แชร์ How to ทำให้เงินงอกเงยในยุคนี้

48 19

สวัสดีค่ะทุกคน วันนี้มิ้ลจะมาแชร์ How to ในการต่อยอดเงินให้งอกเงย


........


 คือมิ้ลว่าเรื่องนี้สำคัญนะคะ เพราะเป็นวัยรุ่นเนี่ย ยังมีเงินไม่เยอะมาก ถ้าไม่ศึกษาเรื่องการลงทุน ลำพังรอกินดอกเบี้ยเงินฝากธรรมดาๆ ก็ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่เงินจะโตเนอะ ซึ่งคำตอบของมิ้ลก็คือ การลงทุนในกองทุนรวมค่ะ

หลายคนอาจจะยังไม่รู้จัก หรืออาจจะไม่เข้าใจว่ากองทุนรวมคืออะไร ดียังไง ไม่เป็นไรค่ะ เดี๋ยวมิ้ลจะมาแนะนำ ตามมาเลยค่ะ


เรื่องของเรื่องก็คือพอดีว่ามิ้ลมาเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์มีแต่ได้ ที่ธนาคารกรุงศรี เพราะรู้มาว่าบัญชีนี้ให้ดอกเบี้ยสูง คือมิ้ลลองเทียบๆ กับที่อื่นแล้ว อันนี้แหล่ะใช่ที่สุดในตอนนี้ แต่พอเปิดบัญชีออมทรัพย์เสร็จก็คิดว่าถ้าอยากจะให้เงินเราโตได้มากกว่านี้ มันมีทางอื่นอีกมั้ยนะ ก็เลยลองถามพี่พนักงานที่สาขา แล้วพอดีพี่เค้าแนะนำให้รู้จักกับกองทุนรวม ซึ่งคือตอนนั้นยังไม่ได้สนใจอะไรมาก แต่พอกลับบ้านว่างๆ ก็เลยลองหาข้อมูลหาว่ากองทุนรวมคืออะไร

สรุปง่ายๆ กองทุนรวมก็คือ การที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน หรือที่เรียกว่า บลจ. ที่เค้ามีผู้เชี่ยวชาญเรื่องการลงทุน ช่วยเอาเงินจากคนที่อยากลงทุนทั้งหลาย (ก็คนแบบเราๆ นี่ล่ะ) รวมกันเป็นเงินก้อนใหญ่แล้วนำไปลงทุนตามนโยบายที่กำหนด เพื่อสร้างผลตอบแทนจากการลงทุน ถ้าลงทุนแล้วเกิดผลตอบแทนขึ้น ก็แบ่งให้กับคนที่ร่วมลงทุนทุกคนตามจำนวนหน่วยที่มีอยู่




ข้อดีของการลงทุนในกองทุนรวมมีอะไรบ้าง มาดูกันเลย


1. มีมืออาชีพคอยบริหารจัดการให้ เหมาะกับตัวมิ้ลที่ไม่มีความรู้มากนัก ไม่ต้องเสียเวลาไปศึกษาเอง จะได้เอาเวลาไปทำอย่างอื่นแทน 


2. มีเงินไม่มากก็เริ่มลงทุนได้ อย่างมิ้ลก็เริ่มหลักพันค่ะ แต่บางกองทุนจะลงทุนหลักร้อยบาทก็ยังได้


3. กองทุนรวมมีให้เลือกหลากหลายตามนโยบายการลงทุนที่ต่างๆ กัน ให้เราเลือกได้ตามเป้าหมายทางการเงินของเราและความเสี่ยงที่เรารับได้


4. สะดวกมากๆ ทุกอย่าง online ผ่านแอปหมด ทั้งซื้อ-ขาย ดูผลการดำเนินงาน ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ค่ะ

แต่ๆ ขึ้นชื่อว่าการลงทุนก็มาพร้อมความเสี่ยงนะ ซึ่งเราเลือกได้ว่าเราจะรับความเสี่ยงมาก-น้อยแค่ไหน ส่วนตัวมิ้ลเอง มิ้ลรับความเสี่ยงได้ระดับนึงเลยค่ะ ก็เลยตัดสินใจเลือกกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับกลางๆ เริ่มด้วยเงินทีละน้อยก่อน เป็นการศึกษาเรียนรู้แนวทางกันไป 

มิ้ลเปิดบัญชีกองทุนรวมกับธนาคารกรุงศรี ซึ่งขั้นตอนง่ายมาก แต่ก่อนอื่นต้องมีบัญชีออมทรัพย์ธนาคารกรุงศรีก่อน เพื่อไว้ตัดเงินเวลาซื้อและรับเงินเวลาขายคืนกองทุนรวม ถ้าใครยังไม่มี ก็เปิดบัญชีออนไลน์ผ่าน KMA-Krungsri Mobile App ได้เลย แล้วก็มาเปิดบัญชีกองทุนรวมต่อได้เลย สะดวก ไม่ต้องไปสาขา 

แล้วทำไมมิ้ลเลือกเปิดบัญชีกองทุนรวมที่ธนาคารกรุงศรี คือที่นี่เค้าดีกว่าที่อื่นยังไงนะ? 


