Famous Women And Masculine Style

44 5
บางคนกล่าวว่าเทรนด์ผู้หญิงแบบแมนๆ กำลังมา
บางคนก็คิดว่ามันเป็นเพียง fashion ข้ามเพศที่ถูกใช้สร้างกระแส
บางคนมองว่าเป็นstyle ที่ดูไร้เสน่ห์แบบผู้หญิง

แต่โลกของ fashion จะจำกัดอยู่ที่การแบ่งแยกเพศจริงหรือ?


มาติดตามกันค่ะว่า เมื่อ fashion icon หันมาใส่สูทผูกไทด์ดูเท่เหมือนกับผู้ชายทั้งหลายแล้วพวกเธอจะดูเป็นอย่างไร




Diana, Princess of Wales

ในช่วงเวลาที่ยังไม่มี social media และเจ้าหญิงไดแอนน่าคือผู้หญิงแนวหน้าที่โดดเด่นทั้งงานช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์และสร้างความประทับใจในโลก fashion ในฐานะ trendsetter เจ้าหญิงผู้เป็นขวัญใจผู้คนมากมายเคยใส่ทักซิโด้มาแล้วหลายโอกาส
ทรงสวมทักซิโด้ออกงานเคียงข้างพระสวามีด้วยซ้ำ
เจ้าหญิงคือราชนิกูลผู้แรกที่สวมสูทกางเกงออกงานกลางคืน ว่ากันว่าตัวเลือกที่ช่วยปลดแอกพระองค์จากกรอบอนุรักษ์นิยมของราชวงศ์ ทำให้ผู้คนได้สัมผัสถึงความเป็นเจ้าหญิงยุคโมเดิร์นที่ไม่ได้แต่งกายงดงามและยิ้มอ่อนหวานอยู่เคียงข้างพระสวามีเท่านั้น แต่สามารถตัดสินใจทำสิ่งที่ปรารถนาได้
เมื่อใดที่พระชายาของโอรสทั้งสองสวมสูทกางเกง ก็จะทำให้ผู้คนระลึกถึงสไตล์อันโดดเด่นของเจ้าหญิงไดแอนน่าเสมอ



Katharine Hepburn 


นางเอกหัวขบฎที่ไม่แคร์ความคาดหวังของสังคม เธอคือหนึ่งดาว hollywood ที่โด่งดังมากที่สุดตั้งแต่ยุค 30s ยุคที่ผู้หญิงกับกางเกงเป็นลุคที่ยอมรับได้ในไม่มีโอกาส   ในช่วงสงครามที่ผู้ชายต้องไปรบ ผู้หญิงต้องจับกางเกงมาใส่ทำงานที่ไร่นาหรือโรงงาน แต่มันยังห่างไกลกับคำว่า style สุดเริ่ด นี่คือช่วงเวลาที่ผู้หญิงอเมริกันมีสิทธิ์ถูกตำรวจจับด้วยข้อกล่าวหาปลอมตัวเป็นชาย หากริจะใส่กลางเกงออกมาเดินเพ่นพ่าน แต่เธอคนนี้กลับสวนกระแสด้วยการแต่งกายแนว masculine จนกลายเป็นหนึ่งใน fashion icon ของยุคทอง hollywood  
เทรนด์ของสาวสุดเริ่ดในตอนนั้นหนีไม่พ้นชุดรัดรูปโชว์หุ่นเอวบางร่างน้อยดังภาพของVivien Leigh และ Bette Davis ในภาพด้านล่าง     


