กระแส Plus Size ใน Asia

35 7
คุณผู้อ่านอาจจะคุ้นเคยกับคนดังฝั่งตะวันตก ผู้มีเรือนร่างอวบอิ่มและก้าวผ่านมาตรฐานความงามที่ยึดมั่นแต่ความผอมเท่านั้น เราได้เห็น Ashley Graham ที่ประสบความสำเร็จในวงการ fashion ติดต่อกันหลายปี

Adele ที่ได้รับเสียงชื่นชมเรื่องการขับร้องและความสวย และนางเอกระดับ A List ที่คว้ารางวัลออสการ์ แม้ว่าจะมีจะไม่ได้มีหุ่นเพรียวบาง

แต่ถ้าเป็นฝั่งเอเชียล่ะ? ผู้คนเริ่มเปิดใจยอมรับ plus size กันมากขึ้นรึเปล่า? มันจะเป็นแค่เทรนด์ที่ผ่านมาแค่วูบเดียว หรือมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นจริงๆ

ลองมาติดตามกันได้เลย



Naomi Watanabe




คนดังที่ปลุกกระแส  pocchari ในญี่ปุ่นให้เปรี้ยงปร้าง

คุณอาจจะจดจำเธอได้จากภาพสาวเจ้าเนื้อที่แสดงเลียนแบบ Beyonce และ LadyGaga ได้ฮาสุดๆ TIME ได้ยกให้เธอเป็นหนึ่งใน 25 บุคคลที่ทรงอิทธิพลบน Internet มากที่สุด Naomi คนนี้นี่แหละที่ได้ขึ้นปกนิตยสาร fashion ญี่ปุ่นและไต้หวัน และทำให้เทรนด์สาวไซส์ใหญ่ (Pocchari) คึกคักขึ้นมาได้จริงๆ
ถ้าพูดถึง Naomi Watanabe คุณก็คงนึกถึงสาวจ้ำม่ำหน้าทะเล้นที่มีฉายาว่า Beyonce แห่งญี่ปุ่น แต่อาจจะไม่ได้นึกถึงเธอในแง่ของความเป็นผู้นำ fashion แต่ความโด่งดังที่ฉุดไม่อยู่ทำให้ Naomi ได้สร้างชื่อในภาพ Icon ของสาว plus size ญี่ปุ่น เธอคว้าโอกาสในการดีไซน์เสื้อผ้า ได้รับเชิญจากแบรนด์ชั้นนำให้เข้าร่วม fashion week เดินพรมแดง hollywood และได้รับทาบทามเป็นพรีเซนเตอร์ให้กับผลิตภัณฑ์ต่างๆ แหวกกระแสหลักของประเทศแถบตะวันออกได้อย่างน่าทึ่ง สื่อตะวันตกอย่าง VOGUE ,NY TIMES ,Washington Post เข้าหาเธอเพื่อขอสัมภาษณ์ความคิดเห็นของคนดังรูปร่างอวบกลมที่สร้างชื่อในประเทศที่มีสัดส่วนผู้ที่น้ำหนักเกินต่ำสวนทางกับตัวเลขหญิงสาวที่มีแนวโน้มผอมและขาดสารอาหารพุ่งสูงขึ้น
"concept ในการออกแบบเสื้อผ้าของชั้นมาจากความรู้สึกที่ไม่อยากให้ผู้ซื้อจำกัดตัวเองจากทัศนคติเชิงลบว่าคนอ้วนไม่ควรจะแต่งตัวแบบนั้นแบบนี้" เธอเปิดช็อป Punyus ทั้งที่ญี่ปุ่นและไต้หวัน (แม่ของ Naomi เป็นคนไต้หวันทำให้เธอมีชื่อเสียงที่นู่นด้วยเช่นกัน) ชื่อแบรนด์มาจากการเล่นคำว่า pudgy ที่หมายถึงความอวบกลมจากการออกเสียงของชาวญี่ปุ่นนั่นเอง

"ชั้นปลื้มที่มีคนคิดว่าชั้นเป็น fashion icon เป็นศิลปินและนักแสดง แต่ชั้นเริ่มสิ่งเหล่านี้มาจากการเป็นนักแสดงตลกค่ะ"


ตอนที่ได้อ่าน fashion magazine ญี่ปุ่น คุณอาจจะคุ้นเคยกับสารพัดเคล็ดลับที่ทำหน้าดูเล็ก ขาเรียวไม่บวมน้ำ วิธีไดเอทแบบต่างๆ พวกเค้ามีอุปกรณ์ที่น่าสนใจมานำเสนอ แต่มันก็ทำให้น่าสงสัยเหมือนกันว่า จะมีโอกาสไหม ที่สาวใบหน้ากลมแก้มอิ่ม ต้นขาอวบ ได้รับความชมเรื่องความงามอย่างจริงใจจากผู้อื่น ?

