เมื่อคนดังเปิดใจประสบการณ์ทำแท้ง

45 12
กฎหมายต่อต้านการทำแท้ง   ชนวนความขัดแย้งที่ทำให้ชาวอเมริกันจำนวนมากมายได้ร่วมใจกันขัดขวางไม่ให้ภาครัฐใช้อำนาจบีบบังคับในสิทธิทางร่ายกายของผู้หญิง  สร้างความพรั่งพรึงว่า  นี่คือก้าวสำคัญสำหรับนักการเมืองฝ่ายอนุรักษ์นิยมที่ต้องการกระตุ้นฐานเสียงเพื่อร่างกฎหมายต่อต้านการทำแท้งในอีกหลายรัฐ   โดยเฉพาะรัฐทางใต้ที่มีตัวเลขประชากรนับร้อยล้าน    และถือว่าเป็นกฎหมายต้านการทำแท้งที่รุนแรงที่สุดในกลุ่มประเทศเสรีนิยมที่พัฒนาแล้ว







ประเด็นความในสังคมเกิดขึ้นนับตั้งแต่การผ่านกฎหมายต้านการทำแท้งในแอละแบม่าในปี 2019 และสถานการณ์เริ่มตึงเครียดยิ่งขึ้นเมื่อเท็กซัสได้มุ่งมั่นผ่านกฎหมายนี้จนสำเร็จ หลังจากเมื่อเดือนที่แล้ว ศาลสูงแห่งสหรัฐอเมริกาได้ปฏิเสธคำร้องฉุกเฉินเพื่อระงับการห้ามทำแท้งในรัฐเท็กซัส นั่นหมายว่า ผู้ที่ตั้งครรภ์มากกว่า 6สัปดาห์จะไม่ได้รับอนุญาตให้ทำแท้งอย่างถูกกฎหมาย หากได้รับการวินิจฉัยว่า การตั้งครรภ์ไม่มีแนวโน้มที่จะส่งผลเสียต่อสุขภาพหรือเป็นอันตรายต่อชีวิตของสตรีผู้ตั้งครรภ์

ผู้ว่าการรัฐเท็กซัส Greg Abbot ยังประกาศว่า จะไม่รวมเหยื่อที่ตั้งครรภ์เพราะถูกข่มขืน และการร่วมประเวณีในเครือญาติสนิทเป็นข้อยกเว้น เพราะตั้งเป้าหมายสำคัญในการ'ปกป้องชีวิตเด็กทุกคนนับตั้งแต่ที่เริ่มทีจังหวะการเต้นของหัวใจ' และจะมุ่งมั่นกวาดล้างอาชญากรรมข่มขืนไปจากถนนหนทางด้วยการจับกุมผู้ร้ายมาทำโทษ แทนที่จะปล่อยให้มีเหยื่อที่ถูกข่มขืนจนตั้งท้อง อย่างไรก็ตาม มีเสียงโต้แย้งว่า จากหลากหลายกรณีชวนสลดใจ ผู้ก่อเหตุคือผู้ที่คนใกล้ตัวของเหยื่อ มิใช่ผู้ร้ายที่รอฉุดคร่าผู้หญิงตามถนน ร้ายกาจไปกว่านั้นคือเหยื่อถูกคนในครอบครัวล่วงละเมิดจนตั้งครรภ์ แต่กลับถูกซ้ำเติมด้วยกฎหมายต่อต้านการทำแท้ง




