที่จับจองมาขายทำกำไร


 หากไล่เรียงชื่อแบรนด์ตั้งแต่ Jimmy Choo,  McDonald's, Mercedes Ben และ Evian  (ใช่แล้ว  เขามีงาน collab กับแบรนด์น้ำแร่)  ยังมีอีกหลายผลงานที่ทำให้ฟันธงได้ว่า เขาไม่ขีดกรอบจำกัดเรื่องการสร้างสรรค์ร่วมกับศิลปินคนอื่น 

ไม่เพียงแต่จะสร้างชื่อเสียงโดดเด่นในวงการแฟชั่น เขายังข้ามไปร่วมงานกับ Ikea เพื่อออกแบบเฟอร์นิเจอร์และข้าวของเครื่องใช้ประดับบ้าน และยังสร้างผลงานร่วมกับ Takashi Murakami ศิลปินชื่อดังจากญี่ปุ่นผู้ทำให้ภาพดอกไม้หน้ายิ้มได้รับความนิยมไปหลายประเทศ  ทั้งสองไม่ได้มีความสัมพันธ์แบบprofessionalเท่านั้น แต่ยังเป็นเพื่อนกันอีกด้วย  

Serena Williams สร้างความฮือฮาเมื่อเธอหวนคืนคอร์ดเทนนิสหลังจากหยุดทำหน้าที่คุณแม่มือใหม่ ชุดcatsuit ฝีมือการออกแบบของ Virgil กลายมาเป็นประเด็นร้อนแรงเมื่อตัวแทนผู้จัดการแข่งขัน French Open ประกาศว่าจะไม่อนุญาตให้นักกีฬาเทนนิสใส่ชุดเต็มตัวเช่นนี้เข้าร่วมแข่งอีกต่อไป แม้จะมีเสียงวิจารณ์หนักว่า นี่คือแนวคิดที่กดผู้หญิงไม่ให้มีทางเลือกในเรื่องการแต่งกาย แต่ฝ่าย Serena ไม่ได้ fight ต่อ เธอประกาศว่า เมื่อได้ใส่ชุดนี้แล้ว ทำให้รู้สึกราวกับเป็นเจ้าหญิงนักสู้ เธอเลือกชุดนี้เพราะป้องกันปัญหาการอุดตันของหลอดเลือด เมื่อ French Open ไม่ยอมรับ เธอก็ใส่ catsuit ใน Australian Open ซะเลย


Serena คือหนึ่งในคนดังที่ใจสลายต่อการจากไปของ Virgil เธอกล่าวไว้อาลัยที่เต็มไปด้วยคำชื่นชมยาวเหยียด และยังเผยถึงครั้งสุดท้ายที่ได้พบกันว่า เธอไม่รู้แม้แต่น้อยว่าเขาจะเหลือเวลาสั้นถึงเพียงนี้  




ขวัญใจ trendsetter หนุ่มสาว


ความสัมพันธ์รูปแบบเกื้อกูลกันระหว่างดีไซน์เนอร์ luxury brand และเหล่าcelebity เป็นเรื่องที่พวกเราต่างคุ้นเคย ในขณะที่แบรนด์ดังเต็มใจจะส่งสินค้าไปเป็นของขวัญให้superstarใช้กันจนคนธรรมดายังต้องอิจฉา แต่สิ่งที่ได้รับตอบกลับมาคือการโพรโมทที่ช่วยกระตุ้นยอดขายจนต้องผลิตสินค้าราคาแพลงเหล่านั้นซ้ำแล้วซ้ำอีกเพื่อตอบสนองความต้องการของนักช็อป เรามักจะเห็นดีไซน์เนอร์ luxury brand โพสถ่ายรูปเคียงข้างคนดังด้วยสีหน้าภูมิใจ หลายคนสานต่อมิตรภาพจนแนบแน่น ไม่ใช่มีเพียงแต่เรื่องธุรกิจเท่านั้น




เห็นได้ชัดเจนว่า ผลงานของ Virgil ได้ดึงดููดใจเหล่า trendsetter ผู้โด่งดัง ทั้งเหล่าศิลปินทรงอิทธิพล Jay Z & Beyonce, Rihanna, Drake, Justin Bieber รวมไปถึงอิทเกิร์ลอย่าง  Bella Hadid และ Kylie & Kendall Jenner   พวกเค้าถือเป็นขุมพลังสำคัญที่ช่วยโพรโมทสินค้าให้กลายมาเป็นกระแสร้อนแรง      เมื่อถึงวันที่ต้องจากลากันอย่างไม่คาดคิด   หลายคนได้แสดงความไว้อาลัยด้วยคำพูดชื่นชมความสามารถของผู้ล่วงลับ ทั้งประสบการณ์อันดีงามจากการทำความรู้จักกัน




การเดินทางของ Virgil ไปสู่จุดหมายบนโลกอาจจะสิ้นสุดลงแล้ว แต่ผลงานที่สร้างชื่อจะกลายมาเป็นแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นหลังดังที่เขาเคยแสดงความตั้งใจไว้เสมอ



candy

candy

ติดตาม Mouth On The Web แล้วอย่าลืม Mouth On The Face นะคะ ^ ^

FULL PROFILE