แต่นางเอกเจ้าของรางวัลออสการ์ 4 ตัว ตัดผมสั้นกุดเพื่อรับบทหญิงสาวที่ปลอมเป็นชายในหนัง Sylvia Scarlett (หล่อเป็นที่สุด) แต่ไม่ถูกใจทั้งนักวิจารณ์หนังและผู้ชมจนหนังขาดทุนและเธอก็ถูกตราหน้าว่าเป็นนางเอกที่ไม่สามารถเข็นให้หนังทำเงินได้   แต่ในที่สุดก็ลบล้างข้อกล่าวหาและกลายเป็นนักแสดงระดับ top ที่อยู่ในความทรงจำตลอดกาล เมื่อเวลาผ่านไปก็มีเสียงชื่นชมหนังเรื่องนี้มากขึ้น และวิเคราะห์ว่าที่ไม่ประสบความสำเร็จก็เป็นเพราะว่าแนวคิดเรื่องความเท่าเทียมทางเพศนั้นล้ำเกินค่านิยมของผู้คนในยุคนั้นนั่นเองค่ะ
แม้ว่าหนังที่ต้องแต่งเป็นชายจะขาดทุนยับเยิน แต่ Katherine ก็ยังปรากฏตัวในชุดสูทกางเกงบ่อยครั้งจนมีเสียงเล่าลือว่าเธอเป็นเกย์ เจ้าตัวก็ยังเคยนำเรื่องนี้มาพูดขำขัน ในช่วงแรกที่แจ้งเกิดเข้าวงการ เธอถูกวิพากษ์หนักว่าดูแมนและหยาบกระด้างเกินไป 
Catherine มักจะใส่กางเกงยีนส์ไปที่กองถ่าย แต่ตอนที่เข้าฉากถ่ายหนัง ทีมงานก็ยึดกางเกงของเธอไปเพื่อบีบให้เปลี่ยนใส่กระโปรงแทน แต่เจ้าตัวไม่ยอมโอนอ่อน ออกจากห้องแต่งตัวโดยที่ใส่แค่ชุดชั้นในและยืนกรานว่าถ้าไม่คืนกางเกงให้เธอก็จะเดินลอยชายแบบโป๊ๆ แบบนี้ หรือตอนที่พนักงานโรงแรมหรูใน London แจ้งว่า แขกสุภาพสตรีจะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาที่ lobby หากไม่สวมกระโปรง เธอก็เลือกเข้าโรงแรมด้วยทางเดินของสต๊าฟแทน



หลายคนน่าจะมองกันออกแล้วว่า การลุกขึ้นมาปฏิวัติกฎเกณฑ์ด้วย fashion กางเกงนั้น ที่จริงแล้วอาจจะไม่ใช่เป็นการแสดงออกซึ่งรสนิยมทางเพศ แต่เป็นการทวงถามสิทธิความเท่าเทียมทางเพศต่างหาก





ตำนาน Le Smoking  ฝีมือดีไซน์เนอร์ชื่อก้องโลก  Yves Saint Laurent
ดีไซน์เนอร์ชาวฝรั่งเศสที่นำเสนอความงามของผู้หญิงผ่านชุดทักซิโด้ตั้งแต่ยุค 60s Le Smoking กลายเป็นสิ่งที่ empower ให้ผู้หญิงได้มีทางเลือกในการแต่งกายได้มากกว่าการนุ่งกระโปรงโชว์รูปร่างตัว s เขาทำให้ผู้หญิงมากมายเชื่อว่าพวกเธอสามารถสวยเริ่ดได้ในชุดสูทที่ผู้ชายใส่กันกลาดเกลื่อน  
 style ที่เคยทำให้ผู้หญิงถูกปฎิเสธในกลายวาระโอกาสนี้คือการแหกกฏ fashion เมื่อหลายสิบปีก่อนที่สังคมมองเพศทางเลือกเป็นความปิดปกติทางจิตและการแสดงออกบนเส้นที่อยู่ตรงกลางไม่เลือกฝั่งชายหรือหญิง (androgynous) นั้นคือความเบี่ยงเบนที่น่าอับอาย แต่ Yves Saint Laurent ได้ชี้ให้เห็นว่า ไม่ว่าจะมีรสนิยมเป็นเพศแบบ straight gay หรือไม่เลือกด้านไหนเลย ผู้หญิงก็นั้นเลือกความงามดึงดูดใจ สง่างาม และทรงพลังไปได้พร้อมๆ กัน 