กระแสความขัดแย้งเกิดขึ้นมานับตั้งแต่รัฐแอละแบม่าได้เริ่มเป็นmodelในการผ่านกฎหมายต่อต้านการทำแท้ง ซึ่งผู้สนับสนุนส่วนใหญ่คือ กลุ่มผู้เชื่อมั่นในหลักศาสนาที่ตัดสินว่า นี่คือพฤติกรรมเสื่อมทรามที่ไม่สามารถยอมรับได้ หรือรุนแรงกว่านั้น ก็wfhตราหน้าสตรีที่ตัดสินใจทำแท้งว่าเป็นฆาตกรทำลายชีวิตในครรภ์ แต่ในขณะเดียวกันผู้คนมากมายที่เชื่อมั่นในสิทธิมนุษยชนและบุคคลผู้มีชื่อเสียงจากวงการบันเทิงได้แสดงจุดยืนร่วมกันเพื่อเรียกร้องให้ระงับการผ่านกฎหมายนี้  เมื่อมาถึงทีของรัฐเท็กซัสซึ่งขนาดใหญ่โตและมีประชากรเกือบสามสิบล้านคน   ปฏิกิริยาตอบรัลของสังคมก็ยิ่งดุเดือด   คนดังที่ร่วมประนามกฎหมายนี้มีทุก gen   ไม่ว่าจะเป็น Billie Eilish, Jennifer Lawrence, Lady Gaga, Rihanna   รวมไปถึงหนุ่มคนดังอย่าง Michael B. Jordan, John Legend,  Chris Evans  และอีกมากมาย


การเคลื่อนไหวของกลุ่มคนดังไม่ได้วนเวียนกับการใช้ social media เพื่อปลุกใจผู้คนด้วยข้อความสั้นๆเท่านั้น   แต่จากสถานการณ์ที่ทำให้คนในสังคมรู้สึกตึงเครียดกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในหลายรัฐ   ผู้ที่มีชื่อเสียงกลุ่มหนึ่งได้ออกมาเปิดเผยถึงประสบการณ์ที่เคยผ่านการทำแท้งซึ่งสร้าง impact ที่สำคัญต่อชีวิต     ผู้หญิงเหล่านั้นมิได้ประกาศเพื่อโอ้อวดหรือชี้โน้มน้าวใจผู้อื่นว่าว่าการตัดสินใจของพวกเธอช่างกล้าหาญสมควรได้รับคำยกย่องชมเชย   แต่เป็นการแสดงเจตนารมณ์อย่างแน่วแน่ว่า  เพราะอะไร การตัดสินใจยุติการตั้งครรภ์ในอดีตจึงจำเป็นต่อพวกเธอเป็นอย่างยิ่ง


Ashley Judd:   หากไม่ตัดสินใจทำแท้งในวันนั้น ก็คงต้องกลายพ่อแม่ที่ร่วมเลี้ยงดูลูกกับผู้ชายที่ข่มขืนเธอ



ผุ้คนมักจินตนาการถึงชีวิตอันสมบูรณ์แบบของนักแสดงฮอลลีวู้ด พวกเค้าสร้างรายได้มากมายจนสามารถเลือกที่จะหยุดทำงานได้ครั้งละนานๆ และดูมีความสุขกับ lifestyle ที่เลิศหรู แต่หลายคนก็ได้เผยถึงประสบการณ์เลวร้ายที่เคยพานพบมา รวมถึง Ashley Judd ที่ต้องใช้ชีวิตอย่างทุกข์ทนเพราะถูกข่มขืน ซ้ำร้ายยังตั้งครรภ์ขึ้นมา และหากเธอเลือกให้กำเนิดลูกในครรภ์ จากข้อกฎหมายเคนทักกี้จะส่งผลให้ชายที่ข่มขืนเธอสามารถยื่นสิทธิ์ในความเป็นพ่อเด็กทั้งในรัฐเคทักกี้และเทนเนสซีที่เธออาศัยอยู่ และบีบให้เธอต้องทำหน้าที่เป็นพ่อแม่ร่วมกับคนที่ทำร้ายเธอที่ยากจะให้อภัย

" ฉันรู้สึกขอบคุณเป็นอย่างยิ่งที่สามารถเข้าถึงการทำแท้งที่ปลอดภัยและถูกกฎหมาย"



Ashley ชี้ว่า  ผู้คนอาจจะเข้าใจว่า การบีบบังคับให้คลอดแม้จะจะตั้งครรภ์จากการข่มขืนมักจะเกิดขึ้นในประเทศที่กดขี่ผู้หญิงไม่ให้มีปากมีเสียง แต่กลายเป็นว่าผู้หญิงอเมริกันในหลายรัฐอาจจะต้องเผชิญกับเรื่องนี้เช่นเดียวกัน