เหตุผลก็คือ ธนาคารกรุงศรีเค้าขายกองทุนรวมจากหลายบลจ. ชั้นนำ คือ มีกองทุนรวมให้เลือกเยอะเลย ไม่ได้ขายแต่กองทุนของ บลจ. ในเครือเค้าเองเท่านั้น แล้วก็คัดมาแต่กองทุนที่ผลการดำเนินงานดีๆ ทั้งนั้น อยากลงทุนเสี่ยงมาก เสี่ยงน้อย ในประเทศ หรือต่างประเทศก็มีให้เลือกครบ แถมเค้ายังมีบริการให้คำแนะนำการลงทุนที่เรียกว่า Smart advisor เป็นฟีเจอร์หนึ่งอยู่ใน KMA ให้เราเล่นฟรีๆ ได้เลยนะ จะได้เช็คดูว่าเราเหมาะกับกองทุนรวมประเภทไหน ควรมีสัดส่วนการลงทุนอย่างไร ทันสมัยมากๆ

มาถึงตรงนี้หลายคนคงสนใจอยากลงทุนในกองทุนรวมกันแล้วใช่มั้ย แต่ก่อนจะเริ่มลงทุนเรามาดูกันก่อนว่าสิ่งที่เราควรรู้มีอะไรบ้าง 

1. อันดับแรกเราต้องสำรวจตัวเองก่อน ว่ายอมรับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งสามารถประเมินได้เบื้องต้นจากการทำแบบประเมินความเสี่ยงที่ธนาคาร หรือ บลจ. ให้เรากรอกตอนเปิดบัญชีกองทุนรวม เพื่อที่เราจะได้เลือกกองทุนรวมที่เหมาะสมได้

2. พอรู้ระดับความเสี่ยงที่รับได้แล้วก็มาเลือกประเภทกองทุนกัน ซึ่งมิ้ลขอแนะนำสั้นๆ เพื่อเป็นความรู้ และเป็นการให้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกกองทุนรวมนะคะ โดยหลักๆ แล้วกองทุนรวมจะแบ่งออกเป็นประเภท ตามสินทรัพย์ที่กองทุนลงทุน หรือลักษณะพิเศษของกองทุน ได้แก่

  • กองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market Fund) 

  • กองทุนรวมตราสารหนี้ (Fixed Income Fund) 

  • กองทุนรวมผสม (Mixed fund) 

  • กองทุนรวมตราสารทุน (Equity Fund) 

  • กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (FIF)

  • กองทุนรวมที่ลงทุนในทรัพย์สินทางเลือก (Alternative Investment) 

  • กองทุนรวมที่ให้สิทธิ์ลดหย่อนภาษี เช่น กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) และ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) 

ซึ่งสำหรับมิ้ล มิ้ลจะชอบกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศมากเป็นพิเศษ เพราะมักจะมีนโยบายการลงทุนที่คูลมากๆ เช่น ไปลงทุนในเทคโนโลยีแห่งอนาคต อย่างพวก Cloud computing หรือ AI หรือเทคโนโลยีใหม่ๆ ทางการแพทย์ หรือไปลงทุนในภูมิภาคต่างๆ ของโลกที่กำลังเติบโต คืออยากให้เพื่อนๆ ลองศึกษาเพราะธุรกิจในบางหมวดอุตสาหกรรมเนี่ย ในประเทศเรายังไม่ค่อยมี เลยต้องไปอาศัยลงทุนในต่างประเทศค่ะ ส่วนนี้ถ้าใครสนใจ แนะนำให้ไปหาข้อมูลเพิ่มเติมนะคะ

3. ศึกษาผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของกองทุนรวม เพื่อที่เราจะได้เปรียบเทียบผลการดำเนินงานของกองทุนรวมที่เราสนใจกับดัชนีชี้วัด (Benchmark) หรือเปรียบเทียบกับกองทุนที่อยู่ในประเภทเดียวกันได้ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะอยู่ใน Fund Fact Sheet นั่นเอง

4. ศึกษาค่าธรรมเนียมของกองทุนรวมแต่ละกอง โดยค่าธรรมเนียมกองทุนรวมจะมีด้วยกัน 2 ส่วน

4.1 ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากผู้ถือหน่วย: เมื่อมีการซื้อ-ขายกองทุนรวม ค่าธรรมเนียมส่วนนี้จะถูกหักจากยอดซื้อ-ขาย โดยอัตราเปอร์เซ็นต์ที่เก็บจะไม่เท่ากันในแต่ละกองทุนรวม หรือบางกองทุนรวมก็ไม่มีการเรียกเก็บ 