Bianca Jagger  คือ It girl แห่งยุค 70s ที่ปลาบปลื้ม Le Smoking  ถึงขนาดใส่แจ็กเก็ทในพิธีแต่งงานกับ Mick Jagger สามีร็อกเกอร์ระดับโลก
Mick Jagger เป็นซุปตาร์ที่มีแฟนๆ เฝ้าคอยติดตามด้วยความคลั่งไคล้  ไม่ว่าจะยุคไหน ผู้คนมักจะคิดภาพนักดนตรีผู้โด่งดังกับแฟนสาวร้อนแรงที่แต่งกายsexy แต่ตัว Bianca นั้นได้ถ่ายทอดความ sexy ออกมาจากชุดที่มาดแมนไม่แพ้สามี   


Le Smoking กลายเป็นผลงานชิ้นเอกแห่งศตวรรษที่ 20 ของ YSL ผู้หญิงทรงอิทธิพลหลายคนแต่งสูท YSL มาเฉิดฉายออกงาน ลบล้างอคติจากยุคเก่าก่อนได้ในที่สุด
เมื่อพวกเธอได้ใส่สูท Yves Saint Laurent ก็ดูเต็มเปี่ยมไปด้วยความมั่นใจไม่ต่างจากตอนใส่เดรสหรูหรา
แม้ตอนนี้จะเป็นที่รู้จักกันในนาม Saint Laurent แต่ก็ยังคงมีชื่อเสียงเรื่องสูทสำหรับผู้หญิงอยู่ค่ะ
รวมไปถึง Cara Delevingne นางแบบสาวที่ร่วมงานถ่าย campaign กับ YSL มาแล้วหลายครั้ง ดูเหมือนว่าเธอถ่ายทอดความโดดเด่นของ androgynous style ได้เป๊ะจริงๆ
ในขณะที่หลายคนคิดว่าเธอเป็นสาวหล่อหรือมีรสนิยมทางเพศแบบป่าไม้เดียวกัน ที่จริงแล้ว คาร่าเคยอธิบายไปแล้วนะคะว่าเธอไม่ใช่เกย์

"พอชั้นเปิดปากพูดถึงรสนิยมทางเพศที่อยู่ตรงกลางของตัวเอง คนอื่นก็ถามว่า เธอเป็นเกย์เหรอ ชั้นก็ตอบว่า ชั้นไม่ใช่เกย์นะ เพื่อนๆ หลายคนที่มีรสนิยมทางเพศแบบ straight นั้นยึดติดกับอะไรเก่าๆ พวกเค้าไม่เข้าใจและคิดเอาเองว่าชั้นเป็นเกย์"



ตอนนี้ในสังคมเริ่มมีผู้ที่ประกาศตัวว่าอยู่ในกลุ่ม gender  fluid มากขึ้น มันหมายถึงเพศที่ผสมผสาน ไม่ได้ระบุว่าตัวเองอยู่ในกลุ่มไหนชัดเจน Cara ก็อยู่ในกลุ่มนี้นั่นเองค่ะ เธอเคยบอกว่าเดทกับผู้ชาย ชอบผู้ชาย แต่ที่ผ่านมาก็คบแฟนเป็นผู้หญิงเช่นเดียวกัน แต่ไม่ได้หมายความว่าเธอเป็นเกย์แต่อย่างใด จะเห็นได้ว่า ผลงานกับ YSL นั้นแสดงออกถึงความเร่าร้อนเย้ายวน แต่ในขณะเดียวกันก็ดูแข็งแรงมีพลังเหมือนผู้ชายด้วย

"ตอนที่ได้เรียนรู้ว่าเรื่องเพศนั้นมั้นมันมีหลายรูปแบบมากกว่าความเป็นชายมาดแมนหรือความเป็นผู้หญิง มันก็กลายเป็นการค้นพบครั้งสำคัญสำหรับชั้น"