  "เราเป็นชาติที่ยิ่งใหญ่  แต่ผู้ข่มขืนกระทำชำเราใน 22 รัฐจะได้รับสิทธิ์ในความเป็นพ่อ"   ในหลายรัฐเหล่านั้น  สิทธิ์ในการเป็นผู้ให้กำเนิดจะไม่ถูกเพิกถอนไปจนกว่าชายที่กระทำชำเราจะถูกตัดสินจำคุกในคดีล่วงละเมิดทางเพศ  ซึ่งผลการสู้คดีอาจจะไม่ลงเอยเช่นนั้นเสมอไป 




Uma Thurman: 
 เป็นการตัดสินใจที่ยากลำบากที่สุดในชีวิต  แต่ก็เป็นจุดที่นำไปสู่เส้นทางแห่งความสุขวันข้างหน้า




เพราะโด่งดังในฐานะนางเอก A List มาเป็นเวลานาน บางคนอาจจะลืมเลือนไปว่า เมื่อก่อนนั้น Uma Thurman เข้าสู่วงการด้วยอาชีพนางแบบด้วยวัยไม่ถึงยี่สิบ วันเวลาที่เปลี่ยนผัน เธอได้ก้าวจากเด็กสาวไม่ประสามาเป็นนักแสดงชื่อดังที่สามารถใช้สถานะของตัวเองเพื่อแสดงจุดยืนเพื่อเรียกร้องให้สังคมตระหนักถึงปัญหาสังคม หลังจากที่ได้ประจักษ์ถึงความเปลี่ยนแปลงในการร่างกฎหมายต่อต้านการทำแท้งที่เกิดขึ้นในยุคโมเดิร์น เธอก็ได้ตัดสินใจเขียนบทความเล่าประสบการณ์ผ่าน The Washington Post ว่า เป็นหนึ่งในผู้หญิงที่ผ่านการทำแท้งมาแล้ว

"ช่วงที่อยู่ในวัยทีนตอนปลาย  ฉันตั้งท้องกับผู้ชายที่อายุที่สูงวัยกว่ามากโดยไม่ได้ตั้งใจ  ฉันใช้ชีวิตโดยที่ลากสูทเคสเดินทางไปในยุโรปห่างไกลจากครอบครัว และเพิ่งจะเริ่มต้นทำงานค่ะ ฉันคิดไม่ตกว่าจะต้องทำเช่นไร   ฉันอยากจะเก็บเด็กในท้องไว้  แต่ว่าจะเลี้ยงลูกยังไงล่ะ?


"ฉันเพิ่งจะเริ่มจะได้งาน ยังไม่มีกำลังปัจจัยที่เพียงพอที่จะสร้างบ้านที่มั่นคง  ตัวเองยังเอาไม่รอด  ฉันจึงร่วมตัดสินใจกับครอบครัวว่า  ไม่สามารถเก็บเด็กไว้คลอดได้ พวกเราเห็นพ้องต้องกันว่า การทำแท้ง
เป็นการตัดสินใจที่เหมาะสม แต่มันก็ทำให้จิตใจของฉันแตกสลาย"  

"เรื่องราวนี้มีแต่ความเจ็บปวด  มันกลายเป็นความลับดำมืดของฉันจนมาถึงตอนนี้ "

"ฉันไม่รู้สึกผิดหวังกับเส้นทางที่ตัวเองได้เลือก  การทำแท้งในวัยทีนคือการตัดสินใจที่ยากลำบากที่สุดในชีวิต   มันเคยสร้างความทุกข์ทรมานมาก่อน  และถึงทุกวันนี้ก็ยังทำให้เศร้าใจ แต่มันคือเส้นทางที่นำไปสู่การใช้ชีวิตที่ทำให้ฉันได้สัมผัสความสุขและความรักในเวลาต่อมา   การเลือกที่จะยุติการตั้งครภ์ในตอนนั้นส่งผลให้ฉันเติบโตขึ้น และได้กลายมาเป็นแม่คนตามรูปแบบที่ฉันปรารถนา"



 

