พล็อตละครสุดช้ำ เลิกผลิตซ้ำดีไหม ดูมาหลายสิบปีแล้ว!

59 16
ตอนนี้ประเด็นร้อนกับวงการ "ละครไทย" กลับมาอีกครั้ง หลังจากที่ละครเรื่อง "เมียจำเป็น" มีฉากที่นางเอกโดนคนร้ายทำร้าย แต่ทุกคนเข้าใจว่าโดนข่มขืน นางเอกกลับโดนด่าให้อับอาย แถมพระเอกที่เป็นสามีก็มีท่าทีกระอักกระอ่วนใส่ หลายคนตั้งคำถามว่านางเอกผิดอะไร? จนเกิดเป็นประแสแบนละคร และ #ข่มขืนผ่านจอพอกันที
และแน่นอนว่าไม่ใช่แค่ละครเรื่องนี้เรื่องเดียว แต่ถ้าไล่ดูประวัติศาสตร์การ ละครไทย ละครแนวนี้มีมาหลายสิบปีแล้ว เกิน 20-30 ปี! แต่ทำไมสื่อบ้านเรายังผลิตอะไรแบบนี้ซ้ำๆ ความจริงแล้วละครกำลังสะท้อนสังคมหรือนำพาสังคมกันแน่ อดเปรียบเทียบกับกับซีรีส์เกาหลีที่สนุก แต่ปราศจากฉากรุนแรงต่างๆ ไม่ได้

ทำไม พล็อตละครไทย เหล่านี้ยังขายดี

ทำไม พล็อตละครไทย เรื่องข่มขืนหรือใช้ความรุ่นแรง ยังคงผลิตออกมาเรื่อยๆ แม้โลกเราจะเข้าสู่ปี 2021 คำตอบแบบตรงตัวสุดก็เพราะยังมีคนดูอยู่เยอะ! พล็อตละครไทย แบบนี้ผลิตมากี่สิบปีก็ขายดีเหมือนเดิม ตัดภาพไปที่ซีรีส์เกาหลี จีน ญี่ปุ่นที่ พล็อตเรื่องสุดฟิน สนุกได้โดยไม่ต้องมีฉากแบบ ละครไทย ก็ยังสามารถขายดีข้ามทวีปได้ 
พล็อตละครไทย สุดฮิตต้องมี "พระเอกขืนใจนางเอก" ทำไมบางคนถึงดูแล้วฟิน มันกลายเป็นความรักได้ยังไงนะ? อาจเป็นเพราะความจำเก่าๆ ที่เราไป Romanticize เรื่องแบบนี้ (ว่าเป็นเรื่องที่โรแมนติก) ดูแล้วฟินซะใจดี อาจเป็นการเอาความรุนแรงที่ใช้ในชีวิตจริงไม่ได้ มาลงทีละครแทนแล้วกัน

พล็อตขืนใจก่อนแล้วรักกันทีหลัง มักเกิดจากการที่พระนางถูกบังคับให้แต่งงานกันโดยไม่ได้รักกัน วันดีคืนดีพระเอกก็ใช้กำลังทำร้ายนางเอก ขืนใจแล้วกลายมาเป็นความรักทีหลัง แต่อย่าลืมว่าถึงจะเป็นสามี-ภรรยากันแล้ว ถ้าอีกฝ่ายไม่ยอมหรือไม่เต็มใจก็ไปบังคับไม่ได้! บังคับ=ล่วงมะเมิดทางเพศ

1. ข่มขืน บังคับขืนใจให้จำยอม

ผู้ชายใช้กำลังที่มีมากกว่า ในการออกแรงกับผู้หญิง แล้วก็บังคับคืนใจให้ร่วมหลับนอนด้วย แม้จะร้องไห้ขัดขืนยังไงก็สู้แรงของผู้ชายไม่ได้อยู่ดี สุดท้ายก็จะโดนตีตราว่าเป็นเมียของตน

2. ใช้กำลัง เอะอะตบจูบๆ

ละครแนวตบจูบ ผู้หญิงตบผู้ชายก็จูบ มักเกิดจากที่ตัวละครทะเลาะกัน ฝ่ายชายมักพูดถ้อยคำดูถูกหรือเหยียดหยาม จนเกิดความเข้าใจผิด ฝ่ายหญิงก็ไม่รู้จะแก้ตัวยังไง เลยตบหน้าฝ่ายชายไปซะเลย พอโดนตบก็โกรธเลยตอบโต้การใช้กำลังด้วยการคุกคามทางเพศแทน

3. Victim Blaming โทษเหยื่อ ดูแคลนนางเอก

เมื่อมีตัวละครที่คนอื่นเข้าใจว่าถูกข่มขืน ไม่ว่าจะจริงหรือไม่ก็ตาม จะต้องมีเหล่าตัวร้ายมาคอยสมน้ำหน้า พูดจาถากถางให้รู้สึกด้อยค่าและอับอาย 

4. ทะเลาะตบตี จิกหัวใช้กำลัง

นางร้ายกับนางเอกตบตีจิกหัว ทะเลาะกันจนต้องลงไม้ลงมือ ใช้กำลังในการระบายความคับแค้นใจ แล้วก็ไม่ใช่ตบเพียะเดียวจบ จะต้องเปิดด้วยการด่า ใช้ถ้อยคำแสบๆ จิกกัน แล้วลงไม้ลงมือ

5. รีเสิร์ชน้อย ให้ข้อมูลผิด

ถ้าถามหาความสมจริง ละครไทยอาจไม่ใช่คำตอบ ไม่ว่าจะเรื่องของบทหรือเทคนิค CGI ก็ตาม เรื่องของซีจียังพอเข้าใจได้ ว่าอาจไม่ได้มีงบทุ่มหรือให้ความสำคัญมาก แต่บทหรือพล็อตเรื่องที่ควรจริงจัง เป็นวิชาการ หรือวิชาชีพ กลับให้ข้อมูลผิดๆ สร้างความสับสนและเข้าใจผิดให้คนดู เบื้องหลังคนเขียนบทอาจจะไม่มีเวลาไปทำการบ้านมาก แต่ก็ไม่ใช่ข้ออ้างที่จะเอามาให้เหตุผลแก้ตัวได้ เรื่องนี้ก็สะท้อนให้เห็นถึงความใส่ใจของผู้จัดหรือทีมสร้างได้เหมือนกัน

เห้ยแก อินมากไปไหม!

มีคนแบนก็ย่อมมีคนสนับสนุน พล็อตละครไทย แบบนี้อยู่ มันก็แค่ละครป้ะแก? จริงจังอะไรมากอะ ดูเพื่อความบันเทิงก็พอ! แล้วทำไมละครต่างประเทศสนุกๆ หรืออาจจะสนุกกว่าละครไทยด้วยซ้ำ กลับไม่เห็นจำเป็นต้องมีฉากแบบนี้ก็สนุกจนคนติดหนึบทั้งโลกได้นะ
แท้จริงแล้วละครหรือเปล่าที่หล่อหลอมสังคม นำสังคมให้ไปในทิศทางไหน ผลิตค่านิยมออกสู่สังคมจนคนนำไปทำตาม มาแลกเปลี่ยนกันได้เลยนะคะ :)


sweetsong13

sweetsong13

A dreamer who loves to write
www.sweetsong13.com
sweetsong13@gmail.com

FULL PROFILE