จึงไม่น่าแปลกใจว่า  เราจะได้เห็น Cara ใส่สูทด้วยท่าทางทะมัดทะแมงอยู่บ่อยครั้ง แต่เธอก็เลือกแต่งตัวแบบ girlie ด้วย
Cara กับทักซิโด้นั้นดูเป็นเรื่องที่คุ้นเคยกันดี แต่เมื่อเธอเลือกทักซิโด้ที่ตัดแบบประยุกต์ใส่ไปร่วมพิธีเสกสมรสของเจ้าหญิง Eugenie สื่อต่างๆ ก็ได้รายงานกันพร้อมเพรียง เพราะเราแทบไม่เห็นผู้หญิงที่มีสไตล์แบบ masculine ในพิธีสำคัญของเชื้อพระวงศ์มาก่อน  
จะว่าไปแล้วก็เคยมีแขกสุภาพสตรีสวมกางเกงร่วมพิธีเสกสมรสในราชวงศ์ยุโรปมาแล้ว ดังเช่นสาวคนรักของ Pierre Casiraghi เพียงแต่ไม่ใช่ชุดสูทดำคล้ายกับผู้ชายที่ Cara สวมใส่
Cara ที่ได้รับเชิญมาในฐานะแขกผู้เป็นสหายที่สนิทสนมกับเจ้าหญิงได้โชว์ภาพตัวเองเวอร์ชั่นเด็กหญิงตัวจิ๋วเปรียบเทียบกับชุดทักซิโด้ในพิธีเสกสมรสราวกับจะบอกเล่าว่านี่คือตัวตนที่เข้ากับเธอมากที่สุด แต่ในขณะเดียวกัน กระแสตอบรับบางส่วนก็มีความข้องใจว่า นี่คือการแหวกแนว dress code  ของงานที่แสดงถึงความไม่สุภาพหรือไม่?


โดยเฉพาะสื่อ fashion ในประเทศหนึ่งที่ฟันธงว่า ลุคของCara ทั้งดูสะเหล่อและใช้การข้ามเพศตั้งใจมาแย่งซีนเจ้าหญิงด้วยความตื้นและเขลาจนผิดที่ผิดทางไปหมด
เริ่มแจกแจงความผิดพลาดด้วยการยึดคำแนะนำจาก "ผู้เชี่ยวชาญ" ว่า Cara แต่ง long coat แบบ white tie ที่ถูกกกำหนดให้ผูกหูกระต่ายสีขาวเท่านั้น แต่กลับใส่ necktie สไตล์พนักงานออฟฟิศ

แต่เรากลับหาสัญญาณของความเป็น white tie ของลุคนี้ไม่เจอ? และการยืนยันว่า tailcoat ทำให้ชุดของ Cara อยู่ในหมวด white tie ก็ฟังดูแปลกๆ เพราะในหมู่ชนชั้นสูงจะนิยมใส่ white tie ในช่วงค่ำไม่ได้ใกล้เคียงกับ dress code ที่ระบุว่าเป็น morning suit  หากไม่ใช่เจ้าบ่าว เราก็ไม่เห็นใครผูกหูกระต่ายสีขาวในพิธีรอบเช้าเท่าใดนัก    


เราคิดว่า Cara เข้าหา Armani ให้ตัดเย็บสูทสำหรับ dress code หมวด morning suit และจับเอาสิ่งต่างๆ มาประยุกต์ให้เข้ากับรสนิยมของตัวเอง โดยไม่ได้ยึดแบบแผนดั้งเดิม ถ้าจะแต่งกายแบบผู้ชายหมดทุกกระเบียดนิ้ว ชายกางเกงของเธอคงไม่อยู่สูงกว่าข้อเท้าและไม่ได้ใส่ส้นสูง


