ระวัง “Make-up/Skincare” หมดอายุ

28 15

สวัสดีค่ะ วันนี้บุ๊คก้ามีสาระมาแชร์ให้เพื่อนเพื่อเป็นประโยชน์ประกอบความสวยกันนะคะ สำหรับสาระที่จะพูดถึงในวันนี้ไม่ใช่เรื่องไกลตัว เพราะเชื่อว่าเพื่อนๆ น่าจะช็อปปิ้งซื้อเครื่องสำอาง และครีมบำรุงอยู่บ่อยๆ ว่าแต่ซื้อเพราะอะไร? ใช้เป็นประจำ อันนี้ไม่น่าจะมีปัญหาเรื่องหมดอายุสักเท่าไหร่ แต่ถ้าเป็นการซื้อเพราะอยากลอง ซื้อเพราะเค้าว่าดี ซื้อเพราะเห็นกว่าออกใหม่ หรือแม้แต่ซื้อเพราะรีวิว สรุปแล้วซื้อไปซื้อมา "เยอะ" จนใช้ไม่ทัน เก็บไว้ในคลังแสงนานจนลืม กว่าจะนึกได้อีกที อ้าวววววว หมดอายุแล้วหรอเนี่ย แต่จะรู้ได้อย่างไรว่าหมดอายุแล้ว วันนี้บุ๊คก้าเลยขอรวบรวมข้อมูลที่ได้จาก Google มาเล่นให้ฟังในคลิปนี้ พร้อมตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่หมดอายุแล้วให้ดูกันนะคะ

แต่สำหรับใครที่ไม่สะดวกดูคลิป เพราะอาจจะอยู่ที่สถานที่ที่ไม่อำนวย บุ๊คก้าก็ขอสรุปข้อมูลพื้นฐานเพื่อเป็นประโยชน์ให้เพื่อนๆ ตามรายละเอียดด้านล่างนี้นะคะ

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าผลิตภัณฑ์หมดอายุหรือยัง?

วิธีตรวจสอบว่าผลิตภัณฑ์หมดอายุหรือยังจะประกอบด้วย ข้อมูล 2 ส่วน ได้แก่

1. วันหมดอายุที่ระบุอยู่บนผลิตภัณฑ์

สำหรับ Skincare

ส่วนใหญ่แล้วบนกล่องผลิตภัณฑ์มักจะไม่ระบุวันหมดอายุ แต่จะระบุเป็นวันที่ผลิตแทน เพราะปัจจัยในการหมดอายุไม่ได้ขึ้นอยู่ที่วันที่ระบุบนผลิตภัณฑ์ (แต่จะเกิดจากอะไรนั้นเดี๋ยวขออธิบายต่อด้านล่างนะคะ)

วิธีที่จะทำให้เรารู้วันหมดอายุที่ได้นั่นคือ นำหมายเลขที่ระบุไว้บนบรรจุภัณฑ์ไปตรวจสอบผ่านเว็บไซต์ที่ให้บริการในการตรวจสอบ จริงๆมีอยู่หลายเว็บ แต่ที่ใช้อยู่บ่อยๆ และเป็นที่นิยมในไทยคือเว็บ www.checkcosmetic.net

และเมื่อเราจำข้อมูลบนบรรจุภัณฑ์ไปตรวจสอบแล้ว ก็พบว่าผลิตภัณฑ์ตัวนี้ ผลิตเมื่อ ก.ค. 2013, มีอายุ 48 เดือน, เหลืออายุอยู่อีก 23 เดือน

แต่เราจะดูเพียงเท่านี้เพื่อสรุปว่าผลิตภัณฑ์นี้จะหมดอายุอีก 23 เดือนข้างหน้าไม่ได้นะคะ

เพราะยังมีอีก 1 ตัวแปลที่จะเป็นตัวจำกัดอายุของผลิตภัณฑ์ นั่นคือสัญลักษณ์นี้นั่นเอง

สัญญาลักษณ์ที่เหมือนกระปุกที่ถูกเปิดแล้ว และระบะตัวเลข 18 M ไว้ (ซึ่งตัวเลขนี่จะเปลี่ยนไปแล้วแต่อายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์แต่ละตัวนะคะ เช่น 3M, 6M, 9M ฯลฯ แล้วแต่ผลิตภัณฑ์) ซึ่งสัญญาลักษณ์นี้นี่แหละที่จะเป็นตัวบอกเราได้ว่าจริงๆแล้วจะหมดอายุเมื่อไหร่

ยกตัวอย่าง

ก่อนหน้านี้ด้านบนเราตรวจสอบจากหมายเลขบนผลิตภัณฑ์ เหลืออายุอยู่ 23 เดือน แต่ผลิตภัณฑ์นี้มีจะหมดอายุภายใน 18 เดือนหลังจากเปิดใช้

อีก 1 ตัวอย่างนะคะ

สมมุติว่าเราตวจสอบหมายเลขบนผลิตภัณฑ์แล้วได้ผลว่า เหลืออายุอีก 5 เดือน แต่บนผลิตภัณฑ์ระบุว่า 18M (กรณีนี้อย่าคิดเข้าข้างตัวเองนะจ๊ะสาวๆ เราจะต้องคิดถึงหลักความเป็นจริงๆ เสมอ) เท่ากับว่าผลิตภัณฑ์นี้เหลืออายุอีก 5 เดือนจะหมดอายุนะคะ

สำหรับเครื่องสำอางค์

ก็ใช้หลักการเดียวกันกับการตรวจสอบข้างต้นในกรณีที่เป็นของเหลวหรือเป็นครีมนะคะ

แต่ถ้าเป็น eye shadow, eye colour, Mascara ฯลฯ จะใช้การตรวจสอบจากวันผลิต วันหมดอายุ และวันหมดอายุจากการเปิดใช้งานในอีกรูปแบบ ตาข้อมูลที่หาได้จาก Google และจากประสบการณ์ของตัวเอง ขอสรุปให้ดูตามภาพนี้นะคะ

2. อายุการใช้งานหลังจากเปิดบรรจุภัณฑ์ ก็จะมีหลายรูปแบบ ทั้งแบบรุนแรง คือ ทาแล้วแสบ คัน เป็นผื่น หรือแบบเบาๆ คือทาไม่ติด ไม่ซึม กลิ่นเปลียน ฯลฯ (รายละเอียดเพิ่มเติมดูได้จากในคลิปนะคะ)

อย่างไรก็ดี ทุกท่านควรช็อปปิ้งกันแต่พอสมควร ตั้งสติคิดสักนิดก่อนจ่ายเงินออกจากกระเป๋า เพราะถ้าซื้อแล้วใช้ไม่ทัน ต่อให้ลดราคาแค่ไหนแต่ไม่ได้ใช้ หรือใช้ไม่คุ้ม ก็เสียเงินเปล่าประโยชน์ เพราะจะหมดอายุไปซะก่อน ด้วยความปรารถนาดีจากบุ๊คก้านะคะ ^_^


Bookcamashare

Bookcamashare

รวมเรื่องดีๆ มาแบ่งปัน ทั้งเรื่องความสวยความงาม ร้านอาหารโดยใจ ท่องเที่ยวช็อปปิ้ง สินค้าลดราคา เทศกาลงานSALE และโปรโมชั่นมากมาย

FULL PROFILE