Umaได้บรรยายประสบการณ์ทำแท้งอย่างถูกกฎหมายที่เยอรมนีว่า ทำให้เกิดความรู้สึกเจ็บปวดทางร่างกายอย่างหนัก แต่ไม่คร่ำครวญออกมา เพราะภายในใจเต็มไปด้วยความรู้ละอายใจว่า เธอสมควรจะต้องเจอกับความเจ็บปวดเช่นนี้

"ฉันวางมือที่เกี่ยวนิ้วกันแน่นหนาที่กลางอก  เมื่อกระบวนการยุติการตั้งครรภ์เสร็จสิ้นลง หมอได้จ้องลงมาที่ฉันและบอกว่า มือของคุณสวยดีนะ คุณทำให้ผมนึกถึงลูกสาวตัวเอง    การแสดงออกถึงความเป็นมนุษย์ครั้งนั้นเป็นช่วงเวลาที่ได้ฉันสัมผัสถึงความเห็นอกเห็นใจมากที่สุดในชีวิต  ในสายตาของหมอ  ฉันยังมีความเป็นคน ฉันเป็นลูกสาว ฉันยังเป็นแค่เด็กสาวคนหนึ่ง"


Umaเผยว่า เธอเก็บเรื่องนี้ไว้เงียบเชียบไม่ให้คนอื่นได้รู้มานาน   แต่ตัดสินใจประกาศให้โลกได้รู้เพราะรู้สึกโสกเศร้าและประหวั่นพรั่นพรึงกับกฎหมายต่อต้านการทำแท้งในรัฐเท็กซัส  แม้ว่าคนอื่นอาจจะไม่สนใจการแสดงความเห็นของนักแสดงอย่างเธอ  แต่ก็เชื่อว่า เธอมีความรับผิดชอบที่จะจุดประเด็นนี้

"ฉันรู้สึกหดหู่ใจที่กฎหมายทำให้พลเมืองหันมาขัดแย้งกันเอง รวมกลุ่มศาลเตี้ยเพื่อไล่ล่าเอาผิดผู้หญิงที่ตกอยู่ในสถานการณ์เสียเปรียบเหล่านี้  ไม่ยอมรับการตัดสินใจไม่คลอดลูกซึ่งพวกเธอไม่สามารถเลี้ยงดูได้ดีพอ  และเป็นการดับความหวังในการสร้างครอบครัวในแบบที่พวกเธอต้องการในอนาคต"


หลังจากที่ความพร้อมเต็มตัว ไม่ว่าจะเป็นสถานะการเงินและจิตใจ Uma ก็ตัดสินใจสร้างครอบครัว และมีภาพที่เผยถึงความรักอันอบอุ่นกับลูกๆออกมาหลายครั้ง แม้ว่าลูกสาวลูกชายที่เกิดกับ Ethan Hawke จะโตเป็นหนุ่มเป็นสาวก็ยังสนิมสนมกลมเกลียวกับแม่ไม่เปลี่ยน



เมื่อไม่กี่เดือนก่อน  Lady Gagaได้เปิดเผยข้อมูลสุดช็อคว่า   ในระหว่างที่พยายามมุ่งมั่นเพื่อสร้างผลงานดนตรีในวัย 19  เธอถูก producer ข่มขืนจนตั้งท้อง   แม้จะไม่ได้อธิบายต่อว่าได้ตัดสินใจคลอดเด็กหรือไม่  แต่เธอก็คือหนึ่งในกลุ่มคนดังที่ออกมาประนามกฎหมายต่อต้านการทำแท้ง   ในกรณีของรัฐแอละแบม่าที่กำหนดบทลงโทษของแพทย์ที่ดำเนินการยุติการตั้งครรภ์ให้กับผู้หญิงที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มยกเว้นไว้รุนแรง  ทำให้ Lady Gaga ตั้งคำถามว่า  แพทย์ยังต้องรับโทษหนักกว่าอาชญากรข่มขืนหรืออย่างไร?  