4.2 ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากกองทุนรวม: เป็นค่าบริหารจัดการกองทุนรวมให้กับเรา ซึ่งคิดเป็นเปอร์เซ็นต์จากยอด NAV หรือมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน

5. ดูเงื่อนไขการซื้อ-ขาย เพราะแต่ละกองทุนรวมจะมีเงื่อนไขที่ต่างกันไป เราจะต้องศึกษารายละเอียดให้ครบ เช่น จำนวนเงินขั้นต่ำในการซื้อ หรือเงื่อนไขการขายคืน เพราะบางกองทุนรวมอาจไม่สามารถขายคืนได้ถ้ายังไม่ถึงกำหนดเวลา

6. หมั่นติดตามข้อมูลกองทุนเป็นประจำ ถึงแม้ว่าจะมีผู้เชี่ยวชาญคอยบริหารกองทุนรวมให้เรา แต่เราก็ต้องคอยติดตามข้อมูลข่าวสารของกองทุนรวมเป็นประจำ และควรทบทวนพอร์ตการลงทุนทุก 6 เดือน หรือ 1 ปี เวลาตลาดหรือเศรษฐกิจเปลี่ยนทิศทาง จะได้สามารถปรับพอร์ตการลงทุนได้ทันเวลา 

เอาล่ะ เมื่อเราศึกษาข้อมูลครบถ้วนแล้ว มิ้ลคิดว่าเราก็พร้อมที่จะลงทุนในกองทุนรวมแล้วล่ะ ตามมิ้ลมา มิ้ลจะบอกให้ว่าต้องทำอะไรบ้าง

การเปิดบัญชีกองทุนรวมไม่ยากเลย เพียงกรอกข้อมูลส่วนตัว ทำตามขั้นตอนไปเรื่อยๆ ระบบก็จะให้ทำแบบประเมินความเสี่ยง เราจะได้รู้ score ตัวเองด้วย ว่าเรารับความเสี่ยงได้แค่ไหน พอเปิดบัญชีเสร็จก็จะขึ้นหน้าจอแบบนี้ค่ะ แล้วก็สามารถซื้อกองทุนรวมได้เลยทันที ซึ่งกองทุนรวมที่มิ้ลอยากแนะนำวันนี้ก็คือ กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศชื่อ KFINNO-A

KFINNO-A: กองทุนเปิดกรุงศรี Disruptive Innovation – สะสมมูลค่า

นโยบายการลงทุนของกองทุนรวมนี้ คือ ลงทุนในตราสารทุนของบริษัทต่างๆ ทั่วโลกที่มีการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องหรือได้ประโยชน์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี หรือการเกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ผ่านกองทุนรวมต่างประเทศ Nikko AM ARK Disruptive Innovation Fund (กองทุนหลัก) เฉลี่ยรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV



ถามว่า KFINNO-A เหมาะกับใคร? ก็เหมาะกับคนที่มองหาโอกาสในการสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมเปลี่ยนโลก (Disruptive Innovation) หรือคนรุ่นใหม่แบบมิ้ลนี่ล่ะค่ะ

ซึ่งรายละเอียดอื่นๆ เพื่อนๆ เข้าไปอ่านได้จากเว็บของกรุงศรีได้เลยนะ 

อันนี้เป็นกองที่มิ้ลชอบนโยบายการลงทุน และทดลองซื้อไปแล้วเลยเอามาเล่าให้ฟังนะคะ

และทั้งหมดนี่ก็คือวิธีการทำเงินให้งอกเงยสำหรับมิ้ล ย้ำนิดนึงตอนนี้เศรษฐกิจไม่ค่อยดี เพื่อนๆ จะลงทุนอะไรก็ต้องคิดให้รอบคอบ ต้องศึกษาให้เข้าใจก่อนเสมอ และใครมีไอเดียการต่อยอดเงินแบบอื่นๆ ก็คอมเม้นบอกกันได้น้า

วันนี้มิ้ลขอจบการแนะนำไว้เพียงเท่านี้ เพื่อนๆ คนไหนสงสัยคอมเม้นต์ถามไว้ได้เหมือนกันนะคะ

ไว้เจอกันใหม่กระทู้หน้าค่ะ


millymilk

millymilk

สวัสดีค่ะ ชื่อมิ้ลค์ค่ะ ชอบเขียนชื่อตัวเองว่ามิ้ล

เพจ : มิ้ลรีวิววนไป
28 year | 1995
Make up | Skincare | Dog | Cat
Combination skin
E-mail : Thapanee.hk@hotmail.com
Facebook : Milk Thapanee
Instagram : Milchmilk.h
Line : Miko.ieie

FULL PROFILE