การตัดสินใจแต่งกายในแบบที่ไม่ได้ระบุใน dress code นั้นถือว่าไม่ได้ให้ความเคารพเจ้าของงานหรือไม่?  หากมองอย่างกลางๆ เราเชื่อว่าถ้าได้บอกเล่าเก้าสิบกันมาก่อน และชุดนั้นดูสุภาพไม่ได้สร้างเสียงติฉินนินทาในแง่ลบ ผู้หญิงที่สวมสูทกางเกงงานเสกสมรสอาจจะไม่ได้ดูเลวร้ายขนาดนั้น กาลเวลาที่หมุนเวียนไปนั้นพิสูจน์ให้พวกเราเห็นว่าธรรมเนียมที่รักษาจากรุ่นสู่รุ่นมีความเปลี่ยนแปลงไม่ได้หยุดนิ่งอยู่ที่เก่า แต่เชื้อพระวงศ์หน่อเนื้อเจ้าแผ่นดินเองก็ยังปรับตัวเข้ากับยุคสมัยและมี moment "แหวกธรรมเนียม" มาบ้างเหมือนกัน

จากที่เคยเป็นเรื่องต้องห้าม แต่วิวัฒนาการของ fashion ทำให้เราได้เห็น ภาพผู้หญิงที่สวยมั่นใจกับ masculine style ไม่ว่าจะเป็น fashion magazine พรมแดงเลิศหรู และตอนนี้บางสื่อได้กล่าวว่าผู้หญิงอาจจะใส่สูทไปร่วมงานแต่งงานมากขึ้น
  
คู่รักเซเลบที่ใส่สูทยืนเคียงข้างกัน สำหรับเราแล้ว นี่ไม่ใช่เรื่องของการ"ข้ามเพศ" หรือ "สร้างกระแส" แต่เป็นการแสดงออกอย่างเสรีก็เท่านั้น 

Marlene Dietrich หรือที่ถูกเรียกว่า Queen of Androgyny

เธอคนนี้คือศิลปินนักร้องและนางโชว์คาบาเรต์ชื่อดังในยุค 30s เธอใช้เวลาหลายสิบปีโลดแล่นอยู่ในวงการ hollywood และเดินทางไปเปิดการแสดงที่หลายประเทศ เมื่อพูดถึงนางโชว์แล้ว คุณย่อมคิดถึงสาวงามนขับร้องเพลงและเต้นรำบนเวทีด้วยเครื่องแต่งกายเย้ายวน แต่นอกเวที เธอเป็น fashion icon ที่ฉีกกฎด้วยการจับสูทแบบผู้ชายมาสวมใส่จนกลายเป็นเอกลักษณ์
ในขณะที่ในประเทศ "ศิวิไลซ์" อย่างอังกฤษนั้นยังถือว่ารักร่วมเพศคืออาชญากรรมที่แม้แต่ฮีโร่สงครามก็ต้องถูกลงโทษและปกปิดตัวตนจากรสนิยมทางเพศ รวมถึงเยอรมนี ประเทศบ้านเกิดของเธอที่นาซีเป็นผู้ปกครองก็ประหารประชาชนที่เป็นเกย์ไปมากมาย ส่วนฝั่ง hollywood ก็เป็นยุคต้องปกปิดเรื่องส่วนตัวเพื่อรักษาความนิยม   Marlene กลับเปิดเผยเรื่องการเป็น bisexual แบบไม่หวาดหวั่น เธอมีความสัมพันธ์กับชายและหญิง ใส่สูทออกงานแบบไม่แคร์สื่อ


เธอยืนยันว่า  ชุดที่ฟู่ฟ่าหรูหราที่ใส่นั้นเป็นเพราะความจำเป็นต้องสร้างภาพให้เข้ากับอาชีพศิลปิน  แต่มันไม่ใช่ตัวเธอ  "ชั้นต้องทำเพื่อภาพลักษณ์  ไม่ได้แต่งตัวเพื่อเอาใจคนดู  เอาใจผู้ชาย  ไม่ได้เป็นตัวของตัวเอง   ถ้าเป็นแนวของชั้นก็ต้องกางเกงยีนส์  ชั้นชอบกางเกงมาก และต้องเป็นกางเกงทรงแบบผู้ชายด้วย"


candy

candy

ติดตาม Mouth On The Web แล้วอย่าลืม Mouth On The Face นะคะ ^ ^

FULL PROFILE