Busy Philipps:  ตั้งท้องเมื่ออายุ 15 และไม่รู้สึกอับอายในการเลือกตัดสินใจทางการแพทย์


นางเอกและพิธีกรรายการ Busy Tonight เคยสร้าง viral ในโลกออนไลน์ด้วยแฮชกแทก #YouKnowMe ดึงดูดให้ผู้หญิงจำนวนมากได้แบ่งปันประสบการณ์ทำแท้งเพื่อสื่อสารให้ได้รับรู้ว่า พวกเธอไม่ได้โดดเดี่ยว

"ผู้หญิงจำนวน1ใน4 เคยทำแท้ง หลายคนคิดว่าพวกเค้าไม่รู้จักใครที่เคยทำแท้งมาก่อน แต่คุณรู้แล้วว่าฉันเคย งั้นเรามาทำแบบนี้กันค่ะ ถ้าคุณเป็น1ใน 4 คนที่ว่า ช่วยกันแชร์เรื่องนี้ออกไปและยุติความรู้สึกละอายใจ ใช้ #youknowmeเพื่อเผยความจริงของคุณกันค่ะ"

"การที่ฉันเล่าว่าเคยทำแท้งตอนอายุ15 ก็ไม่ใช่ว่าฉันกล้าหาญ เพราะมันเป็นเรื่องทางการแพทย์ เป็นตัวเลือกของฉัน และฉันไม่รู้สึกเสียดายเลยค่ะ"


"ภายในสัปดาห์ต่อมาหลังจากที่ฉันแชร์เรื่องราวของตัวเอง  มีผู้หญิงเข้ามาคุยกับฉันตามท้องถนน supermarketและgym  พวกเธอกล่าวขอบคุณในความกล้าหาญของฉันทั้งน้ำตา   แต่คำว่ากล้าหาญไม่ได้ทำให้ฉันรู้สึกสบายใจนัก ทำไมการที่พูดถึงสิ่งที่คนเป็นล้านๆทั่วโลกเคยผ่านประสบการณ์เดียวกันมาจึงเป็นเรื่องกล้าหาญล่ะ?  แล้วฉันก็ได้รับรู้ว่า มันถือเป็นเรื่องกล้าหาญเพราะผู้หญิงถูกสั่งสอนให้รู้สึกละอายใจต่อร่างกายของพวกเราเองมาตั้งแต่เกิดแล้ว"





ไม่เพียงแต่ใช้แฮชแทกจนสร้างกระแสเกรียวกราวเพื่อลบตราบาปของการทำแท้ง Busyยังถูกเรียกตัวไปเป็นพยานในการให้การต่อหน้าคณะกรรมการตุลาการเพื่อแก้ต่างข้อการสู้คดีข้อกฎหมายต่อต้านการทำแท้งที่ขัดต่อสิทธิในการสืบพันธุ์ของพลเมืองว่า เธอตั้งครรภ์ขึ้นมาในวัย 15 และไม่เคยข้องใจกับการตัดสินใจการแท้งของตัวเองเลย แต่กฎหมายที่เปลี่ยนไปในรัฐแอริโซน่าอันเป็นบ้านเกิดของเธอ หากเด็กสาววัยทีนแจ้งความประสงค์จะทำแท้ง ก็ต้องผ่านขั้นตอนที่ซับซ้อนกว่าในอดีตมาก

"ถ้าฉันเป็นเด็กวัยทีนในตอนนี้ ก็จะต้องได้รับคำยินยอมจากพ่อแม่ ฉันจะต้องถูกบังคับให้ไปทำultrasound รับคำสั่งจากรัฐให้เข้าสู่กะบวนการให้ปรึกษาที่จงใจบีบให้ฉันเปลี่ยนใจจากความอดสู และยังต้องรออีก24 ชั่วโมงเพื่อให้แน่ใจว่าฉันยังแน่วแน่ที่จะยุติความตั้งครรภ์จริงๆ"

"ลำดับสุดท้าย ฉันจะถูกบังคับให้ระบุเหตุผลต่อรัฐว่าเหตุใดจึงต้องการทำแท้ง เอาล่ะค่ะ ฟังเหตุผลนะคะ นี่คือร่างกายของฉัน ร่างกายนี้ไม่ได้เป็นของรัฐค่ะ"


candy

candy

ติดตาม Mouth On The Web แล้วอย่าลืม Mouth On The Face นะคะ ^ ^

FULL PROFILE