+++ พาราเบนในเครื่องสำอางค์ ! +++

7 8

ขออนุญาต copy มาให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันนะคะ จากศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ ค่ะ (https://goo.gl/fMUBS)
น่าสนใจมาก เราก็เพิ่งรู้จักพาราเบนเนี่ยแหล่ะ (ลิ้งค์ในแฟนเพจเข้าไม่ได้ เลยต้องไปกูเกิ้ลหาอีกที)
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
 

ฉบับที่ 115 สารรบกวนฮอร์โมนในเครื่องสำอาง
เขียนโดย กองบรรณาธิการ   

สมาชิกฉลาดซื้ออาจเคยได้ยินเรื่องของการเกิดมะเร็งเต้านมที่คาดว่าอาจมีสาเหตุมาจากการใช้ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย
ซึ่งมีสารพาราเบนส์เป็นส่วนประกอบกันมาบ้าง

แม้จะยังไม่มีผลวิจัยที่ชี้ชัดลงไปได้ว่าพาราเบนส์ ซึ่งเป็นสารที่นิยมใช้เป็นสารกันหืนในเครื่องสำอางมากที่สุดนั้น
ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายมนุษย์หรือไม่ หลายๆ ประเทศก็เริ่มให้ความสนใจและเฝ้าระวังเรื่องนี้เป็นพิเศษ เช่น
สหรัฐกำลังให้ความสนใจกับผลิตภัณฑ์เพื่ออนามัยส่วนบุคคล เช่น แชมพู สบู่ ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย ครีมกันแดด
เครื่องสำอางรวมถึงผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก  ในขณะที่กลุ่มประเทศสหภาพยุโรปเน้นที่ยาสีฟัน แชมพู สบู่
และครีมบำรุงผิว    อังกฤษนั้นให้ความสำคัญกับเครื่องสำอาง ในขณะที่เกาหลีเน้นผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กและ
เครื่องสำอางสำหรับดวงตาเป็นพิเศษ


Consumers Korea หรือ สคบ. ของประเทศเกาหลีจึงถือโอกาสนี้เป็นเจ้าภาพในการสำรวจว่ามีการใช้สารพาราเบนส์
ซึ่งเป็นหนึ่งในสารรบกวนฮอร์โมน (Endocrine Disruptors หรือ EDCs) เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางที่เราใช้กันอยู่อย่าง
แพร่หลายเพียงใด ว่าแล้วก็ชักชวนองค์กรผู้บริโภคในอีก 12 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม ศรีลังกา 
อินเดีย บังคลาเทศ มองโกเลีย จีน อาร์เมเนีย ฟิจิ และออสเตรเลีย รวมเป็น 13 ประเทศร่วมการสำรวจครั้งนี้

แต่ละประเทศจะทำการเก็บตัวอย่างและบันทึกข้อมูลจากฉลากผลิตภัณฑ์ ในระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม ปี 2552
พร้อมไปกับการทำสำรวจพฤติกรรมการใช้เครื่องสำอาง รวมถึงความเห็นของของสาวๆ ในแต่ละประเทศด้วย

ในการสำรวจครั้งนี้แต่ละประเทศจะเก็บตัวอย่างเครื่องสำอางยี่ห้อหลักๆ ไม่ต่ำกว่า 5 ยี่ห้อ รวมๆ แล้วจึงมีเครื่องสำอางในการ
สำรวจครั้งนี้ทั้งหมด 314 ชิ้น  แต่ทั้งนี้มีเพียง 259 ชิ้นเท่านั้นที่มีการระบุส่วนผสมบนฉลาก การสำรวจส่วนผสมที่เป็นพาราเบนส์
งเป็นการทำกับ 259 ชิ้นนี้เท่านั้น

 

ผลสำรวจจาก 13 ประเทศ 
• ร้อยละ 73 ของตัวอย่างเครื่องสำอางจาก 13 ประเทศนั้นมีพาราเบนส์เป็นส่วนผสม

• จากฉลากของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง 259 ชนิด นั้นเราพบว่ามีส่วนผสมทั้งหมด 626 ชนิด
โดยส่วนผสมยอดฮิตที่พบบ่อยที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 
1. Talc
2. Mica
3. Propylparaben
4. Ethylparaben
5. Dimethicone

• บลัชออนคือผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้พาราเบนส์มากที่สุด  ในขณะที่ผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้พาราเบนส์น้อยที่สุดได้แก่ลิปกลอส

• เกาหลีเป็นประเทศที่มีเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของพาราเบนส์มากที่สุด (ร้อยละ 95 ของตัวอย่าง) รองลงมาได้แก่ ฟิจิ
(ร้อยละ 84.5 ของตัวอย่าง) และไทย (ร้อยละ 70.5 ของตัวอย่าง)

• ทั้งเครื่องสำอางราคาถูกและราคาแพง ต่างก็มีพาราเบนส์เป็นส่วนผสมเช่นเดียวกัน

• เครื่องสำอางส่วนใหญ่ไม่มีการระบุอายุที่เหมาะสมแก่การเริ่มใช้ ยกเว้นศรีลังกา ที่ร้อยละ 40 ของเครื่องสำอางมีการระบุอายุ
ของผู้ใช้ไว้ด้วย

• การแจ้งผลข้างเคียงบนฉลาก พบมากที่สุดในเครื่องสำอางจากเกาหลี (ร้อยละ 75) รองลงมาได้แก่ศรีลังกา (ร้อยละ 70)
ตามด้วยออสเตรเลียและจีน (ร้อยละ 40)

• คำเตือนเรื่องอาการแพ้ พบมากที่สุดในเครื่องสำอางของศรีลังกา (ร้อยละ 80) รองลงมาคือออสเตรเลีย (ร้อยละ 60)

 


พฤติกรรมการใช้เครื่องสำอาง

จากการสำรวจความเห็นของผู้บริโภค จำนวนทั้งหมด 1,645 คน ใน 13 ประเทศ เราพบว่า

• คนส่วนใหญ่เริ่มใช้เครื่องสำอางเมื่ออายุ 20 ขึ้นไป ยกเว้น บังคลาเทศ อาร์เมเนีย อินโดนีเซีย และมองโกเลีย
ที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่เริ่มใช้ตั้งแต่ช่วงอายุ 17 – 19 โดยเฉพาะกว่าร้อยละ 70 ของสาวๆมองโกเลียเริ่มใช้ในช่วงอายุดังกล่าว

• ลิปสติกคือผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีการใช้สูงสุด รองลงมาคือแป้ง

• สำหรับประเทศไทย ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ใช้กันมากที่สุดคือ แป้งทาหน้า ตามด้วยลิปกลอส และลิปสติก

• ร้อยละ 40 ของผู้บริโภคใช้แป้งฝุ่น/แป้งแข็งเกือบทุกวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกือบร้อยละ 80 ของสาวไทยก็ตอบว่าใช้ผลิตภัณฑ์
ดังกล่าวแทบทุกวัน รองจากไทยได้แก่อินโดนีเซียและมาเลเซีย

• ประมาณร้อยละ 40 ของผู้ตอบแบบสอบถามใช้ลิปสติกแทบทุกวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกว่าร้อยละ 70 ของสาวๆ ฟิจิ

• ผู้บริโภคที่ได้รับผลข้างเคียงจากการใช้เครื่องสำอางมากที่สุดได้แก่ ผู้บริโภคในมองโกเลีย (ร้อยละ 93.5) สาวไทยก็ใช่ย่อย
มีมากกว่าร้อยละ 50 ที่ตอบว่าเคยได้รับผลข้างเคียงจากการใช้เครื่องสำอาง

• สิ่งที่ผู้บริโภคเกินครึ่งเชื่อว่าเป็นสาเหตุของการเกิดอาการแพ้ คือสารเคมีในเครื่องสำอาง เหตุผลรองลงมาได้แก่ผลิตภัณฑ์
ไม่เหมาะกับสภาพผิว

• สาวอินเดียทุกคนที่ตอบแบบสอบถามเชื่อว่า สาเหตุของอาการแพ้มาจากสารเคมีในผลิตภัณฑ์ ในขณะที่สาวไทย ร้อยละ 71
เชื่อเช่นนั้น ส่วนที่เหลือเชื่อว่าเป็นเพราะไม่เหมาะกับสภาพผิวของตนเอง