"รูปร่างที่ชั้นปลื้มคือนักซูโม่ค่ะ ตัวใหญ่แต่ก็มีกล้ามแข็งแรง"

"ญี่ปุ่นไม่เหมือนกับอเมริกา คุณจะไม่เห็นสาว plus size ได้เยอะแยะทั่วไป แต่แทนที่ชั้นจะพยายามเปลี่ยนความคิดผู้คนที่มีต่อสาว plus size ชั้นอยากจะช่วยให้พวกเธอปรับเปลี่ยนแนวคิด ชั้นอยากทำให้พวกเธอรู้สึกภูมิใจในตัวเองค่ะ"

สองปีก่อน เธอได้รับรางวัล Vogue : Women Of The Year เคียงข้างกับผู้หญิงแถวหน้าหลากหลายวงการ แต่เคยต้องช็อปเสื้อผ้าจากแผนกผู้ชายเพราะหาเสื้อผ้าไซส์ตัวเองยากเหลือเกิน

"ตอนที่ยังเป็นวัยทีน ชั้นต้องพยายามแต่งกายเพื่อปิดบังรูปร่างเพราะหวาดกลัวในเสียงวิพากษ์วิจารณ์ พวกเค้าจะถามว่า ไม่รู้ไซส์ของตัวเองรึไง กล้าแต่งออกมาได้ยังไง ชั้นไม่สามารถใส่เสื้อผ้าที่ตัวเองชอบได้เพราะไม่อยากจะรู้สึกแย่จากคำพูดถากถาง"


Naomi ไม่ได้มีรูปร่างเป็นนาฬิกาทรายเหมือนกับ Ashley Graham แต่ถูกยกเป็น plus zise icon ที่มีผู้ติดตามมากที่สุดในญี่ปุ่น เธอขึ้นปก Instyle โดยมีคำบรรยายว่า Pretty Fat แต่ตัวเธอเองจะรู้สึกอย่างไรที่ถูกยกให้เป็นผู้นำเทรนด์ไซส์ใหญ่ ?
"ตอนที่ชั้นยังเด็กอยู่ ชั้นเคยเจ็บปวดที่ถูกล้อว่าอ้วน แต่ตอนนี้ชั้นกลับคิดว่าชีวิตของชั้นถูกเติมเต็มด้วยความสนุกสนาน ถ้าเรามีความภาคภูมิใจในตัวเอง มีคนบอกกับชั้นว่า ถ้าเกิดว่าชั้นลดน้ำหนักได้ ชั้นก็จะไม่ประสบความสำเร็จเหมือนเดิม แต่รู้มั้ยชั้นเป็นคนอ้วน แต่ชั้นไม่จำเป็นต้องใช้ความอ้วนเพื่อเป็นตัวของตัวเอง ชั้นอยากให้ผู้คนมองตัวตนจริงๆ ไม่ใช่รูปลักษณ์ภายนอก"


ความเปลี่ยนแปลงที่ญี่ปุ่น

แม้จะขึ้นชื่อลือชาเรื่องค่านิยมเชิดชูความผอม แต่ญี่ปุ่นก็มี fashion magazine ที่เจาะตลาดสาวอวบมาหลายปีแล้วนะ
การฟอร์มวงไอดอลสาวอวบ (แม้ว่าสมาชิกหลายคนดูไม่ค่อยถึงขั้นความอวบตามที่เราคิดไว้ )



นางแบบ Plus Size กลุ่มแรกของเกาหลีใต้ที่ประกาศความฝันว่าอยากจะประสบความสำเร็จเหมือนกับ Ashley Graham

Taylor Tak สาวไซส์ 14 สัญชาติเกาหลีใต้เคยพบกับความช็อคเมื่อมีช่างภาพมาทาบทามที่ London เพราะเติบโตมาด้วยความคิดที่ว่าถ้าอ้วนกว่าคนอื่นแล้วจะไม่เป็นที่ต้องการจากใครเลย

"พ่อแม่ของชั้นต้องพบกับความเศร้าใจ เมื่อได้ยินเสียงวิจารณ์เรื่องความอ้วนของชั้น ตอนที่พวกเค้ากลับบ้านก็จะสั่งให้ชั้นหยุดกิน และส่งชั้นไปสถานที่ที่เรียกว่าโรงเรียนไดเอ็ทเพื่อที่จะทำให้ชั้นดูเหมือนเด็ก 'ปกติ' คนอื่น พ่อแม่บอกตลอดว่าชั้นสวยน่ารัก แต่พวกเค้าทนไม่ได้ที่จะเห็นเด็กคนอื่นๆ กลั่นแกล้งลูกตัวเอง พวกเค้าอยากจะให้ชั้นได้รับความรักและเป็นเด็กปกติ เพราะที่เกาหลีนั่นให้ความสำคัญกับความปกตินี้เป็นที่สุด"


Taylor แสดงความเข้าใจเรื่องอคติต่อรูปร่างอ้วนนั้นมีอยู่ทั่วโลก แต่เธอยืนยันว่าที่เกาหลีใต้ ความคิดต่อต้านนั้นอยู่อีกระดับเลยทีเดียว plus size คือสัญลักษณ์แห่งความเกียจคร้าน บ่อยครั้งที่ถูกมองว่าเป็นความผิดระดับอาชญากรรมและสะท้อนแนวคิดเรื่องชายเป็นใหญ่ในสังคม  