• ร้อยละ 45 ของคนไทยที่ตอบ บอกว่าหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงด้วยการล้างหน้าให้สะอาด และสาวไทยเป็นกลุ่มที่ตอบว่าใช้
เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติสูงที่สุดเป็นอันดับสอง (ร้อยละ 30.3) รองจากอินเดีย (ร้อยละ 31.2)

 

ความรู้เรื่องพาราเบนส์
• ร้อยละ 28 ของผู้บริโภคที่ตอบแบบสอบถามทราบว่าในเครื่องสำอางมีพาราเบนส์เป็นส่วนประกอบ

• ผู้ตอบแบบสอบถามกลุ่มที่รู้จักพาราเบนส์น้อยที่สุด ได้แก่ผู้บริโภคจากมองโกเลีย ไทย และอินเดีย
(มีผู้รู้ว่ามีพาราเบนส์ในเครื่องสำอางเพียงร้อยละ 4.3  ร้อยละ 16 และร้อยละ 14.7 ตามลำดับ)

• ผู้บริโภคส่วนใหญ่ (ร้อยละ 85) ไม่ทราบว่าพาราเบนส์เป็นหนึ่งในสารรบกวนการทำงานของฮอร์โมน

• สามประเทศที่มีการรับรู้ว่าพาราเบนส์เป็นสารรบกวนการทำงานของฮอร์โมนน้อยที่สุดได้แก่  เกาหลี มองโกเลีย และไทย
(ร้อยละ 4.8 ร้อยละ 7.5 และร้อยละ 9 ตามลำดับ)

• โดยรวมแล้ว ร้อยละ 57.3 ตอบว่าจะหยุดใช้ถ้าเครื่องสำอางดังกล่าวมีพาราเบนส์เป็นส่วนประกอบ มากกว่าร้อยละ 80
ของผู้บริโภคในมองโกเลีย อาร์เมเนีย อินโดนีเซีย ตอบว่าจะหยุดใช้ แต่สำหรับประเทศไทยนั้นมีเพียงร้อยละ 50 เท่านั้น

• โดยรวมแล้วร้อยละ 40 ของผู้บริโภคที่เข้าร่วมการสำรวจครั้งนี้มองว่า ทางออกของเรื่องนี้คือการให้ความรู้แก่ผู้บริโภค
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกือบร้อยละ 80 ของสาวไทย  ส่วนสาวอินเดียนั้น กว่าร้อยละ 80 เชื่อว่าทางออกคือการปรับปรุงฉลาก

• บทบาทของภาคอุตสาหกรรม ที่ผู้บริโภคไทยมองคือ การผลิตเครื่องสำอางให้มีมาตรฐานสูงขึ้น

 

ฉลาก
• ร้อยละ 58 อ่านฉลากเครื่องสำอาง และจากการสำรวจครั้งนี้พบว่าประเทศไทยมีคนที่อ่านฉลากมากที่สุด (ร้อยละ 94)
ตามด้วยบังคลาเทศ และจีน ส่วนผู้บริโภคที่อ่านฉลากน้อยที่สุดคือ เกาหลี และมองโกเลีย (ร้อยละ 31 และร้อยละ 44 ตามลำดับ)

• ข้อมูลที่ผู้บริโภคอ่านมากที่สุดได้แก่ วิธีใช้ ตามด้วยวันผลิต และส่วนผสม

• เหตุผลที่ผู้บริโภคไม่อ่านฉลากได้แก่ “ตัวอักษรเล็กเกินไป”  “ได้ข้อมูลเพียงพอแล้วจากผู้ขาย” และ “รู้จักสินค้านั้นดีอยู่แล้ว” 
กรณีของสาวไทยนั้น เหตุผลหลักๆ ที่ไม่อ่านคือ เรื่องของขนาดตัวอักษรที่เล็กเกินไป

• สิ่งที่สาวไทยต้องการให้ปรับปรุงมากที่สุด คือการให้ข้อมูลส่วนผสมที่ถูกต้องชัดเจนมากขึ้น

 


ผลสำรวจการใช้พาราเบนส์ในเครื่องสำอาง

ฉลาดซื้อ เก็บตัวอย่างฉลากจากผลิตภัณฑ์ทั้งหมด 13 ยี่ห้อ ราคาตั้งแต่ 55 บาท (ดินสอเขียนคิ้ว มิสทีน บิวตี้พลัส)
จนถึง 1,225 บาท (แป้งผสมรองพื้น อาทิสตรี้ ไอเดียล ดูอัล พาวเวอร์ ฟาวน์เดชั่น  เป็นผลิตภัณฑ์ที่ซื้อจากห้าง ซูเปอร์มาร์เก็ต
และจากตัวแทนขายตรง

1. มิสทีน
2. ชีเน่
3. สกินฟู้ด
4. เคมา (KMA)
5. บีเอสซี
6. อาทิสตรี้
7. เทลมี
8. โอเรียนทอล พริ้นเซส
9. คัฟเวอร์มาร์ค
10. อินทูอิท
11. กิฟฟารีน
12. อิทูดี้
13. คิวท์เพรส




 

รู้จักกับพาราเบนส์  (Parabens)
พาราเบนส์
 เป็นสารกันเสียที่ใช้ต้านการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์อย่างแบคทีเรียและเชื้อราได้ดี มีการใช้มาตั้งแต่อดีต
ได้รับการยอมรับว่าปลอดภัยที่จะผสมในผลิตภัณฑ์ทั้งอาหาร ยา และเครื่องสำอางทุกชนิด ได้รับการยอมรับจากสำนักงาน
คณะกรรมการอาหารและยาทั่วโลก ว่ามีประสิทธิภาพสูงในการเป็นสารกันเสียและมีความปลอดภัย
ข้อถกเถียงเรื่องความปลอดภัย

1. เนื่องจากมีการใช้พาราเบนส์อย่างมากมายในเกือบทุกสินค้า ทั้งอาหาร ยา เครื่องสำอาง และเครื่องอุปโภคบริโภค
ทำให้นักวิทยาศาสตร์การแพทย์บางส่วนเป็นห่วงถึงความปลอดภัยในผู้บริโภคที่ใช้เป็นประจำ
แต่ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลชัดเจนที่ระบุว่ามีการสะสมในร่างกาย เนื่องจากสารชนิดนี้ถูกดูดซึมได้และจะถูกย่อยสลายและ
กำจัดออกจากร่างกายได้

2. ปริมาณที่ผสมในเครื่องสำอาง อาหาร หรือยา จะเป็นเปอร์เซ็นต์ต่ำมาก จึงไม่มีนัยสำคัญที่จะก่อให้เกิดปัญหาความเป็นพิษได้

3. นักวิทยาศาสตร์บางกลุ่มได้ทำการวิจัยและพบว่าอาจจะมีความเกี่ยวพันกับการเป็นต้นเหตุของสารก่อมะเร็งเต้านม
เนื่องจากมีการผสมพาราเบนส์ในผลิตภัณฑ์ใต้วงแขน
ขณะนี้มีการขยายวงการทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างมาก
แต่นักวิทยาศาสตร์ กลุ่มอื่นๆยังมีข้อโต้แย้งว่าโอกาสเป็นสารก่อมะเร็งนั้นน้อยมาก
 

4. เช่นเดียวกับข้อ 3 มีการวิจัยถึงผลของสารพาราเบนส์ที่มีคุณสมบัติคล้ายโฮโมนเอสโตรเจนของ ผู้หญิง
แต่ทดลองแล้วมีความแรงน้อยกว่าโฮโมนธรรมชาติถึง 100,000 เท่า จึงไม่น่ากังวล

ข้อถกเถียงถึงความปลอดภัยในการใช้สารพาราเบนส์เป็นสารกันเสีย ทำให้หลายบริษัทฯยักษ์ใหญ่เริ่ม
หันมาใช้สารสกัดจากธรรมชาติ เช่น จากเมล็ดองุ่น ซึ่งจะได้สารเทียบเคียงกับ methylparabens
อย่างไรก็ตามสำนักงาน อย.ทั่วโลกก็ยังคุ้มครองและอนุญาตให้ใช้สารชนิดนี้ได้อยู่  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศญี่ปุ่น
ที่อย.อนุญาตให้ใช้เฉพาะสารกันเสียที่เป็นพาราเบนส์เท่านั้น


---------------------------------------------------------------------------------------------------

อ่านแล้วจิตตกเลยนะเนี่ย  
แม้จะยังไม่มีการฟันธงโชะๆ ว่ามีผลกระทบร้ายแรงต่อร่างกายหรือไม่ก็เถอะนะ 


PearyPear

PearyPear

^-^

FULL PROFILE