" ชั้นเห็นผู้หญิงหมกมุ่นกับการควบคุมอาหารและเชื่อว่า ตราบใดที่พวกเรามีหุ่นดี เราก็จะได้รับการปฏิบัติเป็นอย่างดี มีเพียงแต่ความผอมเพรียวเท่านั้นที่จะการันตีการยอมรับจากสังคมได้"

เธอเคยให้สัมภาษณ์กับ mic.com ว่า

"ที่เกาหลี คนอ้วนคือพวกขี้แพ้ คนเกาหลีจะไม่ปิดบังความรู้สึกกับเรื่องนี้เลย ที่ Seoul ชั้นจะถูกจ้องมอง ตอนที่เดินทางมาที่นี่ ก็พบกับสายตาที่ประเมินรูปร่างอ้วนของชั้น ประมาณว่ามองจากหัวจรดเท้าเลยค่ะ"

"ความเคลื่อนไหวเรื่อง body positivity ที่เกาหลีใต้มีแนวโน้มก้าวไปข้างหน้าจริงๆ รึเปล่า ชั้นว่าคงไม่ บางครั้งชั้นก็สงสัยว่ามันเป็นแค่เทรนด์ใช่มั้ย ถ้าเป็นอย่างนั้น ไม่ทันที่เราจะได้มีนางแบบ plus size ชาวเอเชียน กระแสมันก็คงหมดไปแล้ว"

"บางครั้งชั้นก็รู้สึกเหมือนกับว่าตัวเองกำลังร้องแรกแหกกระเฌอให้สังคมรับรู้อยู่คนเดียว ชั้นต้องการจะให้สาวๆ plus size ที่เกาหลีกล้าลุกขึ้นประกาศว่าเรายอมรับในตัวตนของเราเอง"





Kim Gee-Yang นางแบบ plus size ที่กำลังรุ่งได้เปิดใจว่า "อยู่ที่อเมริกา ชั้นถูกจัดให้เป็นสาว curvy  แต่ในเกาหลี  ชั้นคือผู้หญิงอ้วน "

เธอเป็นเจ้าของส่วนสูง 165 ซ.ม. และน้ำหนัก 70 ก.ก. เธอใส่เสื้อผ้าไซส์ 10 (US ราวๆไซส์ 12-14 UK)

"น้ำหนักในอุมคติสำหรับผู้หญิงเกาหลีคือ 50 ก.ก. มีผู้หญิงมากมายที่หนักมากกว่านั้นที่คิดว่าตัวเองอ้วน มันทั้งไร้สาระและเป็นมาตรฐานสูงส่งจนทำลายความเชื่อมั่นของผู้หญิงเกาหลีจำนวนมาก และมันถึงเวลาจะต้องเปลี่ยนแปลงแล้วค่ะ"



หลังจากที่ไม่ประสบความสำเร็จในการหางานนางแบบในเกาหลีใต้ เธอก็บินไปที่อเมริกาและได้รับเลือกให้ทำงานกับแบรนด์ plus size และยังได้รับ comment ว่าตัวเล็กเกินไปที่จะเป็นนางแบบร่างใหญ่ในอเมริกา เมื่อเธอกลับมาที่บ้านเกิดก็เดินหน้าต่อในฐานะนักเคลื่อนไหวเรื่อง body positivity เธอเริ่มได้รับความสนใจจากสื่อ fashion ชื่อดัง แน่นอนว่าเราจะไม่ไค่พบนางแบบหุ่นอวบอั๋นใน VOGUE ได้บ่อยนัก แต่มันก็ได้เกิดขึ้นแล้ว

"ชั้นได้ยินเรื่องราวน่าเศร้าใจของคนที่ถูกจิกกัดว่าเป็นยายอ้วนมากมายหลายครั้ง พวกเธอถูกล้อเลียนเย้ยหยันจากครอบครัวตัวเอง เจ้านาย เพื่อน รวมไปถึงคนแปลกหน้าตามถนนและชาวเน็ท"

"เอาจริงๆ หลายคนก็ไม่ได้อ้วนด้วยซ้ำไปค่ะ แต่ที่เกาหลีนั้นมาตรฐานที่สูงลิ่วไม่ได้ให้โอกาสเลย มีแต่ผู้หญิงที่ผอมเหมือนไอดอล K-pop ที่ทำให้ผู้คนยอมรับได้"






กระแส Plus size ในจีนที่กำลังมาแรง



ในประเทศที่ผู้คนจำนวนไม่น้อยคิดว่ารูปร่างแบบนาฬิกาทรายแนว Kardashian เป็นความอ้วน พวกเค้าพร้อมที่จะยอมรับเรื่องสาว plus size หรือไม่?
(มีต่อ)


candy

candy

ติดตาม Mouth On The Web แล้วอย่าลืม Mouth On The Face นะคะ ^ ^

FULL PROFILE